Customers Success, Customers Success-Mi, Success - SolidWorks

กรมช่างอากาศ

วันนี้ AppliCAD ได้มีโอกาสได้เข้ามาชมเทคโนโลยีสุดล้ำที่ทางกองทัพอากาศไทยได้นำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของกองทัพอากาศไทย โดยเราได้รับเกียรติจาก นาวาโท สมบูรณ์ ผลสุวรรณ์ หัวหน้า แผนกวิศวกรรมโรงงาน กองโรงงาน กรมช่างอากาศ ( ผวร.กรง.ชอ.) มาพูดคุยกันถึงเทคโนโลยีกับการพัฒนาในกรมช่างอากาศ

AppliCAD : ขอบเขตความรับผิดชอบของกองโรงงาน กรมช่างอากาศ
นาวาโท สมบูรณ์ : ในส่วนแผนกที่ผมรับผิดชอบนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการออกแบบชิ้นส่วนของอากาศยาน,อุปกรณ์ที่ใช้สร้างชิ้นส่วนอากาศยาน,โครงสร้างอากาศยาน,และชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ของอากาศยานของกองทัพอากาศทั้งหมดเลยครับ ซึ่งก็เป็นความจำเป็นที่จะต้องใช้พวกโปรแกรมในการเขียนแบบต่างๆ นอกจากนี้เรายังมีงานพิเศษในการพัฒนาของกองทัพอากาศในส่วนของการสร้างชิ้นงานต้นแบบ และในการพัฒนาสร้างอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV(Unmanned Aerial Vehicle) นะครับ

AppliCAD : ยุทธศาสตร์ในการบริหารของกองทัพอากาศไทย
นาวาโท สมบูรณ์ : กองทัพอากาศไทยมียุทธศาสตร์ในการบริหารแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน โดยช่วงที่ 1 เราจะมีการปรับปรุงกองทัพอากาศจากระบบดั่งเดิมให้เป็นระบบ Digital Air Force ก็คือการนำระบบดิจิตอลมาพัฒนาการปฎิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ขั้นถัดไปในปีหน้านี้เราก็จะเข้าสู่ ระบบ Network Centric Operation ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศมีหน่วยที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และบังคับบัญชาให้การปฎิบัติงานของภาระกิจของกองทัพอากาศนี้ไปในทิศทางเดียวกันภายใต้เคลือข่าย และช่วงสุดท้ายเราก็จะเข้าสู่กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค ในภูมิภาคอาเซียนด้วยกันเราจะกลายเป็นกองทัพที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

AppliCAD : เทคโนโลยีที่แผนกวิศวกรรมโรงงานใช้อยู่ในตอนนี้ในการพัฒนาอากาศยานต้นแบบ
นาวาโท สมบูรณ์ : การเขียนแบบด้วยโปรแกรมSolidWorks และนอกจากนี้เรายังนำเทคโนโลยี Reverse Engineering มาใช้ โดยเราจะมีเครื่องScan 3มิติ และล่าสุดเราได้จัดซื้อเครื่อง Rapid Prototype มาใหม่ซึ่งจะมาช่วยในส่วนของการสร้างชิ้นงานต้นแบบ เพื่อให้เรานำไปทดสอบก่อนจะนำไปสร้างจริงในลำดับต่อๆไป

AppliCAD : ความเป็นมาของโครงการพัฒนาอากาศยานต้นแบบ
นาวาโท สมบูรณ์ : สำหรับโครงการพัฒนาอากาศยานต้นแบบเราได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 โดยเราได้นำเครื่องบินใบพัดที่ปลดประจำการแล้วมาเป็นต้นแบบ เสร็จแล้วก็เราใช้เทคโนโลยี Reverse Engineering มาช่วยในการสร้างชิ้นส่วนต่างๆของอากาศยาน และเราก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาอากาศยานไปในตัว เพื่อที่จะได้สอดคล้องกับการเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ ซึ่งในส่วนนี้ก็จำเป็นต้องใช้โปรแกรม SolidWorks เข้ามาช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนต่างๆเป็นจำนวนมากครับ และเพื่อตรวจวัดประสิทธิภาพต่างๆได้อย่างถูกต้องเราจำเป็นต้องใช้ เครื่อง Rapid Prototype นำมาช่วยการผลิตชิ้นงานต้นแบบ อันจะช่วยในการทดสอบองค์ร่วม เพื่อจะหาค่าสัมประสิทธิ์ แรงเสียดทานต่างๆของชิ้นส่วนของอากาศยานได้อย่างถูกต้อง

เครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒
AppliCAD : โครงการมีความก้าวหน้าไปถึงไหนแล้วคะ
นาวาโท สมบูรณ์ : สำหรับเครื่องต้นแบบลำแรกเราได้ทำการสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วนะครับ แต่ยังไม่ได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ ซึ่งระหว่างนี้ก็อยู่ในขั้นตอนของการติดตั้งเครื่องยนต์ ซึ่งเราได้ไปไว้ที่ดอนเมืองครับ และหลังจากที่เราติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็จะข้นย้ายไปที่ ตาคลีนะครับ เพื่อที่จะไปทดสอบการบินครั้งแรก แต่ทว่าแผนการยังไม่ชัดเจนว่าจะเสร็จสิ้นการติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่เมื่อไร

AppliCAD : สาเหตุที่กองทัพไทยมุ่งพัฒนาอากาศยานต้นแบบ
นาวาโท สมบูรณ์ : สาเหตุหลักมีด้วย กัน 2 สาเหตุด้วยกัน โดยสาเหตุแรกก็เพื่อสร้างเครื่องบินให้กับกองทัพอากาศไทยได้ใช้งานเอง ทั้งใช้ในการฝึกบิน และใช้ในภาระกิจธุรการ ส่วนอีกสาเหตุในการพัฒนาอากาศยานต้นแบบนั้นก็เพื่อฝึกหัดให้เจ้าหน้าที่ช่างนั้นมีความชำนาญมากขึ้น หลังจากที่เราได้มีการยกเลิกการผลิตเครื่องบินเองในกองทัพไทยมานานถึง 30 ปี โดยโครงการนี้ก็จะทำให้ความรู้ของคนรุ่นหนึ่ง ถ่ายทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้ครับ

AppliCAD : รู้จักกับเทคโนโลยี Rapid Prototype นี้ได้อย่างไรคะ
นาวาโท สมบูรณ์ : ครั้งแรกเลยนี้ ผมได้ไปดูงานที่งาน Thai Melalex เมื่อหลายปีก่อน และก็ได้เจอกับเครื่อง Rapid Prototype แล้วก็เกิดความประทับใจในเทคโนโลยีนี้ตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งใช้เรซิ่นในการสร้างชิ้นงานต้นแบบจากโปรแกรม 3 มิติได้ ทำให้เราสามารถนำชิ้นงานนี้ไปให้กับ User ให้เค้าดูว่ามีความพึงพอใจกับแบบที่ออกแบบมาหรือมีคุณสมบัติตรงตามที่เค้าคาดหวังไว้หรือไม่ ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้ช่วยให้User เองเห็นภาพชัดเจนกว่าแค่ดูจากโปรแกรม 3 มิติจากคอมพิวเตอร์เท่านั้น

AppliCAD : เสียงตอบรับจากผู้ใช้งานจริง กับเทคโนโลยี Rapid Prototype
นาวาโท สมบูรณ์ : ทุกหน่วยที่ได้ข่าวว่าเราจะนำเทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาใช้ ต่างก็มีความยินดีเป็นอย่างมากเพราะคงจะช่วยลดภาระในการสร้างต้นแบบที่จากเดิมต้องใช้วัสดุจริงมาสร้างและมักเกิดความผิดพลาด จึงต้องเสียเวลาในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง สร้างชิ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจากตรงนี้คาดว่าจะช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาโครงการอื่นๆได้อีกมาก

AppliCAD : วิศัยทัศน์ของกองช่างอากาศในเป้าหมายในอนาคต
นาวาโท สมบูรณ์ : เรามุ่งมันที่จะเป็นองค์กรค์ที่จะซ่อมและสร้างอากาศยานให้มีความปลอดภัยและเป็นมาตรฐานสากล ซึ่งเป้นที่ทราบกันดีอยู่ว่า ความปลอดภัยนั้นก็ต้องเกิดจากการทำงานที่ถูกต้องและกอรปกับต้องมีอุปกรณ์ที่เพรียบพร้อม ทันสมัย ดังนั้นในการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆให้ทันสมัยก็มีผลต่อผู้ปฎิบัติงานสามารถมั่นใจทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และผู้ใช้ที่นำชิ้นส่วนอากาศยานของเราไปใช้ก็จะเกิดความั้นใจมากขึ้นว่า เขาสามารถทำการบินในอากาศและปฎิบัติภาระกิจต่างๆได้อย่างปลอดภัย ส่วนในการนำเข้าสู่มาตรฐานสากลนี้ เราก็มีการดูขั้นตอนของการพัฒนาโครงการอื่นๆว่ามีการจะต้องทดสอบส่วนของต้นแบบต่างๆก่อนที่จะนำไปสร้างชิ้นส่วนจริง อันจะทำให้เราสามารถนำไปสร้างมาตรฐานอันจะเกิดเป้นมาตรฐานสากลได้ ส่งผลให้เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานอื่นๆด้วยครับ

แสนจะภูมิใจกับการพัฒนาของกองทัพอากาศไทยแล้วขอปรบมือดังๆให้กับความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา และก้าวเป็นหนึ่งในภูมิภาคนี้ และหากท่านใดสนใจก็สามารถเข้าไปชมได้ที่ “โครงการพัฒนาการสร้างอากาศยานต้นแบบ บ.ทอ.๖”

Link : http://www.dae.mi.th/prototypedesign_6_aircraft.htm 

ข้อมูล: 3D Printer


Photo of author
WRITTEN BY

supawadee