Article - 3DPrinter Mi, Article Mi, Articles

แข็งแรง แต่น้ำหนักเบา เมื่อ Print ด้วย Carbon Fiber

เส้นใยคาร์บอน (คาร์บอนไฟเบอร์ : Carbon Fiber) หรือไฟเบอร์แกรไฟต์ แกรไฟต์คาร์บอน หรือ CF เป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบอย่างน้อยร้อยละ 90 มีคุณสมบัติทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์หลายอย่าง เช่น มีความแข็งแรงสูง ต้านทานแรงดึงสูง น้ำหนักเบา ทนต่อสารเคมีสูง ทนต่ออุณหภูมิสูง และอัตราการขยายตัวต่อความร้อนต่ำ เส้นใยคาร์บอนมักจะใช้ร่วมกับวัสดุอื่นๆ ในรูปแบบคอมโพสิท (Composites) ซึ่งจะเรียกว่า “คาร์บอนไฟเบอร์เสริมโพลิเมอร์” แต่มักจะเรียกสั้นๆ ว่า “คาร์บอนไฟเบอร์ : Carbon Fiber” มากกว่า

Carbon Fiber จึงเป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจ และนิยมมากในหลากหลายอุตสาหกรรมตั้งแต่การนำไปผลิตสิ่งของที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อย่างการผลิตอาวุธในการทหาร หรือผลิตสิ่งต่างๆ ใน อุตสาหกรรมการบินและวิศวกรรมอวกาศ มอเตอร์สปอร์ต ตลอดจนสิ่งของที่พบได้ทั่วไปอย่างอุปกรณ์กีฬา เพราะวัสดุชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นมากมายอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ การเป็นวัสดุมีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงสูงมาก และยังเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีต่างๆ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่อุตสาหกรรมต่างพยายามนำวัสดุนี้มาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย ไม่เว้นแม้กระทั่งอุตสาหกรรมการพิมพ์สามมิติ (3D Printing)

ทั้งนี้เส้นใยคาร์บอนสำหรับใช้ในเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) นั้นมักนำใยเส้นสั้นผสมลงในพลาสติกฐาน เช่น Nylon, PolyCarbonate, ABS, PLA, PETG เป็นต้น ซึ่งลักษณะของ Carbon Fiber จะแข็ง แต่เปราะ ดังนั้นการนำไปผสมกับพลาสติกฐานมักจะผสมกับพลาสติกที่มีความเหนียว เช่น Nylon หรือ PETG เพื่อชดเชยลักษณะด้อยนั่นเอง 

แข็งแรง แต่น้ำหนักเบา เมื่อ Print ด้วย Carbon Fiber

Nylon 12CF 

Stratasys บริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ได้นำวัสดุที่มีส่วนผสมคาร์บอนไฟเบอร์ ชื่อว่า FDM Nylon 12 Carbon Fiber (Nylon 12CF) มาใช้กับเครื่อง 3D Printer หลายรุ่น ซึ่งวันนี้ที่จะนำมาให้ดูมี 3 รุ่น คือ FORTUS 380mc Carbon Fiber Edition, FORTUS 450mc และ Stratasys F900 เหมาะสำหรับคนที่ชอบสร้างวัสดุที่แข็งแรงแต่ต้องการน้ำหนักเบา มักถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานพิมพ์เครื่องบิน 4 ใบพัดขนาดเล็ก หรือ Drone ไปจนถึงการผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมการบิน และอวกาศ / การสร้างยานยนต์ หรือชิ้นส่วนในวงการ Motosport / Engineering Prototype  และอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ซึ่งคุณสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototypes) และเครื่องมือแบบกำหนดเอง แต่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการความแข็งแรงและความทนทานต่อความล้า (Fatigue) สูง ด้วยเทคโนโลยี Fused Deposition Modeling (FDM) ระบบนี้สามารถสร้างชิ้นงานได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก สามารถดัดแปลงใช้ได้กับวัสดุหลายประเภท และมีต้นทุนต่ำกว่าการพิมพ์แบบอื่น ทั้งในแง่ของวัสดุและเครื่องพิมพ์ ทำให้ 3D Printer ระบบ FDM เป็นที่นิยมมากที่สุดในขณะนี้ และด้วย Nylon 12CF คาร์บอนไฟเบอร์ที่ให้น้ำหนักที่เบา แต่กลับมีความแข็งแรงสูง ทำให้ FDM Nylon 12CF เป็นเทอร์โมพลาสติกเสริมแรงคาร์บอนซึ่งมีลักษณะโครงสร้างที่ดีเยี่ยม วัสดุนี้ประกอบด้วยส่วนผสมของ Nylon 12 resin และ Chopped Carbon Fiber ที่การโหลด 35% ของน้ำหนัก ส่งผลให้อัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูงสุด ซึ่งการรวมกันนี้ทำให้เกิดเทอร์โมพลาสติกที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มวัสดุ FDM

View Nylon 12CF Spec Sheet<<

 

แข็งแรง แต่น้ำหนักเบา เมื่อ Print ด้วย Carbon Fiber

FORTUS 380mc Carbon Fiber Edition เครื่อง 3D Printer ที่ใช้วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ FDM Nylon 12 Carbon Fiber และ ASA ในการผลิตชิ้นงานต้นแบบ (Prototypes), Production parts, Tooling ที่ต้องการคุณภาพ และความแม่นยำสูงในระดับอุตสาหกรรม ตลอดจนมีความแข็งแรงทนทานสูง ทนต่อการเสียดสี-สึกหรอ และน้ำหนักเบา  สำหรับ FORTUS 380mc Carbon Fiber Edition รุ่นนี้สามารถผลิตชิ้นงานได้ขนาด 355 x 305 x 305 มิลลิเมตร  หรือ 14 x 12 x 12 นิ้ว 

ข้อมูลเพิ่มเติม : FORTUS 380MC CARBON FIBER EDITION

 

นอกจากนี้ทาง Stratasys ยังมี 3D Printer ที่ปริ้นท์ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ให้เลือกอีกตามความต้องการในการนำไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น FORTUS 450mc ซึ่งผลิตชิ้นงานได้ขนาด 16 x 14 x 16 นิ้ว (406 x 355 x 406 มิลลิเมตร) และ Stratasys F900 ที่ผลิตชิ้นงานได้ถึง 36 x 24 x 36 นิ้ว

แข็งแรง แต่น้ำหนักเบา เมื่อ Print ด้วย Carbon Fiber

ถึงแม้ในยุคดิจิทัลนี้ เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing) จะอยู่ในฐานะนวัตกรรมแห่งยุคที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตหลากหลายประเภท ต่างนำมาปรับใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความล้ำสมัย และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการผลิตสินค้าและบริการประเภทต่างๆ แล้วก็ตาม แต่การนำ 3D Printing มาใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมนั้น อาจจะยังจำกัดอยู่ในตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เท่านั้น โดยผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตสินค้าในปริมาณไม่มาก โดยมีรูปทรงซับซ้อน และต้องอาศัยการประกอบกันของหลายชิ้นส่วน หรือการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตลอดจนการพัฒนาสินค้า การเลือกนำ 3D Printing มาใช้นับเป็นโอกาสที่เหมาะสมอย่างยิ่ง และในอนาคตอันใกล้ 3D Printing คือ จุดเปลี่ยนของการแข่งขันในภาคธุรกิจการผลิต และะเข้ามามีส่วนในการยกระดับรูปแบบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ด้วยความรวดเร็ว คุณภาพ และประหยัดต้นทุนการผลิตได้มหาศาล

ทั้งนี้การเลือกใช้งานวัสดุสำหรับ 3D Printer จำเป็นต้องศึกษาและให้ความสำคัญเกี่ยวกับคุณลักษณะในการใช้งานจริงของวัสดุนั้น เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่เกิดความคุ้มค่าสูงสุด หากคุณกำลังมองหาวัสดุที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณมีน้ำหนักที่เบาลง ในขณะเดียวกันก็สร้างความแข็งแรงได้อย่างสูงสุด คาร์บอนไฟเบอร์ Nylon 12CF นั้นแหละที่เหมาะสำหรับคุณ สนใจ CARBON FIBER 3D PRINTING

 

แข็งแรง แต่น้ำหนักเบา เมื่อ Print ด้วย Carbon Fiber

By: Wilaiphan S.

 


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ