AppNews, New Education

แอพพลิแคดร่วมสนับสนุนการประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 34 (ME-NETT2020)

การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตนักศึกษา ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมระดับชาติ รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ด้านวิชาการและวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการฯ (ME-NETT2020) ครั้งที่ 34 ในปี พ.ศ.2563 ร่วมกับสมาคมวิศวกรเครื่องกลไทย แนวคิดหลักในการจัดงานในครังนี้ คือ “นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ “Innovation for Sustainability” ดังนั้น งานวิจัยที่เผยแพร่ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ จะได้แสดงศักยภาพของนักวิจัยไทยและร่วมสร้างเครือข่ายวิศวกรเครื่องกลไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นสืบไป

โดย AppliCAD เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดงาน ME-NETT2020 ในครั้งนี้ด้วยนั่นเอง วันนี้เราก็จะมาเล่าบรรยากาศในงานกัน ว่ามีอะไรน่าสนใจกันบ้าง

ท่านภิรมย์ นิลทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นประธานในการเปิดงาน และกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานทุกท่านด้วยการเล่าประวัติความเป็นมาและของดีประจวบคีรีขันธ์แบบเจาะลึก

และเนื่องจากเจ้าภาพในการจัดงาน ME-NETT2020 ของเราเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ถ้าหากจะไม่มีการพูดถึงหัวข้อยอดฮิตอย่างสถานการณ์โควิดที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ก็คงจะไม่ได้ และที่พิเศษสุดๆคือเราได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มาอัพเดตสถานการณ์โควิดทั้งของประเทศเราและต่างประเทศให้ฟัง ว่าตอนนี้สถานการณ์โดยทั่วไปเป็นอย่างไรบ้าง และแนวทางการรับมือการป้องกันตัวเองจากโควิดที่ถูกต้อง

อีกทั้งหัวข้อพิเศษสำหรับงานนี้ก็คือ “ME New Normal”  หลายคนอาจจะสงสัย ว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง?

ME อันนี้ใครๆในวงการวิศวกรต้องรู้จักอย่างแน่นอน เพราะมันคือสาขาหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อคณะ วิศวกรรมเครื่องกล นั่นเอง 

ส่วน New Normal เป็นคำยอดฮิตที่หลายๆคนน่าจะได้พบเห็นกันผ่านสื่อต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า ความปกติใหม่ ซึ่งหมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต เนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคยนั่นเอง 

แล้ว “ME New Normal” คืออะไรกันแน่? อาจารย์ประสิทธิ์เล่าว่า ในช่วงวิกฤติโควิดที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการแพทย์ขึ้นมามากมาย  แน่นอนว่าหนึ่งในกลุ่มคนสำคัญก็คือนักวิจัยหรือวิศวกร ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบและผลิตนวัตกรรมการป้องกันตัวจากโควิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และพยายามลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค แต่ด้วยความใหม่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ทั้งเหล่าวิศวกรและแพทย์จำเป็นต้องหันหน้ามาร่วมมือกันพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้ให้สำเร็จ แน่นอนว่าการจัดงานประชุมวิชาการของเหล่าวิศวกรเครื่องกลในครั้งนี้ย่อมเป็นประโยชน์อย่างมาก ที่จะเป็นหนึ่งในพื้นที่การแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น

และสำหรับทาง  AppliCAD ได้เป็นหนึ่งในวิทยากรรับเชิญในหัวข้อเรื่อง  เทคโนโลยีการออกแบบและการผลิตในยุค 4.0 โดยคุณวิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐ บอกเล่าเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่ AppliCAD มีมาประยุกต์ในกระบวนการผลิตในปัจจุบันตั้งแต่กระบวนการออกแบบด้วยซอฟแวร์ SolidWorks การผลิตด้วยเทคโนโลยี Additive Manufacturing หรือการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุที่มีความพิเศษเรื่องการลดของเสียจากกระบวนการผลิต และการผลิตชิ้นงานที่มีความซับซ้อนด้วย Stratasys 3D Printer ตลอดจนไปถึงการตรวจสอบเทียบแบบของชิ้นงาน เพื่อตรวจสอบความ Precision เมื่อเทียบกับแบบที่ถูกเขียนไว้ด้วย GOM Metrology กันเลยทีเดียว

ต่อไปเรามาดูกันดีกว่าว่าทาง AppliCAD เราเตรียมอะไรมาโชว์ในงานนี้บ้าง

เริ่มจาก GOM ATOS Core เครื่องสแกน 3 มิติสำหรับการตรวจสอบเทียบแบบ เครื่องเล็กที่คุณสมบัติไม่เล็กตามเครื่องเพราะสามารถวัดงานความละเอียดสูง มาพร้อมกับการทำงานควบคู่ไปกับซอฟแวร์สอบเทียบแบบ ฟรี!!! อย่าง GOM Inspection

ชิ้นงานเหล็กจากเครื่อง Desktop Metal 3D Printer เครื่องพิมพ์เหล็ก 3 มิติ ที่สามารถสร้างสรรค์ทุกความคิดของคุณสำหรับชิ้นงานเหล็กให้เป็นความจริง พร้อมความแข็งแรงตามที่คุณต้องการ

Virtual reality หรือ VR ที่ได้จำลองแบบโรงงานมาให้คุณได้ทำภารกิจที่สมจริง เหมาะกับการจำลองการผลิต หรือทำ 3D Content เพื่อสร้างความแปลกใหม่และน่าสนใจให้กับการนำเสนองาน

จบด้วยตัวจริง เสียงจริงของเครื่อง MakerBot Method X เครื่องพิมพ์ 3 มิติสำหรับงานอุตสาหกรรม ตัวช่วยใหม่ล่าสุดสำหรับการลดต้นทุนการผลิต ที่ทาง AppliCAD ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปไม่นาน ด้วยจุดเด่นหลักที่ราคาจับต้องได้ Material หลากหลายครบทุกความต้องการ อีกทั้งชิ้นงานที่ได้ยังเป็นชิ้นงานคุณภาพระดับอุตสาหกรรม

สำหรับงาน ME-NETT2020 ในครั้งนี้ ถึงแม้จะพบกับความยากลำบากในการจัดงานในช่วงนี้บ้าง แต่งานที่ออกมาจะทำให้เราได้เห็นว่าความร่วมมือของหลายภาคส่วนเป็นกำลังสำคัญที่ทำงานงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จ โดยเจ้าภาพในการจัดงานในปีต่อไปคือ มหาวิทยาลัยศิลปากร  

แล้วพบกันใหม่อีกครั้งในงาน ME-NETT2021 โดยในปีต่อไปทาง AppliCAD จะนำเทคโนโลยีอะไรมาอัพเดตนั้น ต้องรอติดตาม!!!

Author Duangporn N.

 


Photo of author
WRITTEN BY

duangporn