Article - 3DPrinter Mi

แก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านทันตกรรม Sainamtip Dental Lab เลือกใช้ 3D Printer

ปัจจุบันเทคโนโลยี 3D Printer ถูกนำมาใช้อย่างหลากหลายในแวดวงต่างๆ เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับการทำงาน แน่นอนว่า 3D Printer นั้นมีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วน สำหรับเครื่องมือ เครื่องจักร และของใช้ในครัวเรือนค่อนข้างมาก แต่วันนี้เราจะพาไปดูอีกมุมนึงของเทคโนโลยี 3D Printer ที่ไม่เพียงแต่จะสามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพกับรูปแบบของอุตสาหกรรมที่เรากล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่ปัจจุบัน 3D Printer ได้เข้ามามีบทบาทในวงการทันตกรรมด้วย มาดูกันว่าเทคโนโลยีนี้ เข้ามามีบทบาทต่อวงการนี้อย่างไร กับบทสัมภาษณ์ที่เราได้รับการให้เกียรติแบ่งปันประสบการณ์จากคุณ กุณฑล นัยสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท สายน้ำทิพย์เด็นตอลแลบอราตอรี่ จำกัด (Sainamtip Dental Laboratory) Lab ทันตกรรมชั้นนำของประเทศไทย

คุณกุณฑล นัยสวัสดิ์ (Managing Director) บริษัท สายน้ำทิพย์เด็นตอลแลบอราตอรี่ จำกัด

ในวงการทันตกรรมเมืองไทยรู้จักกันในนาม Sainamtip Lab เราเป็น Lab ทันตกรรมที่อยู่คู่กับ Lab ทันตกรรมประเทศไทยมากว่า 46 ปี แล้ว เราเป็นแลปที่ผลิตฟันปลอม ผลิตเครื่องมือทันตกรรมตามคำสั่งของทันตแพทย์

 

จุดเด่น

เราได้รับลิขสิทธิ์ให้เป็นผู้ผลิตโลหะฟันปลอมถอดได้ด้วยโลหะที่ชื่อ ไวตาเลี่ยม นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เรียกว่าเป็น Signature ของเราครับ นอกจากนี้เราก็เป็นผู้ผลิตฟันปลอม และเครื่องมือทันตกรรมเกือบทุกชนิด เพราะฉะนั้นทันตแพทย์ในวงการบ้านเราจะรู้จักว่า Sainamtip Lab เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตโครงโลหะ

เพราะอะไรถึงเลือกใช้เทคโนโลยี 3D Printing

ในการทำงานปัจจุบันทันตแพทย์เองก็ใช้เทคโนโลยีทางด้าน 3 มิติ เข้ามาในการทำงานมากยิ่งขึ้น แทนที่ในอดีตทันตแพทย์จะพิมพ์ปากคนไข้ ส่งมาเป็นโมเดลปูน ส่งมาเป็นรอยพิมพ์แต่ในช่วงระยะหลังมานี้ ทันตแพทย์ก็ได้สนใจเทคโนโลยีกล้อง 3 มิติสแกนช่องปากคนไข้แทนการพิมพ์ปาก ส่งไฟล์มาให้ Lab ในการทำงาน เราก็ต้องมีเครื่องมือที่มาช่วยรองรับการทำงานแบบดิจิตอลเพื่อตอบสนองความต้องการของทันตแพทย์ได้มากยิ่งขึ้นครับ

การทำงานของ Lab ทันตกรรมต้องอาศัยงานฝีมือ ซึ่งเราเรียกว่า ช่างทันตกรรม เป็นการประดิษฐ์ชิ้นงานขึ้นมาแต่ละชิ้นให้ตรงตามความต้องการของทันตแพทย์และคนไข้ ซึ่งการผลิตชิ้นงานที่เป็นงานฝีมือค่อนข้างที่จะใช้เวลานานในการผลิต สิ่งที่ตามมาก็คือการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ๆ ต้องอาศัยเวลาเป็นเดือนหรืออาจเป็นปีกว่าที่เค้าจะมีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการผลิตชิ้นงาน เพราะฉะนั้นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็ทำให้งานรวดเร็ว แม่นยำ และลดข้อผิดพลาดในการทำงานบางประเภทได้ครับ

ในการใช้ 3D Printer ในการทำโมเดลฟัน อดีตเราต้องผสมปูนปลาสเตอร์หล่อแบบขึ้นมาจากรอยพิมพ์ที่คุณหมอส่งมาให้เรา ตอนนี้เราก็เปลี่ยนวิธีให้คุณหมอส่งมาเป็นไฟล์ และเราก็ปริ้นท์ด้วยเครื่อง 3D Printer ออกมาเป็นรูปแบบ 3 มิติ แทนการเทปูนปลาสเตอร์ครับ และอีกประเภทงานนึงเราเรียกว่า สปริ๊นท์ ใช้ในการผ่าตัดขากรรไกรช่วยให้ทันตแพทย์สามารถฝั่งรากเทียมได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น อีกประหนึ่งที่เราใช้งานอยู่ คือ งานครอบฟันบางประเภท และหลักๆ ที่ทาง Sainamtip Lab ใช้งานก็คือ RPD หรือว่าเป็นงานโครงฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ หลังจากนี้แล้วก็ต้องมีการหล่อแบบด้วยปูนทนไฟ หลอมโลหะด้วยอุณหภูมิ 360 องศา ทำให้โลหะไหลเข้าไปอยู่ในแบบแทนช่องว่างของแพทเทิร์นนี้รอจนเย็น หลังจากที่เหวี่ยงโลหะ แล้วกรอแต่งลงมาสเตอร์โมเดลเป็นชิ้นงานโครงฟันปลอมถอนได้แบบนี้เพื่อส่งต่อให้ทันตแพทย์เข้าสู่การรักษาต่อไปครับ

 

ใช้เวลาในการเรียนรู้มากหรือน้อยอย่างไร

เทคโนโลยีอาจจะไม่สามารถตอบสนองได้ทุกประเภทงาน แต่เราต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเราสามารถใช้งานเครื่องนี้กับงานอะไรได้ดีที่สุด เรียนรู้เทคนิค เรียนรู้ซอฟต์แวร์ รวมถึงวัสดุที่มีให้เลือกหลากหลาย วัสดุบางชนิดก็สามารถอยู่ในปากคนไข้ได้ วัสดุบางอย่างก็ไม่สามารถอยู่ในปากคนไข้ได้ ความแม่นยำ และเสถียรภาพของวัสดุแต่ละตัวก็ไม่เท่ากัน เราก็ต้องศึกษาและเรียนรู้ให้ชัดเจนครับ

3D Printer เข้ามาตอบโจทย์ในการทำงานได้มากน้อยแค่ไหน

เราพยายามใช้เครื่องทุกวันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และนำมาพัฒนา Printer รับคำสั่งจากเรา เพราะฉะนั้นต้องเริ่มตั้งแต่คนสั่งงาน ว่าเราสั่งอย่างถูกต้องไหม ใช้เครื่องได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง

มุมมองที่มีต่อเทคโนโลยีในปัจจุบัน

ผมเป็นคนชอบเทคโนโลยี ต้องการเรียนรู้และพิสูจน์ว่าที่เค้าใช้งานกันในแวดวงของทันตกรรมทั่วโลก ทำไมเค้าสามารถใช้งานได้ แล้วทำไมเมืองไทยถึงจะใช้งานไม่ได้เหมือนกับเค้า แต่อย่างที่บอกว่าเราต้องเลือกที่จะใช้ให้ถูกกับประเภทของงานครับ

ในช่วงที่เริ่มต้นใช้เครื่อง 3D Printer ก็ยังติดปัญหาเรื่องการใช้งาน วัสดุต่างๆ ทาง AppliCAD ก็เข้ามาช่วยไขข้องสงสัย และพิสูจน์ว่าสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับงานจริงได้กับทางทันตกรรม ไม่ใช่ว่าปริ้นท์เสร็จแล้วจะสามารถเอามาใช้งานได้เลย บางชิ้นงานก็จะมีขั้นตอนที่เพิ่มมากขึ้น เช่น เปลี่ยนชิ้นงานจากแพทเทิร์นเรซิ่นนี้ มาเป็นโลหะ ก็ต้องใช้กระบวนการหลายขั้นตอน ทาง AppliCAD ก็ช่วยพิสูจน์และหาข้อมูลมาสนับสนุน จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า 3D Printer มีความเหมาะสมและใช้งานได้จริง รวมถึงการเข้ามาตรวจเช็คเครื่องอย่างสม่ำเสมอ ส่งของได้รวดเร็วทันใจครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.applicadthai.com/3d-printers/

บรรณาธิการ


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ