Customers Success, Customers Success-Mi, Success - SolidWorks

NSTRU คว้าแชมป์ เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2016 ยกระดับการศึกษาเด็กไทย “เปลี่ยนจากผู้ซ่อมเป็นผู้สร้าง”

NSTRU_02

จะดีแค่ไหนถ้าเยาวชนไทยได้รับการส่งเสริมจากทุกภาคส่วนให้กลายเป็นผู้สร้าง แทนที่จะเป็นแค่เพียงผู้ซ่อมหรือผู้ให้บริการ หลังจากจบการศึกษาหลักสูตรด้านเทคนิคช่างยนต์ ซึ่งการแข่งขันเชลล์อีโค-มาราธอน เอเชีย 2016 ได้เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยที่เรียนมาทางสายนี้สามารถเปลี่ยนบทบาทของตัวเองได้อย่างภาคภูมิ และทุกครั้งที่เยาวชนไทยมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันแสดงฝีมือ ทักษะ ทางด้านวิชาการ เทคโนโลยี เครื่องยนต์กลไก ในระดับโลกหรือภูมิภาคเอเชีย เมื่อจบการแข่งขันก็มักคว้ารางวัลกลับมาเสมอ ซึ่งนั่นหมายถึงศักยภาพของเยาวชนไทยที่ไม่น้อยหน้าไปกว่าชาติใดในโลก

ล่าสุดทีม NSTRU Eco-Racing จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันในการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2016 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ด้วยเชื้อเพลิงแบตเตอรี่ ด้วยระยะทาง  507  กิโลเมตร/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และรางวัลการออกแบบรถยอดเยี่ยมประจำปีนี้  ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับรางวัลประเภทนี้

จุดเริ่มต้นของทีม NSTRU Eco-Racing

ทีม NSTRU Eco-Racing เริ่มรวมทีมสร้างรถกันตั้งแต่ปี 2011 เพื่อเข้าร่วมแข่งขันรายการ World Econo Move GP ณ สนาม พีระเซอร์กิต จ.ชลบุรี เป็นปีแรกที่ได้เข้าร่วมแข่งขันรถประเภท รถไฟฟ้าพลังงานจากแบตเตอรี่ ซึ่งรายการนี้มีจัดแข่งขันเป็นประจำทุกปีที่ประเทศญี่ปุ่น (หลังจากปี 2012 ทางรายการแข่งขันยกเลิกไม่จัดในไทย แต่ยังคงมีแข่งที่ญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้) โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ทำโครงงาน และมีอาจารย์ วิทยา วงษ์กลาง เป็นที่ปรึกษา เริ่มต้นสร้างรถจากโครงสร้างเหล็กและให้บอดี้เป็นไฟเบอร์กลาส เมื่อได้เห็นรถทีมญี่ปุ่นที่ร่วมเข้าแข่งขันทำให้เกิดแรงบัลดาลใจในการสร้างรถให้ได้สถิติที่ดีขึ้นเทียบเท่าญี่ปุ่น

ปี 2012 ทีมเริ่มต้นสร้างรถด้วยวัสดุไฟเบอร์กลาส และสร้างโครงสร้างด้านในด้วยไฟเบอร์กลาส เข้าร่วมแข่งขันรายการ Eco-Challenge Thailand 2012 จบการแข่งขันด้วยรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2

ปี 2013 ทีมตั้งเป้าเข้าร่วมแข่งขันเชลล์ อีคามาราธอน เอเชีย เป็นครั้งแรก ที่จะจัด ณ สนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต แต่ด้วยเหตุการณ์หมอกควันไฟจากอินโดนีเซียทำให้ผู้จัดยกเลิกการแข่งขันในปีนั้น แต่ทีมได้สร้างรถด้วยวัสดุคอมโพสิทคาร์บอนไฟเบอร์ ทั้งตัวรถ และต้นแบบล้อคาร์บอนไฟเบอร์เป็นครั้งแรก และส่งเข้าร่วมแข่งขัน รายการ Eco-Challenge Thailand 2013 จบการแข่งขันด้วยรางวัล ชนะเลิศประเภทรถไฟฟ้าต้นแบบพลังงานแบตเตอรี่

ปี 2014 สร้างรถคันใหม่ด้วยเทคนิคด้านวัสดุวิศวกรรม คอมโพสิต คาร์บอนไฟเบอร์ ทำให้รถมีน้ำหนักเบา โดยตัวรถมีน้ำหนัก 36 กก. ไม่รวมคนขับ เข้าร่วมแข่งขัน Eco-Challenge Thailand 2014 และได้เข้าร่วมแข่งขัน Shell eco-marathon Asia 2014 เป็นปีแรก ณ สนามลูเนต้าพาร์ค ประเทศ ฟิลิปปินส์ จบการแข่งขัน อันดับ 3 ประเภทยานยนต์ต้นแบบ เชื้อเพลิงแบตเตอรี่

ปี 2015  เข้าร่วมแข่งขัน Eco-Challenge Thailand 2015 และได้เข้าร่วมแข่งขัน Shell Eco-Marathon Asia 2015 เป็นครั้งที่สอง ณ สนามลูเนต้าพาร์ค ประเทศ ฟิลิปปินส์ จบการแข่งขันรางวัลชนะเลิศ ประเภทยานยนต์ต้นแบบ เชื้อเพลิงแบตเตอรี่ สถิติ 451.3 km/kWh.

ปี 2016 เข้าร่วมแข่งขัน Shell Eco-Marathon Asia 2016 เป็นครั้งที่สาม ณ สนามลูเนต้าพาร์ค ประเทศ ฟิลิปปินส์ จบการแข่งขันรางวัลชนะเลิศ ประเภทยานยนต์ต้นแบบ เชื้อเพลิงแบทเตอรี่ และรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม (Vehicle Design Award)

ทั้งนี้จุดแข็งของทีม NSTRU Eco-Racing ก็คือ การมีเป้าหมายร่วมกันของสมาชิกในทีมในการสร้างรถที่สามารถวิ่งได้ระยะทางมากที่สุด และใช้พลังงานน้อยที่สุด ตลอดจนการสร้างเครื่องมือและสร้างตัวรถโดยคนในทีมเองด้วยงบประมาณที่จำกัด

การเข้าร่วมแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย (Shell Eco-Marathon Asia)

เชลล์ อีโค- มาราธอน (Shell Eco-Marathon Asia) เป็นเวทีการแข่งขันระดับโลกที่เปิดโอกาสให้เยาวชนอายุตั้งแต่ 16 -28 ปี ร่วมกันออกแบบและสร้างยานพาหนะที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยยานยนต์ที่แล่นได้ไกลที่สุด ใช้ปริมาณเชื้อเพลิงน้อยที่สุด จะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันมีอิสระในการเลือกใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน เบนซิน ดีเซล เอทานอล 100 หรือเชื้อเพลิงชนิด Gas to Liquid (GTL) รวมไปจนถึงการเลือกเครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ระบบไฟฟ้าเช่น ไฮโดรเจน และ แบตเตอรี่ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งทางทีม NSTRU Eco-Racing ได้สมัครเข้าร่วมแข่งขันตั้งแต่ปี 2014- 2016

เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย มีทีมเข้าร่วมแข่งขันจาก เอเชียตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย ทั้งหมด 18 ประเทศ จำนวนทีม 140 ทีม โดยแยกประเภทรถออกเป็น 2 ประเภทคือ Urban และ Prototype สามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้ 7 ชนิด

  1. แกสโซลีน
  2. ดีเซล
  3. GTL
  4. Alternative (Ethanol)
  5. LPG
  6. Hydrogen
  7. Battery

การออกแบบ และการสร้าง SIMPLE

รถที่ทีมสร้างได้ตั้งชื่อตามคอนเซ็ป SIMPLE ยานยนต์ต้นแบบ ประเภทเชื้อเพลิงแบทเตอรี่ (Prototype Battery Electric Category)

S= Safety and Smart

I= Innovations

M= Mechanical technology

P= Power electronic

L=Learn

E= Engineering

เป้าหมายของทีมคือ การสร้างสถิติใหม่ให้กับตัวเองโดยเพิ่มการประกวด Off Track Award และตั้งเป้าเพื่อรับสิทธิเข้าร่วมแข่งขันระดับ World Driver Champion Chip ในปี 2017

ในด้านของกระบวนการทำงานก็เทียบเคียงกับการสร้างรถจริง โดยศึกษากระบวนการผ่านทางสื่อมัลติมีเดีย เช่น YOUTUBE เพื่อให้เห็นกระบวนการ แต่เราต้องนำมาปรับใช้ให้ตรงกับการสร้างรถที่เราออกแบบ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ ภายใต้กติกาเน้นน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงเพียงพอ

ด้านการออกแบบทางทีมใช้ซอฟต์แวร์ SolidWorks เข้ามาช่วยให้การนำโมเดลที่วาดจากคอมพิวเตอร์   Printout ออกมาสำหรับสร้างโมเดล 1 ต่อ 1 เพื่อง่ายต่อการสร้างโมล และการจัดวางตำแหน่งชิ้นส่วนต่างๆ ในพื้นที่จำกัดได้อย่างแม่นยำภายในโปรแกรม สาเหตุที่เราเลือกใช้ซอฟต์แวร์ SolidWorks เพราะเป็นซอฟต์แวร์ออกแบบที่เรียนรู้การใช้งานได้ง่าย มีการใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย และครอบคลุมทุกกระบวนการในการสร้างรถของทีม ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท แอพพลิแคด จำกัด ผู้จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ SolidWorks ด้วย ซึ่งในช่วงแรกๆ การทำงานก็มีอุปสรรคเกิดขึ้นบ้าง เนื่องจากทีมยังไม่สามารถใช้ซอฟต์แวร์ในการออกแบบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยทางทีมติดปัญหาเรื่องภาษาอังกฤษ แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี เพราะมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ

รางวัลที่ได้ จากการแข่งขัน Shell Eco-Marathon Asia 2014-2016

2016: รางวัลชนะเลิศ ประเภทยานยนต์ต้นแบบพลังงานแบตเตอรี่ สถิติ 507 km/kWh,

และรางวัลการออกแบบยานยนต์ยอดเยี่ยม ประเภทยานยนต์ต้นแบบ

2015: รางวัลชนะเลิศ ประเภทยานยนต์ต้นแบบพลังงานแบตเตอรี่ สถิติ 451.3 km/kWh

2014:  สถิติอันดับ 3 ประเถทยานยนต์ต้นแบบพลังงานแบตเตอรี่

คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะ สำหรับเยาวชนไทยที่ต้องการประสบความสำเร็จเหมือนทีม NSTRU Eco-Racing

ขอฝากถึงเยาวชน หรือคนทั่วไปที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่อให้ไปสู่ความสำเร็จ ต้องก้าวให้ทันโลก ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และทุกๆ ฝ่าย  จริงๆ แล้วเยาวชนไทยยังพัฒนาได้อีกมาก ถ้าหากได้รับการสนับสนุน และการผลักดันให้เกิดการแข่งขันในลักษณะ เช่น การแข่งขัน Shell Eco-Marathon ซึ่งมีการแข่งขันทั่วโลกทั้งหมด 3 ภูมิภาค เอเชีย อเมริกา และยุโรป ซึ่งจะช่วยให้สามารถพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรม การสื่อสาร และการมีส่วนร่วมในระดับโลกได้เป็นอย่างดี

รายละเอียดทีม NSTRU Eco-Racing

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

  • นายวิทยา วงษ์กลาง อาจารย์ผู้ควบคุมทีม

NSTRU_05

 

NSTRU_01   SEM2016

NSTRU_02

Team 2016

NSTRU_03

SEM2015

NSTRU_04

Eco-Challenge Thailand

สัมภาษณ์โดย : กองบรรณาธิการ


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ