Customers Success, Customers Success-Ci, Success - ArchiCAD

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ยังจำ “คุณเฉื่อย” จากภาพยนต์เรื่อง “ บุญชู ผู้น่ารัก” ได้รึป่าวคะ

วันนี้ AppliCAD ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ หรือ อธิการเถิน หรือ อาจายร์เถิน ที่เป็นที่รักของน้องๆนักศึกษา คณะสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งวันนี้เราได้รับเกียรติจากรศ.ดร.นฤพนธ์ มาพูดคุยกันคะ


รศ.ดร.นฤพนธ์ นับว่าเป็น คณบดีหนุ่มไฟแรง ของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มีอายุน้อยที่สุด นับแต่ก่อตั้งคณะ นอกจากงานด้านวิชาการแล้ว ท่านยังมีผลงานด้านพิธีกรรายการโทรทัศน์ และงานบันเทิง โดยเป็นที่รู้จักจากบท “คุณเฉื่อย” ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง “บุญชู ผู้น่ารัก” ซึ่งเมื่อได้พูดคุยกับท่านตัวจริงแล้ว ช่างแตกต่างจากบุคลิกในภาพยนต์จากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว โดยวันนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กันนะคะ

AppliCAD : การเรียนการสอนของคณะสถาปัตย์ของมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างไรคะ
รศ.ดร.นฤพนธ์ : ที่คณะสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยรังสิตของเรา เราเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริง เพราะจากการเรียนแค่ทฤษฏีในห้องเรียนเท่านั้นไม่เพียงพอต่อการออกไปสู่โลกของการทำงานจริง ที่เด็กๆเหล่านี้ต้องลงมือออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง โดยทางคณะของเราพลักดันให้นักศึกษาของเราได้มีโอกาศได้แสดงฝีมือในเวทีต่างๆ โดยอย่างที่ผ่านมา เราสนับสนุนให้นักศึกษาของเราส่งผลงานเข้าประกวด ซึ่งผลการประกวดทำให้เราภาคภูมิใจในศักยภาพของนักศึกษาของเราอย่างมาก เพราะสามารถคว้ารางวัล ชนะเลิศอันดับ1การประกวด modular viva house: Conscious Design and Good idea by Viva board และ รางวัล ชมเชย ในการประกวดประกวดแบบบ้าน “บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ” ในภาคอีสานตอนบน ในหัวข้อ ชื่อ “บ้านนอกเมือง” จากเวทีนี้ และนอกจากนี้เรายังนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ นั้นก็คือ BIM Technology มาสอนให้นักศึกษาของเราได้เรียนรู้ และสัมผัสว่าเทคโนโลยีนี้มีประโยชน์ และช่วยในการออกแบบอย่างไร ซึ่งต่อไปนี้โลกการออกแบบจะไม่ได้เป็นเพียงแค่โลก 2 มิติ อีกต่อไปแล้ว และLifestyle การทำงานก็เปลี่ยนไปจากเดิม อีกด้วย


AppliCAD
: BIM Technology ในมุมมองของอาจารย์เป็นอย่างไรคะ
รศ.ดร.นฤพนธ์ : Lifestyle คนเราเปลี่ยนไป ดังนั้นคนเราจึงต้องสรรหาอะไรที่ทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น ช่วยในเรื่องการทำงานของเราให้ง่ายขึ้น อย่างเช่น เทคโนโลยี ที่ช่วยลดทั้งเรื่องเวลา จำนวนคน และกระบวนการ และ BIM Technology ได้ออกแบบมาเพื่องาน Design อย่างแท้จริง เพราะว่ามิติของงานจะสอนตั่งแต่ 2D แบนๆ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่จะเปลี่ยนจากการมอง 3 มิติแต่มหาลัยรังสิตเราไม่ได้มองเพียงแค่นั้น เรามองไปถึง 5 มิติ คือ มิติเรื่องเสียง ที่เพิ่มมา และที่สำคัญคือมิติเรื่องเวลาที่ช่วยลดกระบวนการทำงานให้ง่ายขึ้น ทำให้ลดเวลาการทำงานเราให้สั้นขึ้น เราจึงสามารถใช้เวลากับ life style เราได้มากขึ้น ซึ่ง BIM Technology มาตอบโจทย์นี้ได้อย่างดี ดังนั้นผมมองว่าการที่เราจะพัฒนาการออกแบบ การดีไซด์ เพื่อให้ไปสู่ระดับ International นั้น เราต้องวางรากฐานให้ดีก่อน ทิศทางการเรียนสถาปัตย์ในอนาคต ณ ตอนนี้เป็นจุดเปลี่ยน ของการศึกษาและวงการออกแบบ จากการออกแบบแบบ Manual ที่คุนเคยกับวิธีเดิมอยู่มาเป็นรูปแบบนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น BIM Technology ที่เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพในการดีไซด์ เพิ่มปัจจัยด้านอื่นๆเข้ามาได้มาก โดยลักษณะการทำงานนั้นจะสั้นและกระชับ ดังนั้นถ้าจะสังเกตุเด็กปีหนึ่ง ที่ได้ประกวดโคงการบ้านนอกเมือง ซึ่งเขาไม่ได้ดูแค่เฉพาะบ้านเท่านั้น แต่เค้าต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ เพื่อให้บ้านที่ออกแบบออกมาเป็นอัตลักษณ์ ทั้งดูเรื่องลักษณะของชุมชน รูปแบบ Character ของคนในพื้นที่นั้น พฤติกรรมของคนที่อยู่ในชนบท ตั้งแต่การทานข้าวแบบนั่งเสื่อ ก็ถูกแปลงมาให้เป็นงานดีไซด์ที่เหมาะกับวิถีชีวิต ของคนในชุมชน สิ่งที่เขาทุ่มเทคือเนื้อหาเหล่านี้ แต่เครื่องมือที่ใช้ นั้นคือเทคโนโลยีช่วยให้การผลิตออกมานั้นสั้นลง กระชับ และมีผลออกมาตรงเป้าที่วางไว้ ซึ่ง  BIM Technology สามารถตอบโจทย์ได้ทุกมิติ

 AppliCAD : สาเหตุใดที่เลือก ArchiCAD เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยรังสิต
รศ.ดร.นฤพนธ์ : สาเหตุหลักเลยคือ เราเห็นศักยภาพของการเชื่อมต่อขององค์ความรู้ทุกเรื่อง เพราะถ้าเรามองการการเขียนแบบ คือการทำ Construction การทำ Animation การทำ Presentation สมัยก่อนเวลาอาจารย์ตรวจแบบก็ต้องมาเสียเวลาว่าพื้นตรงกับผนังหรือไม่ แปลนตรงกันทุกด้านหรือไม่ Perspective เป็นอะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ต้องมาสื่อสารกันว่าเสาหายไปไหน นี้เป็นแค่เรื่องของการ Communication พื้นฐานแต่เมื่อเราได้ใช้โปรแกรม ArchiCAD แล้วเราไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาเรานี้เลย เพราะทุกอย่างมันตรงกันหมด แปลนทุกชั้นตรงกันหมด Perspective ทุกสัดส่วนที่ได้มาก็ตรงกัน และเมื่อไรที่เราต้องการที่จะปรับแก้เราสามารถแก้ได้ทันที เพราะในลักษณะของการตรวจแบบนี้ไม่ใช่แบบร่างมันคือแบบจริง และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกับแบบจริง ซึ่งสะท้อนไปสู้Cost และการก่อสร้างจริง ดังนั้นระยะเวลาสมัยก่อนที่มีการเรียนการสอนแบบเดิม เรามีเวลาให้นักศึกษาทำ Presentation 2 สัปดาห์ ซึ่งนักศึกษาต้องอดหลับอดนอน บางครั้งต้องแอบโดดเรียนวิชาอื่นเพื่อนั่งทำ Presentation แต่พอเปลี่ยนมาเป็น ArchiCAD แล้วนักศึกษาก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลา โดยเค้าจะมีเวลาไปเรียนวิชาอื่นๆด้วย และนักศึกษาสามารถออกแบบให้เสร็จภายในห้องเรียนได้ โดยไม่ต้องไปอดหลับอดนอนที่บ้าน ซึ่งผลที่ได้รับออกมา งานดีไซด์นั้นดู Professional ดูแล้วเหมือนผู้ใหญ่ออกแบบ ซึ่งด้วยทักษะรูปแบบเดิม เด็กทำไม่ได้เลยที่เขามีไอเดีย แต่ไม่สามารถแปลงออกมาเป็นงานออกแบบได้ ด้วยทักษะ เครื่องมือ และเส้นสายที่เขาเขียน แต่พอมาเป็น ArchiCAD มันกลับแปลงความคิดของเขาออกมาเป็นรูปธรรมที่เคลียร์ ชัด และน่าสนใจ

การได้มาพูดคุยกับ รศ.ดร.นฤพนธ์ ในครั้งนี้ ได้เปิดโลกทัศน์ของแนวทางการศึกษาสถาปัตย์ ในอีกแง่มุมหนึ่ง โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยี มาใช้ในงานออกแบบ ช่วยให้การออกแบบนั้นง่าย และสดวกมากขึ้น และ BIM Technology เป็นอีกสิ่งที่เราต้องจับตามองให้ดีๆนะคะ


Photo of author
WRITTEN BY

supawadee