นายประภาส ตั้งอดุลย์รัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน) หรือ APP มอบเงินบริจาคร่วมสร้างโรงพยาบาลเพื่อคนไทยให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ภายใต้แนวคิด “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยรอด ด้วยน้ำใจคนไทย” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร เป็นผู้รับมอบ เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลที่สร้างสรรค์งานวิจัยนวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน ณ “AppliCAD’s SOLIDWORKS Innovation Day 2021” ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
คำๆ นี้อาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยกันมากนักสำหรับท่านที่ทำงานวิเคราะห์ในแบบที่เป็นปัญหาปกติทั่วไป แต่ถ้าเป็น Isotropic Material อาจจะคุ้นๆ กันบ้างอย่าง “linear Elastic Isotropic” ดังนั้นจะขออธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง Isotropic และ Anisotropic Material รวมถึงการเลือกใช้งานแบบจำลองของวัสดุทั้งสองประเภท ในการ วิเคราะห์ค่าความหนาชิ้นงาน 1. Isotropic Material วัสดุประเภทนี้คุณสมบัติของวัสดุไม่ว่าจะเป็นทั้ง ทางกล, ทางความร้อน, ทางไฟฟ้า ฯลฯ จะเหมือนกันทุกทิศทาง โดยทั่วไปวัสดุที่เป็น โลหะ (โดยเฉพาะที่เป็น Bulk) และ แก้ว จะเป็นวัสดุประเภท Isotropic ในงานวิเคราะห์ปกติก็จะถูกกำหนดให้เป็นวัสดุประเภทนี้อยู่แล้ว 2. Anisotropic Material วัสดุประเภทนี้จะมีคุณสมบัติในแต่ละทิศทางที่ไม่เหมือนกัน
ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องปรับตัว และเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้รอดในยุคโควิด-19 ไม่มีใคร ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 เราต่างอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายหลายด้าน ยุคที่ต้องแข่งขัน ยุคที่ต้องปรับตัว เพราะถ้าเรายังเลือกที่จะย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน นั่นเท่ากับว่าคุณกำลังเดินถอยหลังอย่างไม่รู้ตัว พอลองสังเกตอีกทีทุกคนรอบตัวคุณก็วิ่งไปข้างหน้ากันหมดแล้ว อย่างที่เราทราบกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มีผลกระทบเพียงแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่มีผลกระทบทั่วโลก แม้แต่ผู้ที่มีรายได้ระดับมหาเศรษฐียังต้องปรับตัวเพื่อให้ตัวเองรอดต่อไป ในเหตุการณ์เช่นนี้ บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นว่าเราทุกคนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่ไวรัสโคโรนา หรือ โควิด 19 ระบาด โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม จึงต้องมีแนวคิดและวิธีการในการเตรียมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง อุตสาหกรรมการผลิต หลังโควิด-19 เพื่อให้เราทุกคนนั้นสามารถก้าวผ่านวิกฤตินี้ไปได้ด้วยกัน โอกาสนี้ จึงได้เชิญ พี่เอ้ ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ในการออกแบบเครื่องจักรอาจมีชิ้นส่วนบางประเภทที่ต้องมีเกลียวเพื่อใช้ในการสวมยึด (เขียนแบบเกลียว) ซึ่งการออกแบบนั้นต้องคำนึงถึงประเภทและมาตรฐานที่ต้องเอามาใช้งาน ตัวโปรแกรม SolidWorks เองมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างเกลียวที่เป็นมาตรฐานให้เลือกใช้งานได้เลย (ทําเกลียว SolidWorks) 1.เปิดชิ้นงานในส่วนของ Part ที่ต้องการทำเกลียวขึ้นมา 2.จากนั้นเข้าไปที่คำสั่งThread 3.จากนั้นให้คลิ๊กเลือกที่เส้นขอบวงกลมของชิ้นงานที่จะทำเกลียว 4.ในส่วนของการป้อนค่าของเกลียว สามารถเลือกEnd Condition, Type, Size, Thread method ฯลฯ ได้เองทั้งหมด 5.แค่นี้เราก็จะได้โมเดลที่มีเกลียว สามารถนำโมเดลไปใช้งานต่อได้เลย จะเห็นได้ว่าในการสร้างเกลียวนั้นทำได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถกลับมาแก้ไขค่าต่างๆ ของเกลียวได้อีกด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม : SOLIDWORKS ผู้จัดทำ : อิทธิวรรต
เตรียมพบกันอีกครั้งกับงาน AppliCAD’s SOLIDWORKS Innovation Day 2021 งานดีๆ ที่สาวก SOLIDWORKS รอคอย งานที่รวบรวมผู้ใช้งาน และคนรัก SOLIDWORKS ไว้มากที่สุดในอาเซียน กับการอัพเดตความสามารถใหม่ของ SOLIDWORKS 2021 และเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบกับ 3DEXPERIENCE Platform แพลตฟอร์มที่ช่วยให้คุณสร้างนวัตกรรมได้ในทุกที่ทุกเวลา ภายใต้คอนเซ็ป “SOLIDWORKS is a Platform” ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน คลิก !!! ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน คลิก !!! ภาพบรรยากาศ AppliCAD’s SOLIDWORKS Innovation Day 2020