การสร้างบ้าน 2 ชั้น พร้อม Drawing และตารางปริมาณงานด้วย ArchiCAD ภายใน 20 นาที!!! ใครที่ไม่เคยใช้ ไม่เคยเล่นมาก่อน ลองทำตามกันดูนะครับ ArchiCAD ซอฟต์แวร์ช่วยออกแบบทำแบบอาคารด้วยเทคโนโลยี BIM สามารถถอดปริมาณ BOQ และได้รับความนิยมจากสถาปนิกทั่วโลก ทั้งบริษัทออกแบบ, รับเหมาก่อสร้าง, ตกแต่งภายใน, บริษัทรับสร้างบ้าน รวมถึงหน่วยงานราชการต่างๆ ArchiCAD ช่วยสถาปนิกให้สามารถถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นแบบจำลอง BIM 3 มิติ ที่สามารถเห็นได้ทุกมุมมองทั้งภายนอก ภายใน ตลอดจนช่วยให้การทำแบบ หรือการเขียนแบบ CAD ทำได้ง่ายกว่าเดิม เพราะสามารถเขียนแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด ให้โดยอัตโนมัติตามที่ต้องการ อีกทั้งยังช่วยถอดปริมาณ BOQ ของวัสดุ ที่ใช้อาคารในอาคาร อย่างเช่น พื้นที่ใช้สอย พื้นที่ผนังด้านนอก
จากบทความที่แล้ว เขียนแบบก่อสร้างด้วย ArchiCAD BIM (1) เราได้แนะนำเพื่อนๆ ได้รู้จักความสามารถของการทำแบบด้วย BIM จาก ArchiCAD ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดถึงเรื่องนี้กันต่อ โดยจะเลือกเอาฟีเจอร์ที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการทำแบบให้เพื่อนๆ ได้พิจารณาในการเลือกเอา BIM ไปใช้ในการเขียนแบบก่อสร้างกัน ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ทำรูปตัดได้อัตโนมัติ เพียง 2 คลิก เดิมการทำรูปตัดนั้น เราต้องนำแปลนมาดึงเส้น เพื่อสร้างรูปตัดตามแนวที่กำหนดในแปลนและต้องเขียนทุกอย่างขึ้นใหม่ให้เป็นรูปตัด 1 รูป ซึ่งค่อนข้างใช้เวลานานพอสมควร แต่การทำรูปตัด BIM นั้นสะดวกรวดเร็วกว่าแบบเดิมมาก เพียงใช้คำสั่ง Section ลากเส้นแนวตัด โปรแกรมก็จะสร้างรูปตัดให้อัตโนมัติตามรายละเอียดที่มีในแปลน ดังรูป เท่านี้โปรแกรมก็จะสร้างรูปตัดให้อัตโนมัติโดยไม่ต้องวาดเส้นใหม่ให้เสียเวลา ใส่เลขหน้าลงในสัญลักษณ์รูปตัดโดยการ Link กับแบบ โดยปกติสัญลักษณ์รูปตัดจะต้องใส่ชื่อและเลขของหน้ากระดาษ (Sheet
*** แปลง PDF ให้เป็นไฟล์ 2 มิติ เหมือน CAD *** ปรับการแสดงผลในแปลน เช่น เปลี่ยนลาย Hatch เป็นแบบอื่นได้ตามต้องการ *** ใส่สัญลักษณ์ผนัง, ประตู-หน้าต่าง ลงในแปลนอัตโนมัติ *** แปลงไฟล์เป็นนามสกุลอื่นได้ เช่น PDF / DWG โดย Export ทุกแผ่นพร้อมกันภายในครั้งเดียว ในปัจจุบันการเขียนแบบก่อสร้างนั้นเราจะคุ้นเคยกับการเขียนด้วยแบบ 2 มิติ หรือที่เราเรียกว่าไฟล์ CAD (2D CAD) ซึ่งก็สามารถตอบโจทย์ได้ครบถ้วนอยู่แล้ว ทำให้หลายท่านอาจจะคิดว่า แล้วทำไมเราต้องเปลี่ยนมาใช้ BIM ในการทำแบบก่อสร้างด้วย
ก่อนอื่นเรามาดูคำนิยามของการเขียนแบบ 2 มิติ และการเขียนแบบ 3 มิติ กันก่อนนะครับ การเขียนแบบ 2 มิติ (Drawing 2D) หมายถึง การเขียนแบบที่มีความกว้างกับความยาว ไม่มีความหนา ไม่มีปริมาตร เกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตรูปต่างๆ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือรูปอิสระ ที่เป็นแบบระนาบ การเขียนแบบ 3 มิติ (Drawing 3D) หมายถึง การเขียนภาพ โดยการนำพื้นผิวแต่ละด้านของชิ้นงานมาเขียนประกอบกันเป็นรูปเดียว ทำให้สามารถมองเห็นลักษณะรูปร่าง พื้นผิวได้ ทั้งความกว้าง ความยาว และความหนาของชิ้นงาน ทำให้ภาพ 3 มิติ มีลักษณะคล้ายกับการมองชิ้นงานจริง ซึ่งภาพ 3 มิติ ที่เขียนในงานเขียนแบบก็มีหลายประเภท
เนื่องจากเราอาจจะเผลอไปทำการ Delete Description ใน File Properties แล้วทำให้เราไม่สามารถเลือก Descriptionได้ดังรูป ทั้งนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับงาน Drawing ด้วยครับ เรามีวิธีการแก้ไขดังนี้ครับ ให้ ไปที่ C:\ProgramData\SOLIDWORKS\SOLIDWORKS 2016\lang\english แล้วทำการ เลือก properties 2. จากนั้นก็ทำการ พิมพ์ Description เพิ่มเข้าไป จากนั้นก็ SAVE ทับไปเลยครับตามรูปภาพด้านล่างเลยครับ Benefit เพียงเท่านี้ Description ที่หายไป ก็จะกลับมาใช้งานได้ปกติครับ จัดทำโดย ธีรวัฒน์ ธรรมสิมมา
กรณีที่ใน drawing เวลาเอาเม้าส์ไปแตะที่เส้นหรือขอบชิ้นงานแล้วมันไม่ขึ้นไฮไลท์เส้นดังภาพ เราสามารถเข้าไปตั้งค่าที่ option ได้เพื่อให้เวลาเม้าส์ไปแตะที่เส้นหรือขอบชิ้นงานใน drawing ได้ทำการไฮไลท์เส้นโดยอัตโนมัติ โดยเข้าไปที่ option>system options>display/selection>ติ๊กที่ dynamic highlight from graphics view ดังภาพ มันก็จะขึ้นไฮไลท์มาดังภาพครับ จัดทำโดย นายณัฐพงศ์ วัฒนามานนท์
เวลาเราดึง View มาใส่ใน Drawing บางครั้งเราดึงมา View เดียวแล้วมันไม่ Projected View ให้เราโดยอัตโนมัติ อาจจะทำให้เสียเวลาในการออก Drawing มาดูวิธีที่ง่าย และไวขึ้นในการออก View ได้ง่ายขึ้น 1.เวลาเราจะออก Drawing ในติ๊กตามช่องที่ลูกศรชี้ 2.แล้วจะได้การ Projected View แบบ Auto แค่ดึงภาพมาก็จะออก View ดังภาพ Tips & Tricks เพิ่มเติม : https://www.applicadthai.com/tips-tricks/tips-tricks-mi/tips-tricks-solidworks/ จัดทำโดย : ณัฐพงศ์ วัฒนามานนท์
บางครั้งการออกแบบโมเดล อาจทำในหน้าต่างของ Part ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ Multibody ได้ง่ายกว่าในหน้าของ Assembly แต่ความต้องการลำดับต่อมาของผู้ออกแบบก็ คือ การสร้างตาราง BOM เพื่อแสดงข้อมูลของส่วนประกอบของโมเดล และหัวข้อนี้เองจะแนะนำวิธีการสร้างตาราง BOM สำหรับโมเดลที่สร้างด้วย Multibody ลองดูตัวอย่างจากด้านล่างได้เลยค่ะ เมื่อโมเดลถูกสร้างขึ้นมาในหน้าต่างของ Part แล้ว ให้เข้าไปที่ Weldment Command แล้วเลือกคำสั่ง Weldment เพื่อเปลี่ยนจาก Solid Bodies เป็น Weldment Cut List คลิกขวาที่หัวข้อ Solid Bodies แล้วเลือก Update Automatically เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า