BIM: Building Information Modeling ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานของบริษัทใหญ่ๆ โดยเฉพาะผู้รับเหมา และบริษัทเจ้าของโครงการใหญ่ๆ ที่มีผู้บริหารเป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจเทคโนโลยีที่จะมาช่วยพัฒนากระบวนการทำงาน และติดตามตรวจสอบความคืบหน้าของงานแบบออนไลน์ได้ ใน 5 ปีหลังมานี้  BIM เริ่มถูกนำมาใช้งานในวงการก่อสร้างทุกๆ ส่วนงาน ตั้งแต่การออกแบบอาคาร จัดภูมิทัศน์ ระบบปรับอากาศ รวมถึงโครงสร้างความแข็งแรงของตัวอาคาร ซึ่งความต้องการผลลัพธ์จากซอฟต์แวร์ BIM อาจจะต่างกัน สำหรับผู้ใช้งานที่ต่างกัน เช่น สถาปนิกต้องการแบบจำลองที่ครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถสเปครายการวัสดุต่างๆ ได้ครบถ้วน รวมถึงแบบแปลนต่างๆ ที่ถูกต้องพร้อมนำไปขออนุญาตก่อสร้าง ตลอดจนสามารถนำแบบสถาปัตย์ไปรวมกับแบบจากวิศวกรงานระบบปรับอากาศ และประปา เพื่อให้งานมีความสมบูรณ์ถูกต้องมากที่สุด ในกระบวนการเหล่านี้ ทีมประมาณราคามีความต้องการที่จะนับอุปกรณ์ และถอดปริมาณ วัสดุและสิ่งต่างๆ (Quantity Take-off) พื่อให้ได้เอกสารแสดงปริมาณวัสดุ และปริมาณแรงงาน ประกอบกับราคากลางที่ใช้ในการก่อสร้าง (BOQ : Bill of Quantities) ออกมาให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อการประมาณราคางานในส่วนนั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์

สำหรับซอฟต์แวร์ ARCHICAD ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ BIM ก็มีความสามารถในการถอดปริมาณข้อมูลต่างๆ จากแบบจำลองที่ สถาปนิก และวิศวกรสร้างขึ้นมาด้วยคำสั่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ละเอียด ครบถ้วน  ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างการได้ข้อมูลปริมาณ จากการใช้ซอฟต์แวร์ ARCHICAD โดยใน ARCHICAD จะใช้คำว่า Schedule แทนรายการปริมาณที่ออกมา โดยขออธิบายในเบื้องต้น ดังนี้

>> เริ่มต้นจาก การวาดผนังง่ายๆ และตรวจดูข้อมูลที่ได้

รูปที่ 1

 

>> ในผนัง 1 ชิ้น สามารถได้ข้อมูลเพื่อถอดปริมาณได้ดังนี้ ความสูงผนัง ความหนาผนัง วัสดุผนังด้านใน-ด้านนอก พื้นที่ผนัง  ความยาวเส้นรอบผนัง และอื่นๆ อีกมาก ดังรูปที่ 3

รูปที่ 2

 

รูปที่ 3

 

>> ลองวาดอีกผนังดู แล้วเปลี่ยนเป็นผนังแบบหลายวัสดุ (Composite) ดูบ้าง

 

ตามมาดูเรื่องประตู-หน้าต่าง

เมื่อสถาปนิกได้ออกแบบอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยากทราบว่ามีประตู และหน้าต่างแต่ละแบบ แบบละกี่ชิ้น? กี่ชุด? ก็สามารถทำได้

>> เพียงดับเบิ้ลคลิกที่ Schedule Door list, Schedule Windows list   ไม่ต้องเสีย เวลานับอีกต่อไป แถมหากมี การปรับแปลน  ข้อมูลทุกอย่างจะปรับตามด้วย

จะเห็นได้ว่าซอฟต์แวร์ BIM อำนวยความสะดวกให้ผู้ออกแบบได้มากเพียงไร บางท่านอาจจะมองว่า ไม่จำเป็น ใช้โปรแกรม 3D ทั่วไปก็พอ จะว่าไปก็จริงครับ สำหรับงานเล็กๆ เช่น บ้าน หรือหอพัก แต่ถ้าเจองานตึกสูง หรืองานพลาซ่า BIM จะช่วยลดเวลาได้มากครับ

นอกจากนี้ ARCHICAD ยังมีฟังก์ชันที่ช่วยค้นหาว่า ประตูแบบที่เลือกมีอยู่ตรงส่วนใดบ้างในอาคาร

>> เพียงคลิกเลือกที่ตาราง และกดปุ่มกล่อง 3 มิติ ซอฟต์แวร์จะแสดงผล Highlight ในแบบจำลองให้ทันที

การถอดปริมาณจาก ARCHICAD สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้รับเหมาได้ สำหรับผู้ที่ต้องการหาพื้นที่ เพื่อตีราคาเหมาต่อ ตารางเมตร เมื่อได้แบบมา และขึ้นแบบจำลองคร่าวๆ ก็สามารถหาปริมาณพื้นทั้งอาคารได้
>>> เพียงดับเบิ้ลคลิกที่ Schedule slab list  ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ออกมา ดังตัวอย่าง ซึ่งพื้นที่ พื้นอาคารทั้งหมด สามารถนำไปคำนวณราคาเหมาเบื้องต้นได้ ซึ่งรูปแบบของรายงาน หรือตาราง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ

ตัวเลขที่ออกมาของแต่ละวัสดุมีความถูกต้อง เนื่องจากจะหักลบส่วนที่ไม่ใช่ชิ้นส่วนนั้นออกไป เช่น ตอนสร้างผนัง ลากผ่านเสา แต่โปรแกรมจะไม่นับพื้นที่เสาให้เป็นพื้นที่ผนัง ดังนั้น ค่าที่ออกมาจะเป็นเลขมีทศนิยม เพราะถูกหักลบออกแล้ว ตารางที่แสดงผลออกมานี้ สามารถบันทึกออกเป็นไฟล์สำหรับไมโครซอฟต์เอ็กเซลได้ เพื่อประมาณราคาต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งาน BIM จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดการใช้งาน การได้มาซึ่งปริมาณต่างๆ จากโปรแกรม ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะจาก BIM ตัวใดก็ตาม โดยถ่องแท้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวทางการใช้ BIM ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับหน่วยงานนั้นๆ เอง ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ใช้งาน BIM  จัดตั้งอยู่บนโลกโซเชียลมากมาย สามารถเข้าไปศึกษาหาข้อมูล เรียนรู้กันไว้ได้ครับ BIM จะช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น ถูกต้องมากขึ้น รับงานได้มากขึ้น แน่นอนครับ รายได้ก็จะมากขึ้นด้วย

บทความโดย:  BIMexplorer

 

 


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ