Customers Success, Customers Success-Mi, Success - 3DPrinter

Zenith Infant Product Co., Ltd. : ลดความเสี่ยง เพิ่มความเชื่อมั่นด้วย 3D Printer

 เปลี่ยนการทำโปรโตไทป์ให้เป็นเรื่องเบบี๋ที่ Zenith

Success Story ในฉบับนี้ จะพาคุณผู้อ่านไปพูดคุยกับ คุณ สุธีร์ วิริยะพันธุ์ / วิศวกรออกแบบ บริษัท เซนิธ ผลิตภัณฑ์เด็ก จำกัด นักออกแบบอีกหนึ่งท่านที่ค้นพบวิธีเปลี่ยนงานหินอย่างการสร้างโปรโตไทป์ให้เป็นงานง่ายๆ ด้วยการเลือกใช้ tools ที่เหมาะสม ส่วนปัญหาในการทำงานที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น จะมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการทำงานหรือประสบการณ์ของคุณผู้อ่านมากน้อยแค่ไหน เชิญติดตามได้เลยค่ะ

ธุรกิจหลักขอ Zenith คืออะไรค่ะ

เราผลิตสินค้าที่เรียกว่า baby product สำหรับเด็กแรกเกิดถึงสามขวบ จะเน้นพวกงานฉีดพลาสติก งานซิลิโคน เช่น จุกนม เป็นต้นครับ

แล้วคุณสุธีร์ ดูแลในส่วนไหนบ้าง

ส่วนใหญ่จะเป็นงานออกแบบ งาน 3D เคลียร์แบบอะไรพวกนี้นะครับ

ทราบมาว่าก่อนหน้านี้ กระบวนการทำงานเดิม ค่อนข้างมีปัญหา

ครับ เริ่มแรกเลย เมื่อก่อนเราไม่มีตัวซอฟต์แวร์ในการช่วยการผลิตในส่วนของงานออกแบบ การขึ้นรูปและการนำส่งชิ้นงานให้กับทาง mold maker คือในกระบวนการออกแบบ ก่อนที่เราจะผลิต mold เราต้องสร้างโปรไตไทป์ขึ้นมาก่อน เพื่อเช็ครูปทรง ขนาดและฟังก์ชั่น โดยเช็คกับทางลูกค้าให้ลูกค้า approve ก่อนที่จะผลิต mold จริงเพื่อลดความเสี่ยงที่เรื่องปัญหาต่างๆ หลังจากผลิต mold มาแล้ว

ปัญหาคือ ก่อนหน้านี้เราไม่สามารถเช็คอะไรได้เลย ในขั้นตอนก่อนการขึ้น mold ออกแบบมาแล้วเราก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าชิ้นงานตัวนั้นจะมีปัญหาอะไรบ้าง การประกอบจะมีปัญหาไหม หรือรูปแบบที่ออกมาจะเป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือเปล่า

แล้วมีการแก้ไขปัญหาอย่างไรค่ะ

เราเริ่มจากการหา supplier ที่รับผลิตโปรโตไทป์ครับ เริ่มต้นจะเป็นการจ้างผลิตโปรโตไทป์จากยิปซั่มซึ่งมีลักษณะเป็นผงแป้ง ปัญหาก็คือเราไม่สามารถเช็คฟังก์ชั่น เช็คขนาดหรืออื่นๆ ได้ ชิ้นงานจึงมีค่า error ค่อนข้างสูง คือได้ดูแค่รูปทรงอย่างเดียว แต่เรื่องของการเช็คขนาด การเอามาประกอบเป็นชิ้นงานเนี่ย ตรงจุดนี้ยังทำไม่ได้ ก็พยายามแก้ปัญหาเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้เราก็ใช้บริการจากที่อื่นด้วยเหมือนกัน แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องกลิ่น เพราะส่วนใหญ่เราจะทำงานกันในส่วนของออฟฟิศ ก็จะมีเรื่องกลิ่นรบกวน และปัญหาหลักๆ ก็จะเป็นเรื่องขนาดชิ้นงานที่มีความเพี้ยนค่อนข้างสูงครับ และเนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูงเราจึงต้องเจาะจงเฉพาะโปรดักท์ เพื่อจะดูรูปทรงว่าออกมาแล้วโอเคไหม เรื่องของขั้นตอนในงานเป่า ว่ารูปทรงแบบนี้เราเป่าขึ้นได้ไหม แต่มันยังไม่ครอบคลุมความต้องการของเราได้ทั้งหมด ราคาของเครื่องก็ถือว่ายังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

แต่หลังจากนั้นก็เริ่มมีการนำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ มีการนำเครื่อง 3D Printer สำหรับทำชิ้นงานตัวอย่างมาใช้ ตอนนี้เราใช้ 3D Printer กับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทุกตัวเลย

ทำไมถึงสนใจเทคโนโลยี FDM และ Rapid Prototype ค่ะ

ที่เลือกเทคโนโลยี FDM จาก Stratasys เพราะเราทำงานกันในออฟฟิศด้วย ซึ่ง FDM ถือว่าเหมาะมากกับการทำงานในพื้นที่ออฟฟิศ คือตัดปัญหาเรื่องเสียงหรือกลิ่นรบกวน ทำให้เราทำงานร่วมกับแผนกอื่นได้ ค่าไดเมนชั่นต่างๆ ก็แม่นยำ เป็นที่ยอมรับ ขนาดที่ออกมาสามารถนำเอาไปประกอบกับชิ้นงานที่เรามีอยู่ สามารถเช็คขนาดได้จากโปรโตไทป์ซึ่งใกล้เคียงกับชิ้นงานจริง ค่อนข้างโอเคในระดับหนึ่ง ทั้งเรื่องของการคอนโทรลพื้นผิว ขนาด เราสามารถที่จะนำไปประกอบกับชิ้นส่วนอื่นๆ ได้

แล้วฟีดแบ็คจากลูกค้าเป็นอย่างไรบ้างค่ะ

จริงๆ ลูกค้าที่เข้ามาที่โรงงานของเรา ค่อนข้างมีความคาดหวังว่าจะเห็นตัวชิ้นงานกลับไป บางชิ้นงานเป็นดีไซน์ซึ่งผลิตและนำเสนอให้กับลูกค้าตอนนั้นเลย ซึ่งก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ในระดับหนึ่ง ลูกค้าส่วนใหญ่จะทึ่งกับเทคโนโลยี เพราะก็จะมีบ้างเหมือนกันที่ยังไม่รู้จักในเรื่องของโปรโตไทป์ คือพอได้เห็นแล้วก็อยากจะดูตัวเครื่องว่ามันทำงานยังไง

ความแตกต่างระหว่างการจ้างเอาท์ซอร์สกับการผลิตเองคืออะไร

พอมีเครื่องที่ผลิตเองได้ ก็จะได้เรื่องของความเชื่อมั่นของลูกค้า อีกอย่างคือเรื่องของเวลา เราสามารถนำดีไซน์มาผลิตเป็นโปรโตไทป์ได้เลยโดยไม่ต้องส่งไปผลิตข้างนอก ประหยัดเวลาและงบประมาณไปได้มาก ในเรื่องของงานเช็คฟังก์ชั่น เช็คปริมาตรก็ดี เกี่ยวกับเรื่องของคุณภาพ สแตนดาร์ดของงาน การควบคุมผลิตภัณฑ์สามารถเช็คจากเครื่องได้เลย ซึ่งถ้าไม่ผลิตเอง เราต้องรอจนกว่าโปรดักท์จะถูกส่งกลับมาแล้วส่งไปเช็คอีก ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง พอเรามีเครื่องของเราเอง เราก็จะสามารถผลิต ตรวจสอบได้เองเลยก่อนทำ mold
ในส่วนของการทำแม่พิมพ์หรือ mold หากผลิตขึ้นมาแล้ว ต้องมีการแก้ไขก็จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก ในเรื่องของชิ้นงานที่ผลิตมาแล้วแล้วเราส่งออกไปทดสอบข้างนอกหรือในบริษัทเองก็แล้วแต่ ถ้าไม่ผ่านหลังจากที่ทำเป็น mold แล้วก็จะลำบากครับ แล้วก็จะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย

ช่วงแรกๆ มีปัญหาในการใช้งานบ้างไหมค่ะ สำหรับ 3D Printer

ในเรื่องของการใช้งานไม่ค่อยยุ่งยากเท่าไหร่ครับ ทั้งส่วนของซอฟต์แวร์และตัวเครื่องค่อนข้างง่ายอยู่ การออกแบบก็ทำตามปกติ เพราะพอออกแบบเสร็จก็สามารถเช็คแบบได้เลย หลังจากที่ได้ไฟล์ 3D ก็ป้อนเข้าเครื่องและผลิตออมาเป็นโปรโตไทป์ได้ทันที

ในอนาคตจะมีการพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยีนี้อย่างไร

ในเรื่องของการพัฒนาสินค้าเราก็มีนโยบายมาโดยตลอดนะครับ ในส่วนของ Rapid Prototype โรงงานเราค่อนข้างจะโอเคและตอบโจทย์ครับ

เพียงแค่เปลี่ยนเครื่องมือในการทำงาน ก็ช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานได้อย่างไม่คาดคิด แม้แต่งานยากๆ อย่างการสร้างโปรโตไทป์ก็กลายเป็นเรื่องเด็กๆ ได้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเคสที่ success ในการแก้ปัญหาที่น่าร่วมยินดีด้วยนะคะ พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.applicadthai.com/3d-printers/


Photo of author
WRITTEN BY

supawadee