Customers Success, Customers Success-Ci, Success - ArchiCAD

TADAH COLLABORATION “คิดในมุมมองที่แตกต่าง” กล้าเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่า

TADAH COLLABORATION ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล นำเอาเทคโนโลยีที่ช่วยในการออกแบบด้านออกแบบสถาปัตยกรรมและก่อสร้างมาปรับใช้ในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่ไม่เหมือนใครในการบริหารงานให้เกิดความต่างและเป็นจุดเด่นทำให้ Tadah บริษัทคนรุ่นใหม่ ประสบความสำเร็จและได้รับผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก

คุณพลกฤษณ์ แสงทอง ( Design Partner )

แนะนำบริษัท

ออฟฟิตทำเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมและออกแบบภายใน แนวทางการทำงานของเราเน้นความพิถีพิถันในการทำงาน เราใช้เวลาในการศึกษางานแต่ละโปรเจครวมทั้งพยายามต่อยอดในชิ้นงานเพื่อให้ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ทีมงานเรารับทำทุกสเกล ตั้งแต่ ตึก ออกแบบภายใน เจอร์นิเจอร์ เราดีไซน์เองหมด

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ผมดูเรื่องงานดีไซน์ทั้งหมดครับ ตั้งแต่เริ่มคิดคอนเซฟ จนถึงขบวนการเสร็จสิ้น

รูปแบบการทำงาน

แนวทางแบบเดิมเราคิดคอนเซปก่อนโดยใช้สเก็ตอัพ แล้วคอย Document ด้วย CAD ปัญหาที่เราพบคือ ขั้นตอนที่เราปรับจาก สเก็ตอัพมาเป็น CAD เราต้องทำงานสองรอบทำให้เสียเวลา เราจึงหาแนวทางในการแก้ไข แล้วเราก็พบว่ามีเทคโนโลยีนึงที่เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้คือ BIM

BIM ช่วยตอบโจทย์ในการใช้งานของ TADAH อย่างไร

เนื่องจาก เมื่อก่อนเราใช้โปรแกรม 2D ในการแบบ 2 มิติ เช่น วาด plan วาด section และอื่นๆ พออัพเดท จุดนึง แต่จุดอื่นๆ ไม่อัพเดทตาม ทำให้ต้องมาไล่แก้ทุกจุด แต่พอเป็น BIM การทำงานค่อนข้างแม่นยำกว่า (เพราะ เค้า work ในโมเดล ใน document เป็น plan section เปลี่ยนหมด ) การแก้ไขเพียง 1 จุด ระบบก็แก้ไขให้ทุกจุดโดยอัตโนมัติ และผมขอยกตัวอย่างอีกเรื่องนึงที่อาจจะยังไม่เกิดในเมืองไทย แต่ว่าเกิดขึ้นที่สิงค์โปรคือวิศวกรทั้งหมดใช้ BIM นั่นหมายถึงว่าเค้าสามารถเอา model เราไปแล้วเริ่มจากการใส่ท่อ ใส่โครงเสาจากโมเมลเราเลย ไม่ต้องมาแก้ดูกันว่า ดรออิ้งมันตรงกันไหม แต่ถ้าเคสในเมืองไทยบางทีถ้าวิศวกรเปลี่ยนคานมาหรือเพิ่มท่อมา ถ้าเป็นรูปภาพ 2 มิติ จะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากอาจจะดูครบไม่หมด ในเรื่องของตำแหน่ง ขนาด และอื่นๆ ในโปรเจคของเราเองเรื่องนี้อาจจะไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ผมมองว่าส่วนใหญ่ในไทยวิศวกรยังไม่นิยมใช้ BIM ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้เช่นกัน

ใช้โปรแกรม ArchiCAD ในขั้นตอนใดบ้าง

ตอนนี้เราใช้โปรแกรม ArchiCAD ตั้งแต่ขึ้นแบบตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย โปรแกรมเดียวตอบโจทย์ทุกกระบวนการ ซึ่งถ้าเทียบกับเมื่อก่อนขั้นตอนดีไซน์ วาง lay out เราใช้เวลาในการดีไซน์ประมาณ 2 เดือน แล้วจึงมาถึงขั้นตอนการทำ Document ซึ่งก็เหมือนมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ค่อนข้างกินเวลาในการทำงานและทำงานซ้ำซ้อน

Tadah เปลี่ยนมาใช้ BIM เพราะว่ามองเห็นอะไรใน Software นี้

ผมว่ามันเป็นอนาคตนะ เพราะอันนี้เป็นเครื่องมือที่พัฒนามาแล้ว ผมคิดว่าในการทำงานเราควรที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ ผมเข้าใจว่าการที่เราตัดสินใจจะเปลี่ยนมันอาจจะเป็นช่วงที่ยากสำหรับการเริ่มต้น แต่ว่าพอลองแล้วผมรู้สึกว่ามันไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น การเปลี่ยนในครั้งนี้กลับทำให้การทำงานเร็วขึ้นและเป็นระบบมากขึ้นด้วยซ้ำ

ผมว่าขยับจาก 2D CAD มาเป็น BIM ในส่วนของความรู้สึกของคนทั่วไปเหมือนเค้าต้องเปลี่ยนแนวความคิด เพราะ โปรแกรม 2D เหมือนเราคิดและวาดมือ แต่ BIM อย่างน้อยๆ ความเข้าใจในเรื่องของการก่อสร้างต้องมีบ้างในระดับนึง ต้องนึกภาพออกทั้งภาพ วิธีการคิดมันสลับกัน สำหรับคนที่เคยใช้ 2D CAD ก็อาจจะยากนิดนึง แต่ว่าถ้าคนที่ไม่เคยใช้ 2D CAD มาเลย ผมว่า BIM ง่ายกว่า (ที่ไม่กล้าเปลี่ยนน่าจะเกิดจากความเคยชิน)

ฝากถึงท่านอื่นๆ

สำหรับผมการทดลองอะไรใหม่ๆ ก็เป็นเรื่องนึง แต่ถ้ามองอีกมุมว่าในปี 58 AEC เปิด ผมคิดว่ามาตรฐานของวงการสถาปนิกต้องอัพขึ้นมาในมาตรฐานที่เท่ากัน ซึ่งตอนนี้ที่สิงคโปร์ก็เปลี่ยนมาใช้ BIM กันหมดแล้ว เราก็ต้องส่งเป็น BIM Model บริษัทก็เปิดมาประมาณ 3 ปีแล้ว ช่วงที่เริ่มผมเองก็เพิ่งกลับมาจากสิงค์โปรก็เลยมองเห็นเลยว่าเราต้องเริ่มใช้ BIM เพราะว่าถึงเวลาที่เราเข้าสู่ AEC แล้วเค้าใช้ BIM กันหมด ถ้ากฎมันกลายเป็น BIM แล้วถ้าเราไม่ได้ใช้ เท่ากับว่าเราเสียโอกาส และถ้ามีลูกค้าที่เค้าใช้ แต่ถ้าเราไม่ใช้เราก็เสียเปรียบเจ้าอื่นๆ ที่เค้าพร้อมแล้ว อีกมุมมองนึงผมว่าเราต้องเตรียมตัวในการปรับตัวให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่ AEC


Photo of author
WRITTEN BY

supawadee