Customers Success, Customers Success-Ci, Success - ArchiCAD

เมล็ดพันธุ์ใหม่ ผลสำเร็จของ โปรแกรม ArchiCAD

น้องตั้ม นายปัญญาวัฒน์ ปิยศิริพนธ์
ชนะเลิศอันดับ1การประกวด modular viva house:Conscious Design and Good idea by Viva board แนวคิดในการออกแบบ – จะเป็นการออกแบบเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการนำอัตลักษณ์ของชุมชนในท้องถิ่นมาออกแบบและผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่


น้องโบว์ น.ส.พรพิมล สร้างเขต
รางวัล ชมเชย ในการประกวดประกวดแบบบ้าน “บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ” ในภาคอีสานตอนบน ในหัวข้อ ชื่อ “บ้านนอกเมือง”


น้อง เฟียร์ส นายภัทรพงศ์ แสงสว่าง
รางวัล ชมเชย ในการประกวดประกวดแบบบ้าน “บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ” ในภาคอีสานตอนบน ในหัวข้อ ชื่อ “บ้านนอกเมือง”


น้อง การ์ตูน น.ส. ดวงพร การพิธีี
เข้ารอบชิง 10 คนสุดท้ายในการประกวดประกวดแบบบ้าน “บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ” ในภาคอีสานตอนบน ในหัวข้อ ชื่อ “บ้านนอกเมือง”


น้องนัท น.ส. ณัชชาอร ใจบรรเจิด
เข้ารอบชิง 10 คนสุดท้ายในการ


ประกวดประกวดแบบบ้าน “บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ” ในภาคอีสานตอนบน ในหัวข้อ ชื่อ “บ้านนอกเมือง”

วันนี้เราได้มาจับเข่าพูดคุยกันกับ น้องๆคนเก่งจากมหาวิทยาลัย รังสิต ทั้ง 5 คน ซึ่งถือเป็น เมล็ดพันธ์ใหม่ของวงการสถาปนิก ที่ได้พิสูจน์ฝีมือกันให้เห็นแล้วใน งานประกวดแบบบ้าน “บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ” ในภาคอีสานตอนบน ในหัวข้อ ชื่อ “บ้านนอกเมือง” และงานประกวด modular viva house:Conscious Design and Good idea ซึ่งจัดโดย Viva board ซึ่งเมื่อเห็นผลงานแล้วต้องบอกได้คำเดียวว่า เก่ง จริงๆคะ ไม่น่าเชื่อว่าน้องๆจะออกแบบได้เก่งขนาดนี้

น้องๆได้รางวัลจากการแข่งขันรายการไหนกันบ้างคะ
ตั้มได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ1การประกวด modular viva house :Conscious Design and Good idea จัดโดย Viva board โดยใช้แนวคิดในการออกแบบ เชิงอนุรักษ์โดยเน้นการนำอัตลักษณ์ของชุมชนในท้องถิ่นมาออกแบบและผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โบว์และ เฟียร์ส ได้รับรางวัล ชมเชย ส่วน การ์ตูนและ นัท เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย ในรายการงานประกวดแบบบ้าน “บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ” ในภาคอีสานตอนบน ในหัวข้อ ชื่อ “บ้านนอกเมือง”ซึ่งจัดโดยฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัยการเคหะแห่งชาติ ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันสภาพแวดล้อมพื้นที่ชนบทมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พื้นที่อีสานตอนบนอันประกอบด้วยจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีความืหลากหลายของผู้คน วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้ผู้คนในพื้นที่ชนบทจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ที่แตกต่างจากวิถีชีวิตตามแบบชนบทเดิม ซึ่งรายการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการแข่งขันในระดับบุคคลทั่วไป ซึ่งน้องๆคนเก่งของเราออกแบบได้อย่างมืออาชีพ เทียบกับผู้เข้าแข่งขันที่มีทั้ง สถาปนิก และบุคคลทั่วไปแล้ว

สาเหตุที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้
โดยปกติแล้ว ทางภาควิชาได้จัดสอนการใช้โปรแกรมการออบแบบทางสถาปัตย์อยู่แล้วตั้งแต่ ชั้นปีที่ 1 ดังนั้นพวกเราจึงได้คลุกคลีกับโปรแกรมการออกแบบต่างๆ โดย การแข่งขันในรายการนี้เราใช้โปรแกรม ArchiCAD ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่เราได้เรียนในห้องเรียนกันอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อมีการจัดการประกวด ทางมหาลัยก็สนับสนุนให้เราส่งผลงานเข้าร่วมประกวดด้วย โดยเห็นว่าเป็นการประกวดที่เปิดให้โอกาสเด็กรุ่นใหม่อย่างเราๆได้มีเวทีที่จะแสดงฝีมือและผลงาน

การใช้งานโปรแกรม ArchiCAD เป็นอย่างไรบ้าง
ใช้งานง่ายคะ ตอนแรกๆที่ใช้ก็ยังงงๆอยู่บ้าง แต่พอหลังจากได้คลุกคลีกับโปรแกรมนี้แล้วก็กลายเป็นสนุกกับการใช้โปรแกรมนี้ เพราะนอกจากจะใช้ง่ายแล้ว โปรแกรมนี้ก็ยังช่วยย่นระยะเวลาการออกแบบ ทำให้ใช้เวลาในการออกแบบเพียงไม่นานเมื่อเทียบกับโปรแกรมอื่นๆที่ใช้กัน ทำให้การออกแบบทางสถาปัตย์เป็นเรื่องง่ายสำหรับเราไปเลย

ช่วยเล่าขั้นตอนในการดำเนินการออกแบบสำหรับการแข่งขันนี้หน่อยคะ
เริ่มแรกเลย เราได้รับโจทย์ให้ออกแบบบ้านตามอัตตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ในเขตภาคอีสานตอนบน พวกเราก็ต้องศึกษาถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้นๆ แล้วนำไอเดียวที่ได้นำมาออกแบบโดยยึดวิถีชีวิตของคนพื้นที่นั้นๆเป็นหลัก แม้ว่าจะเป็นวัฒนธรรมที่แตกต่างจากวัฒนธรรมของเรา แต่จากการได้ไปศึกษาชีวิตความเป็นอยู่จริง ทำให้เราเข้าถึงได้ไม่อยาก หลังจากนั้นเราก็นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบในโปรแกรม AchiCAD จนได้แบบบ้านออกมา

เคยเจออุปสรรคในการออกแบบบ้างรึเปล่าคะ
ก็มีบ้างนะคะ อาจจะเป็นเพราะเรายังพึ่งเริ่มศึกษาโปรแกรม ArchiCAD นี้ได้ไม่นานมาก แต่พวกเราเองก็พยายามฝึกฝนอยุ่เสมอ และเราก็มีทีมอาจารย์ที่ปรึกษาที่คอยให้คำปรึกษา และชี้แนะเทคนิคให้เรา ทำให้เราเรียนรู้การใช้โปรแกรมนี้ได้อย่างไม่ยากอะไร

ฝากอะไรให้น้องๆที่สนใจเทคโนโลยีใหม่ๆหน่อยคะ
สำหรับน้องๆที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็อยากให้ลองเข้าไปใช้งานจริง เข้าไปเรียนรู้ เพราะเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบัน ช่วยให้การทำงานของเรานั้นง่ายขึ้น อย่างเช่นการออกแบบที่เราได้ทำนั้น ซึ่งถ้าเป็นการออกแบบเดิม เราอาจจะต้องใช้เวลาที่นานกว่านี้ แต่ด้วยเวลาที่จำกัด เทคโนโลยีก็ช่วยให้เราสะดวกขึ้น คะ

น้องๆคาดหวังในอนาคตอย่างไรกันบ้างคะ
น้องตั้ม :
น้องโบว์ : จบไปทำงานด้านสถาปัตย์คะ
น้องการ์ตูน : ตั้งใจเรียนต่อไป เพื่อให้จบมามีคุณภาพ และได้ทำงานในสายงานสถาปนิกต่อไปคะ
น้องนัท : เป็นสถาปนิกที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตคะ และก็จะพยายามศึกษาหาความรู้ให้มากคะ


Photo of author
WRITTEN BY

supawadee