Article Mi, Articles

โดน {แจ้งเตือน} ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ควรทำอย่างไร

โดน {แจ้งเตือน} ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ควรทำอย่างไร

รู้ก่อนชัวร์กว่า โดนตรวจสอบเรื่อง ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ AutoCAD, SOLIDWORKS ควรทำยังไง ปรึกษาใครได้บ้าง

หากโดนจับ หรือถูกจดหมายแจ้งเตือน ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ AutoCAD, SOLIDWORKS หรือซอฟต์แวร์อื่นๆ แต่ยังไม่มีแนวทาง หรือประสบการณ์ในการรับมือ บทความนี้ได้รวบรวมแนวทางในการปฏิบัติว่าควรทำอย่างไร 

ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ กำหนดว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือให้ได้ผลอย่างหนึ่งอย่างใด ในกรณีที่บุคคลใด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท

1. กระบวนการตรวจสอบซอฟต์แวร์เถื่อน (ละเมิดลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์)

ในกระบวนการตรวจสอบซอฟต์แวร์เถื่อน หรือว่าไม่ถูกตามลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้น จะมีทั้งแบบปกติ ที่มีการส่งจดหมายเพื่อให้นำส่งเอกสารหลักฐานการสั่งซื้อ หรือการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซอฟต์แวร์ แบบ Lock เป้า มีคนแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์พร้อมหลักฐานที่เชื่อได้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์จริง

เมื่อมีการแจ้งก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบความถูกต้อง หากผิดจริงก็จะถูกเรียกเก็บค่าเสียหาย

1.1 ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการละเมิดลิขสิทธิ์

1.2 ค่าดำเนินการทางกฎหมายประมาณ 300,000 บาท

1.3 ค่าใช้จ่ายในการขอเข้าตรวจสอบอีกครั้ง ภายในสองปี (ประมาณ 20,000 – 40,000 ต่อครั้ง)

1.4 ค่าใช้จ่ายในการลงประกาศหนังสือพิมพ์ภาษาไทย และภาษอังกฤษ เพื่อสนับสนุนให้ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ (ประมาณ 200,000 บาท) 

ข้อควรระวัง : ในระหว่างที่คุณถูกจดหมายแจ้งเตือน และไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นทำอย่างไร คุณอาจสูญเสียผลประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด ทั้งเสียชื่อเสียง เสียเงินค่าปรับ ค่าดำเนินการต่างๆ  ก่อนที่จะถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่หรือทีมงานของ BSA หากคุณต้องการคำแนะนำหรือที่ปรึกษาทีมงาน AppliCAD ยินดี Support คุณสามารถส่งความช่วยเหลือมาได้ที่เมล [email protected] หรือ โทร 095-365-6871

2. ความเข้าใจผิด เมื่อถูกตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

1. บริษัทขนาดเล็ก หรืออยู่ห่างไกล ไม่น่าจะโดนตรวจสอบ 

2. ทางร้านลงซอฟต์แวร์มาให้ เราไม่รู้ย่อมไม่ผิด 

3. พนักงานใช้เครื่องส่วนตัวที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์ในการทำงาน เมื่อตรวจสอบพบบริษัทไม่น่าจะเกี่ยวข้อง

3. ช่องโหว่ของการละเมิดลิขสิทธิ์

1. ไม่มีเจ้าหน้าที่ IT ประจำบริษัทเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ 

2. ไม่มีระบบบริหารจัดการควบคุมทางด้าน IT ที่เหมาะสมเพียงพอ

3. ไม่มีความรู้ หรือไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบการติดตั้งซอฟต์แวร์ภายในเครื่อง ถึงแม้จะ Uninstall ไปแล้ว

4. ขาดกระบวนการตรวจสอบการติดตั้งซอฟต์แวร์อย่างเป็นระบบ 

5. ไม่อ่านข้อตกลงการใช้งาน (EULA) ของซอฟต์แวร์ที่สั่งซื้ออย่างละเอียด

4. โดนจดหมายเตือนมาจะรับมืออย่างไร

1. สำรวจเขา หมายถึง สำรวจแหล่งที่มาของจดหมาย E-mail หรือการโทรเข้ามา
     1.1 เป็น BSA จริงหรือไม่
     1.2 มีข้อมูลติดต่อกลับที่ครบถ้วนน่าเชื่อถือหรือไม่
2. สำรวจเรา ให้สำรวจไปทีละข้อดังนี้
    2.1 หาเอกสารหลักฐานการสั่งซื้อ Invoice Certificate Serial Number
    2.2 นำคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในบริษัทมาตรวจสอบ ถ้ามีติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ให้ทำดังนี้
     > Backup ข้อมูลงานทั้งหมด
     > เช็คความจำเป็น หากมีความจำเป็นควรตั้งงบประมาณในการสั่งซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ทันที
     > ปรึกษาตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์เพื่อเจรจาเงื่อนไข และแนวทางในการรับมือ
     2.3 มีติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

5. วิธีการควบคุมและแก้ไข

1. มีเจ้าหน้าที่ IT ที่ดูแลโดยตรง

2. ร่างระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อลดช่องโหว่ของการละเมิดลิขสิทธิ์

     2.1 การตั้งค่าควมคุมการเข้าถึง Internet

     2.2 การควบคุมสิทธิ์ในการติดตั้งซอฟต์แวร์

     2.3 กำหนดรอบระยะเวลาการตรวจสอบคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

3. ร่าง และ ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการห้ามติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ และโทษของการละเมิดที่มีผลต่อตัวพนักงาน

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ทีมงานแอพพลิแคด ยินดีที่จะให้คำปรึกษาและดูแลคุณ หวังว่าข้อมูลนี้จะช่วยเป็นแนวทางให้กับทุกท่านได้ หากต้องการคำแนะนำเกี่ยบกับซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ด้านการออกแบบ สามารถติดต่อสอบถามทาง แอพพลิแคด ได้ที่อีเมล [email protected] หรือ โทร 095-365-6871

โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์นอกจากจะถูกปรับ ยังต้องถูกตรวจสอบในระยะยาว ส่งผลให้คุณและองค์กร เสียเงินและเวลา ที่สำคัญอาจเสียไปถึงชื่อเสียงและเครดิต ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มงวด แถมรางวัลนำจับมีมูลค่าไม่น้อย เรียกได้ว่าไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง

ยังมีเรื่องดีๆ สำหรับการลงทุนซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์ รัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ หรืออุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) โดยการให้มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน และบริหารจัดการธุรกิจเพิ่มมากขึ้น สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

DEPA (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) ประกาศมาตรการภาษีใหม่ 200% “หักรายจ่ายภาษีสองเท่า เราทำได้” ยกระดับเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ และ SMEs ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ หักรายจ่ายได้ 2 เท่า (เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 แสนบาท) ในกรณี

  1. ซื้อ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์
  2. จ้าง ทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์
  3. ใช้บริการ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์ กับผู้ขาย ผู้รับจ้าง ผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
  4. ผู้ได้รับยกเว้นภาษี ต้องไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : www.depa.or.th 

โดนจับลิขสิทธิ์ AutoCAD

อ่านเพิ่มเติม : ทำอย่างไรไม่ให้โดนจับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ตีแผ่กระบวนการจับซอฟต์แวร์เถื่อน เพื่อเตรียมรับมือ


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ