Article - SolidWorks Simulation, Article Mi, Articles

การวิเคราะห์ Thermal Cycle ของกระบวนการหล่อแบบแรงดันสูง (HPDC)

การวิเคราะห์ Thermal Cycle ของกระบวนการหล่อแบบแรงดันสูง (HPDC)
การวิเคราะห์ Thermal Cycle ของแม่พิมพ์ในงาน HPDC เพื่อดูรูปแบบการกระจายอุณหภูมิของแม่พิมพ์ และ ดูว่า Cycle ที่เท่าไหร่ อุณหภูมิของแม่พิมพ์จะเข้าสู่ Steady State

ในกระบวนการหล่อแบบแรงดันสูงจะมีลักษณะการผลิต หรือการทำงานแบบเป็นรอบ (ไซเคิ้ล:Cycle) ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการผลิตนั้นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของแม่พิมพ์ จะยังไม่นิ่งอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของแม่พิมพ์จะมีรูปแบบที่ซ้ำกันในแต่ละไซเคิ้ล ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการทำงานที่อยู่ในสภาวะ Steady State ก็ได้ (ไม่ได้บอกว่าได้งานดีนะครับมันคนละเรื่องกัน) โดยระยะเวลาที่อุณหภูมิของแม่พิมพ์เข้าสู่สภาวะดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการผลิต เช่น อุณหภูมิน้ำโลหะที่ฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์, อุณหภูมิเริ่มต้นของแม่พิมพ์, เงื่อนไขการเปิด-ปิด และอุณหภูมิของสารหล่อเย็น เป็นต้น โดยบทความนี้จะเสนอแนวทางของ การวิเคราะห์ Thermal Cycle ของแม่พิมพ์ในงาน HPDC เพื่อดูรูปแบบการกระจายอุณหภูมิของแม่พิมพ์ และ ดูว่า Cycle ที่เท่าไหร่ อุณหภูมิของแม่พิมพ์จะเข้าสู่ Steady State ซึ่งสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นที่มีลักษณะคล้ายๆ กันได้

แต่ก่อนอื่นต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่า SOLIDWORKS Flow Simulation เป็นซอฟต์แวร์วิเคราะห์แบบทั่วไปเพราะฉะนั้นเทคนิคในการคำนวณ การแสดงผล หรือ เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่จะไม่สามารถทำได้เทียบเท่ากับซอฟต์แวร์เฉพาะทางด้านงานหล่อ คือ สามารถแสดงผลได้แค่อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ไม่สามารถที่จะแสดงผลลำดับของการแข็งตัว หรือจุดบกพร่องในชิ้นงานได้ โดยในการจำลองจะไม่พิจารณาช่วงเวลาในการรอและการฉีดน้ำโลหะ (Mold Filling) เข้าไปในแม่พิมพ์ทั้งนี้เนื่องจากงาน HPDC ส่วนใหญ่แล้วช่วงเวลาดังกล่าวนั้นสั้นมาก เมื่อเทียบกับเวลาทั้งหมดของไซเคิ้ล ดังนั้นสำหรับงานในลักษณะอื่น เช่น กระบวนการหล่อแบบแรงดันต่ำ (LPDC) หรือ กระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง (GDC) จึงไม่เหมาะที่จะใช้วิธีนี้

รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างขั้นตอนกระบวนการหล่อโลหะแบบรอบการผลิต (Cycle)

 

รูปที่ 2 แสดงการกระจายตัวของอุณหภูมิ (รูปจาก www.engineeringnotes.com) จากด้านในของแม่พิมพ์ออกมายังบรรยากาศด้านนอก

ในการวิเคราะห์นั้นเราต้องกำหนดให้ชิ้นงานหล่อเป็น Solid Material เช่นเดียวกับตัวแม่พิมพ์ ส่วนคุณสมบัติของวัสดุนั้นจะกำหนดทั้งตอนที่อยู่ในสถานะของเหลวและของแข็งควบคู่ไป โดยคุณสมบัติที่ว่านี้ได้แก่ ค่าการนำความร้อน (Thermal Conductivity), ค่าความร้อนจำเพาะ (Specific Heat) และความหนาแน่น(Density) โดยค่าคุณสมบัติทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ จะมีเพียงค่าความหนาแน่นเพียวตัวเดียวที่เราไม่สามารถกำหนดค่าให้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิได้ (ไม่สามารถที่จะป้อนค่าคุณสมบัติในช่วงที่อยู่ในสถานะของเหลวได้)

รูปที่ 3 ตัวอย่างงาน HPDC ที่จะวิเคราะห์ Thermal Cycle

ในการเตรียมโมเดลให้ทำการสร้าง Lid เพื่อปิดรูคูลลิ่งสำหรับใช้กำหนด Fluid Subdomain และกำหนดเรื่องอัตราการไหลของน้ำหล่อเย็น ลำดับขั้นตอนการเซ็ตอัพมีดังนี้

1. เริ่มต้นด้วยการเซ็ตอัพในเบื้องต้นผ่าน wizard เป็นดังนี้

รูปที่ 4 กำหนดประเภทของปัญหาเป็น External และรายละเอียดปลีกย่อย

รูปที่ 5 กำหนดประเภทของของไหลโดยเลือกทั้งอากาศและน้ำ

รูปที่ 6 กำหนด Solid Material สำหรับแม่พิมพ์

รูปที่ 7 Wall Condition ให้เป็น Default

รูปที่ 8 กำหนดอุณหภูมิเริ่มต้น (โดยจะกำหนดแบบเฉพาะเจาะจงในภายหลัง)

2. กำหนด Fluid Subdomain สำหรับน้ำหล่อเย็นโดยเลือกที่ผิวด้านในของ Lid ในแต่ละวงจร

รูปที่ 9 แสดงการกำหนด Fluid Subdomain

3. กำหนดคุณสมบัติของวัสดุให้กับแม่พิมพ์และชิ้นงานหล่อ

ผู้ใช้งานสามารถสร้างฐานข้อมูลของตัวเองขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลค่าคุณสมบัติที่มีอยู่ก็จะตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าสำหรับ Solid Material เราสามารถกำหนดค่าคุณสมบัติของวัสดุที่แปรผันกับอุณหภูมิได้แค่ ค่าความร้อนจำเพาะ และ ค่าการนำความร้อน ส่วนค่าความหนาแน่นเนื่องจากว่าตัว Flow Simulation มองว่ามันเป็นของแข็ง ซึ่งค่าความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปเลยไม่เปิดโอกาสให้เรากำหนดค่าในช่วงที่เปลี่ยนสถานะหรือช่วงเป็นของเหลวโดยสมบูรณ์ (Solid Fraction มีค่าเท่ากับศูนย์)

รูปที่ 10 a และ b แสดงตัวอย่างการกำหนดวัสดุให้กับชิ้นงานหล่อ

c แสดงค่าการนำความร้อน  d แสดงค่าความร้อนจำเพาะ

4. ในส่วนของ Boundary Condition จะประกอบด้วย

4.1 Biscuit ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งตัวในลำดับท้ายสุดจะกำหนดด้วย Idea Wall ซึ่งจะไม่มีการถ่ายเทความร้อนบนผิวที่เรากำหนดไป (Adiabatic Surface)

รูปที่ 11 การกำหนดผิวที่ไม่มีการถ่ายเทความร้อน

4.2 การเปิด – ปิด ระบบหล่อเย็น กำหนดเป็น Inlet Volume Flow Rate โดยการเปิด – ปิด จะอาศัยฟีเจอร์ Dependency มาช่วย

รูปที่ 12 การกำหนดเงื่อนไข เปิด – ปิด ระบบหล่อเย็น

รูปที่ 13 การกำหนดเงื่อนไข เปิด – ปิด ระบบหล่อเย็นโดยขึ้นกับเวลา (ในรูปแสดง 1 ไซเคิ้ล)

4.3 กำหนดความดันที่ทางออกของระบบหล่อเย็นให้เท่ากับ Environment Pressure

รูปที่ 14 การกำหนดความดันบรรยากาศที่ทางออกของระบบหล่อเย็น

4.4 การเริ่มและสิ้นสุดไซเคิ้ลจะใช้ฟีเจอร์ Heat Source เป็นตัวกำหนดโดยให้ตัวชิ้นงานหล่อมีอุณหภูมิ 690 C(ON) เป็นเวลา 1 วินาที หลังจากนั้นสั่งปิดการทำงานของฟีเจอร์ (OFF) ไปจนจบไซเคิ้ลเหมือนกับปล่อยให้ชิ้นงานหล่อที่อุณหภูมิเริ่มต้น 690 C เย็นตัวในแม่พิมพ์

รูปที่ 15 การกำหนดการเริ่มต้นและสิ้นสุดของรอบการผลิต (ในรูปแสดง 1 ไซเคิ้ล)

 4.5 สุดท้ายกำหนดอุณหภูมิเริ่มต้นของแม่พิมพ์

รูปที่ 16 การกำหนดอุณหภูมิเริ่มต้นของแม่พิมพ์

5. ในส่วนของ Calculation Control Options จะประกอบด้วย

5.1 ให้เซ็ตเวลาสิ้นสุดการคำนวณ

รูปที่ 17 แสดงการเซ็ตเวลาสิ้นสุดการคำนวณไว้เท่ากับ 450 วินาที (10 ไซเคิ้ล)

5.2 การเซฟผลลัพธ์

รูปที่ 17 กำหนดความถี่ในการเซฟผลลัพธ์และการเตรียมแสดงผลลัพธ์แบบ Transient Explorer

6. การแสดงผลผลัพธ์

6.1 อาจเลือกแสดงเป็นอุณหภูมิ Temperature (Solid) ทั้งในส่วนของชิ้นงานหล่อ และแม่พิมพ์โดยใช้ Surface Plots

รูปที่ 18 แสดงการกระจายตัวของอุณหภูมิบนชิ้นงานหล่อ และแม่พิมพ์โดยใช้ Surface Plots

6.2 เราสามารถใช้ฟีเจอร์ Transient Explorer ร่วมกับการแสดงผลการกระจายตัวของอุณหภูมิโดยจะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไซเคิ้ลแรกถึงไซเคิ้ลสุดท้าย

รูปที่ 19 การแสดงผลร่วมกับ Transient Explorer

6.3 พล็อตกราฟการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของแม่พิมพ์โดยใช้ Plot Parameters

รูปที่ 20 แสดงกราฟการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของแม่พิมพ์ตั้งแต่ไซเคิ้ลที่1 – ไซเคิ้ลที่10

ทั้งหมดที่ได้แสดงไปน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่สนใจอยากจะลองวิเคราะห์ Thermal Cycle ของแม่พิมพ์ HPDC หรืองานอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันได้ลองทำและศึกษาให้เข้าใจในหลักการดูก่อนเนื่องจากซอฟต์แวร์เฉพาะทางมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่หากยังไม่ตอบโจทย์ก็สามารถจัดหาซอฟต์แวร์เฉพาะทางได้ในภายหลัง

ข้อมูลเพิ่มเติม :
SOLIDWORKS
SOLIDWORKS Simulation
SOLIDWORKS Flow Simulation
Optimization กับชิ้นงานรับแรง SOLIDWORKS Simulation

Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ