Customers Success, Customers Success-Ci, Success - ArchiCAD

D-CEM: ทำงานอย่างเป็นระบบ ด้วยการสร้างมาตรฐาน พร้อมก้าวเข้าสู่ AEC

หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินถึงเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) กันมาบ้างแล้วนะคะ กับเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในการทำงานด้านสถาปัตยกรรมและก่อสร้าง ในบทความนี้ทีมงานได้มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง BIM ที่เรียกได้ว่านำเข้ามาใช้งานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายกันเลยค่ะ รับรองว่าประสบการณ์ที่จะมาแชร์กันในครั้งนี้เป็นเรื่องราวที่ท่านไม่ควรพลาด

ทั้งสองท่านดูแลงานในส่วนใดบ้างค่ะ

อ. สุเมธ: ตำแหน่งของผมดูแลในส่วนของ ArchiCAD โดยตรงใน บริษัท D-CEM ตั้งแต่เวอร์ชั่น 14 จนปัจจุบันที่ใช้เวอร์ชั่น 17 แต่จริงๆ ก่อนหน้านั้นคือได้ใช้ตั้งแต่เวอร์ชั่น 12 ในส่วนของการทำงานจะใช้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจบกระบวนการ ในที่นี้ก็คือเน้นถอดปริมาณงานอย่างเดียว ดังนั้นการทำงานของแต่ละชิ้น แต่ละส่วนต้องวางแผนไว้ตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นการวาง ID แยก layer และกระบวนการคิดคือให้งานออกมาใกล้เคียงกับที่ Design ไว้ให้มากที่สุด

คุณภานุวัฒน์: ผมก็จะดูแลเรื่องสถาปัตยกรรมกับ Symbol ที่เป็น Auto และดูแลเรื่องการจัดหน้ากระดาษ พวก ID , Number ที่มันต้องรันเอง กระทั่งการถอดปริมาณที่เชื่อมโยงกับตัวโมเดลและเชื่อมโยงมายังตารางปริมาณ แล้วก็จะดูแลเรื่องน้ำหนักเส้นให้เป็นมาตรฐานไทย มาตรฐานพื้นหลัง ArchiCAD จะเป็นสีขาวใช่ไหมครับ เราก็จะปรับเป็นพื้นหลังให้เป็นสีดำ และตัวเส้นก็จะเป็นสีมาตรฐานคล้ายๆ AutoCAD ทำให้คนที่เคยใช้ AutoCAD มาก่อนคุ้นเคยกับ ArchiCAD ที่เป็น Background สีดำและสีเส้นที่เป็นมาตรฐาน AutoCAD อีกอย่างก็จะเป็นการดูแลเรื่อง Create 3D Walkthrough ที่เป็นในรูปของ Export 3D ใช้งานผ่าน I-pad หรือ Tablet การ Present ให้กับลูกค้าในกลุ่ม Consult ต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพเสมือนจริงก่อนก่อสร้างจริงให้เห็นปัญหาก่อนที่จะมา Re-Detail Structure ใหม่ ครับ

อยากให้ช่วยเล่าถึงประวัติของบริษัทซักเล็กน้อยค่ะ

คุณภานุวัฒน์: บริษัท D-CEM เป็นบริษัทที่แยกตัวออกมาจากบริษัทเอสพีเค ซึ่งทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกัน เอสพีเคจะทำเกี่ยวกับงานรับเหมาก่อสร้างที่เป็นโครงการใหญ่ๆ เช่น หมู่บ้าน โรงงาน คลังสินค้า คอนโด ถนน รถไฟฟ้า รวมถึงสะพาน ส่วน D-CEM จะคอย Support เรื่องแบบ การเคลียแบบ การตรวจสอบความถูกต้อง การ Combine แบบระหว่างสถาปัตย์กับ โครงสร้าง รวมถึงงานระบบ โดยแบ่งแยกกลุ่มงานตามจุดมุ่งหมาย เช่น New Design ,Combine Drawing ,RE-Detailing Construction, MEP., BOQ., Renovate บริษัท D-CEM เราจะมุ่งเน้นไปที่การนำเอานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการทำแบบแรกๆ เราจะใช้เทคโนโลยี 2D ธรรมดา ในระยะหลังถึงมาใช้เทคโนโลยี BIM เราได้มีการพัฒนา BIM ขึ้นมาด้วยเล็งเห็นว่าเรากำลังจะก้าวเข้าสู่ AEC เราก็เลยต้องพัฒนาบุคลากรและการทำงานในองค์กรให้มันเป็นระบบเดียวกัน คือ BIM นั่นเองครับ คือถ้าเป็นไปได้เราพยายามที่จะใช้ BIM ทั้งหมดเลยเพราะเราไม่ต้องการที่จะข้ามโปรแกรมซึ่งจะมีปัญหาตามมามาก

ก่อนหน้านี้ประสบปัญหาอะไรบ้างค่ะ ถึงเลือกที่จะใช้ BIM

คุณภานุวัฒน์: ก็อย่างเช่น ต้องรีเช็คหลายรอบ เพราะ Drawing แต่ละส่วนมักจะคลาดเคลื่อน มีผลต่อหน้างาน
บางครั้งเขียนรูปด้านเพลินจนลืมแก้ไขแปลนและรูปตัด หรือเขียนอย่างใดอย่างหนึ่งเพลินจนลืมแก้ไขส่วนอื่นๆ ทำให้เสียเวลากลับไปตรวจเช็ค และต้องใช้บุคลากรเยอะในแต่ละกระบวนการครับ

อ. สุเมธ: เมื่อก่อนเราจะใช้แต่ โปรแกรม 2D เป็นหลัก บรรดาหน้าสนามหรือตามออฟฟิศต่างๆ จะใช้ โปรแกรม 2D แต่ก็จะมีข้อเสียคือ แม้แต่การ Combine แบบ คือตั้งแต่แบบสถาปัตย์ แบบโครงสร้างไฟฟ้า ประปา ซึ่งไม่สามารถรู้ได้เลยว่าตรงไหนที่เกิดข้อผิดพลาด คือมันไม่สามารถจะเห็นได้ในมุม 2D แต่ในกรณีของ ArchiCAD มันจะเห็นได้เลยว่าเกิดจากอะไร เกิดจากการดีไซน์แบบ หรือเกิดจากการบอกระยะผิดพลาด หรืองานโครงสร้างมาชนกับงานสถาปัตย์แล้วเจออะไรบ้าง ซึ่งจะเห็นได้ชัดมากกว่าระบบ 2D สามารถย้อนกลับไปที่ฝ่ายออกแบบว่า ดีไซน์ผิดพลาดตรงไหน เราสามารถที่จะแก้ไขก่อนที่จะสร้างงานจริง เราจะเห็นก่อนที่จะเปิดหน้าดินด้วยซ้ำไปในแง่ของการก่อสร้าง

แล้วรู้จักเทคโนโลยี BIM ได้อย่างไรค่ะ

อ. สุเมธ: คือตอนนั้น ผมใช้ AutoCad อยู่เพื่อเตรียมการเรียนการสอน แล้วมีไอคอนอยู่ตัวหนึ่งซึ่งผมไม่เคยเห็น ปรากฏขึ้นบนหน้าเว็บเพจ ซึ่งตอนนั้นก็ไม่ค่อยให้ความใส่ใจเท่าไหร่เพราะเรากำลังสนใจในเรื่องของ 3D Max และ Sketch up และมีลูกศิษย์ขอให้สอน ArchiCAD ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าเขาไปรู้มาจากไหน พอเขาระบุโปรแกรมตัวนี้เราก็ต้องไปค้นคว้า ซึ่งบอกตรงๆ ว่า เจอครั้งแรกแทบจะไปไม่เป็น เนื่องจาก ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ เลยก็คือ โปรแกรม 2D จะเป็นดำ ArchiCAD จะเป็นขาวและเครื่องมือแต่ละชุด ถึงแม้ โปรแกรม 2D เวอร์ชั่นหลังๆ หน้าตาจะไปละม้ายคลึงกับตัวอื่นๆ แต่ของ ArchiCAD จะเป็นเครื่องมือเอกเทศต่างหาก ซึ่งผมมีเวลาแค่สามคืนในการเตรียมการสอนคลาสแรก ถามว่ายากไหม พูดอย่างไม่อายเลยว่า งงมาก แล้วก็พัฒนามาเรื่อยๆ แก้ไขข้อบกพร่อง และก็มารู้จักเว็บไซต์ http://www.archicadthai.com ที่เป็นเหมือนฐานข้อมูลเบื้องต้นและเป็นตัวช่วยในยามฉุกเฉิน ในกรณีที่เราคิดอะไรไม่ออก เราก็สามารถขอความช่วยเหลือจากสมาชิกในเว็บไซต์ได้ ก็ทำให้สามารถผ่านมาได้สำหรับการสอนการใช้งานโปรแกรมดังกล่าวนี้

คุณภานุวัฒน์: เริ่มรู้จัก ArchiCAD ตอนแรกก็เช่นเดียวกับอาจารย์สุเมธนะครับ คือเขียน 2D ขีดเส้นทีละเส้นมาทำรูปด้าน ซึ่งเวลาแก้ไขแต่ละครั้ง ก็ต้องมาเขียนทีละด้าน ก็เลยค้นพบข้อดีของ BIM แต่ตอนนั้นยังไม่รู้จัก ArchiCAD นะ ผมหาวิธีที่จะเอารูปด้านอันนั้นมาใช้ประโยชน์ เช่น ปั้นจากโปรแกรม 2D อื่นๆ แล้วก็ Export รูปด้านแต่ละด้าน ซึ่งเวลาแก้มันก็ต้องทำใหม่เหมือนเดิม ก็ทำมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมารู้จัก ArchiCAD 12 ซึ่งพออ่านคุณสมบัติแล้วก็เลยเกิดไอเดียว่าน่าจะลองใช้ดู ซึ่งพอมาใช้ดูแล้วก็ตอบโจทย์เราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะในด้านการ Drawing เช่น เขียน Plan Elevation Section Detail แบบ Automatic ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ดีมากเลย

อ. สุเมธ: กล้าการันตีเลยว่าในขณะที่เรากำลังเขียนแปลน แล้วขึ้นจากแปลนมาเป็น 3D ตัวของรูปด้านหรือ Section มันจะขึ้นมาให้เป็น Automatic รวมทั้งระบบของตัวอื่นด้วย ตัวโปรแกรมจะเซ็ตเป็น Automatic หมดไม่ว่าจะเป็น Text หรือตัวหนังสือ ซึ่งถ้าถามผมว่าแบบยังต้องมีการแก้ไหม ยอมรับว่าต้องมีการแก้ มันไม่มีทาง Complete ตั้งแต่ครั้งแรกที่คุยหรือนำเสนองานกับลูกค้าแน่ๆ เพราะฉะนั้น สมมุติเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาของ CAD 2D เวลาที่มีการ Re-Drawing หรือแก้แบบคุณจะต้องเริ่มตรวจตั้งแต่ก้าวที่หนึ่งจนครบทั้งโปรเจ็กต์ แต่ของ ArchiCAD ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพ เช่น ประตู ตอนแรกที้เราให้มาคือขนาด 80×2 เมตร ขนาดหน้าบานไม่รวมวงกบ สมมุติว่าลูกค้าไม่เอาตัวนี้ จะขอเปลี่ยนเป็นขนาด 90×2 เป็นบานคู่ ถ้าเป็นโปรแกรม 2D เราจะต้องเขียนใหม่หมด คือเปลี่ยนแค่ในตำแหน่งประตูก็จริง แต่ว่าเวลาเขียนแปลนเสร็จปุ๊บเราจะต้องไปตรวจที่รูปด้านและรูปตัดในกรณีที่เครื่องหมายรูปตัด ตัดผ่าน แต่ ArchiCAD ไม่ต้อง จะเป็นระบบอัตโนมัติเลย ซึ่งผมชอบตรงนี้ มันช่วยประกันความถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอนการเขียนจนประมาณราคา ทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้หมด

ทำไมถึงเปลี่ยนมาใช้ ArchiCAD ล่ะค่ะ

อ. สุเมธ: อาศัยความที่ผมกำลังอินกับ 3D จากที่เมื่อก่อนผมค่อนข้างต่อต้านฝั่ง 3D มาก เนื่องจากมันเห็นทุกอย่างได้ง่ายกว่า 2D แต่ 3D ค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนในโครงสร้าง ดังนั้นคนที่คุ้นเคยกับ 2D จะไม่ค่อยกล้าสัมผัสกับ 3D เท่าไหร่ เพราะรู้สึกว่ายาก แต่เมื่อลองสัมผัสจริงๆ แล้ว คือตัวแรกที่ผมได้ลองใช้คือ ArchiCAD 12 ก่อนหน้านี้ก็เคยลอง โปรแกรม 3D อื่นๆ ซึ่งจุดอ่อนของ โปรแกรม 3D อื่นๆ ก่อนการ Render อยู่ที่เรื่องของแสง แต่ ArchiCAD ไม่มีปัญหาเลย คือแค่จับ Object มาวางทุกอย่างก็ดูเสมือนจริง แก้ปัญหาเรื่องแสง หรือเงาสะท้อนเวลาการทำเรนเดอร์

แล้วชอบ ArchiCAD ตรงไหน

คุณภานุวัฒน์: ผมตั้งสโลแกนสั้นๆว่า “ตั้งเป้ากับ ArchiCAD เร้าใจกับผลลัพท์” สรุปสั้นๆ ว่าใช้แล้วหลงรักเลยครับ เพราะมันตอบโจทย์เราได้ทุกอย่างจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการ Import ที่รองรับได้ทุกไฟล์ สามารถจบได้ในโปรแกรมเดียว ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ Site ,วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอย, จัด Zoning,ออกแบบ, เขียนแบบ (ออกแบบเบื้องต้น,สถาปัตยกรรม,โครงสร้าง,งานระบบ),ถอดปริมาณ และสามารถประสานงานได้อย่างรวดเร็วด้วยการ Export เป็นไฟล์ต่างๆ สรุปง่ายๆ ว่า BIM คือ File กลางของ File ทุกชนิด (All File) ก่อประโยชน์ทั้งผู้ทำและผู้รับ

อ. สุเมธ: เท่าที่ผมได้สัมผัส ArchiCAD มา ในส่วนของ 2D จะดึงเอาคุณสมบัติที่ดีของ โปรแกรม CAD 2D มาใช้ ส่วนในแง่ของการปั้นโมเดล อย่าง โปรแกรม 3D อื่นๆ ก็ทำได้ง่ายๆ และทำได้ดีกว่า แล้วความถูกต้องก็จะแม่นยำกว่า อย่างปัญหาเรื่องแสงหรือการเรนเดอร์อย่างที่ผมบอกไปแล้ว ArchiCAD ก็ดึงเอาข้อดีจากจุดเด่นของโปรแกรม 3D อื่นๆ มาใช้ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมเสริม
แล้วมันช่วยยังไงบ้างค่ะ ในการนำเสนองานกับลูกค้า

มันเห็นชัดกว่าและแก้ปัญหาจุดบอด เช่นเรื่องการแก้แบบอย่างที่บอกไป ไม่ต้องกลัวความล่าช้าที่เกิดจากการแก้แบบ สามารถทำได้ทันได้ตาม Schedule หรือการขึ้นแบบจากโปรแกรม 2D ได้โดยการ Import เข้ามาโดยตรง เราไม่จำเป็นจะต้องไปเซ็ตการเขียนแปลนใหม่ แค่ Import และดึงโมเดลขึ้นมา

ทำไมถึงเลือกใช้บริการของแอพลิแคด

คุณภานุวัฒน์: ประทับใจบริการหลังการขาย ที่ตอบคำถามเราได้ทุกคำถาม ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหน ไม่ว่าจะเป็นการโทรไปหรือถามผ่านเว็บไซต์ แล้วก็จะมีบริการซัพพอร์ตถึงที่ เรื่องที่มีการไปโรดโชว์ตามภูมิภาคหรือสถาบันการศึกษาต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี เด็กจะได้มีพื้นฐานในการใช้งานด้วยครับ

จะแนะนำคนที่ยังไม่เคยสัมผัสกับระบบ 3D และ BIM ยังไงค่ะ

อ. สุเมธ: ในแวดสถาปนิกและในส่วนของลูกศิษย์ที่ผมสอน แทบจะ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่รู้จัก BIM และประโยชน์ของมันว่าสามารถนำมา Combine เพื่อแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง คืออยากลองให้ใช้ดู อย่างน้อยๆ สักหนึ่งโปรเจ็กต์ ลองทำตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้าย เท่าที่จะทำได้ แล้วจะเห็นว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร ขอบอกตรงๆ ว่าคุณจะต้องชอบ เป็นโปรแกรมที่จบในตัวเอง แทบจะไม่ต้องใช้ Plug in เสริม มันจะมีลูกเล่นใหม่ๆ ที่เราศึกษาได้ไม่จบแต่ทำให้เราชอบได้มากกว่า

คุณภานุวัฒน์: สำหรับคนที่ใช้ ArchiCAD แรกๆ แบบผมเนี่ย อยากจะให้อยู่กับมันนานๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับโปรแกรมและคำสั่งที่มันแตกต่างไปจากโปรแกรมอื่นๆ ต้องใช้เวลานานขนาดไหน ประสบการณ์ของผมคือ 6 เดือนผสมกับการใช้โปรแกรมอื่นๆครับ รู้สึกว่ามันง่ายและให้ความต้องการที่เราเคยต้องการแต่ไม่มีในโปรแกรมอื่นๆ เช่นการคุมปริมาณของวัสดุไม่ให้มากหรือน้อยตามโจทย์ การวางแผนการใช้วัสดุก่อนลงมือเขียนแบบ และผมได้ซึมซาบไปกับมันแบบใช้แล้วต้องใช้ตลอดครับ

การใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการทำงาน มีข้อดียังไงบ้างค่ะ

คุณภานุวัฒน์: ถ้าพูดถึงเรื่องของเทคโนโลยี ถ้าเราไม่เข้าถึงมันก็เหมือนเราอยู่ในยุคโบราณ ถ้าหากเราเริ่มเร็วเท่าไหร่ เราก็ก้าวเร็วขึ้นเท่านั้นครับ

อ. สุเมธ: เช่น BIM ถ้าเราเริ่มช้ากว่านี้ ก็อาจไม่ทันการณ์ อย่างเวอร์ชั่นใหม่ๆ ก็ยิ่งมีเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขจุดบกพร่องในเวอร์ชั่นเก่าๆ


Photo of author
WRITTEN BY

supawadee