Article - SolidWorks, Articles

ปัจจัยการแข่งขันในอุตสาหกรรม

ผู้ ผลิตต้องมีความสามารถด้านนวัตกรรม ในการสร้างสรรค์สินค้าใหม่มาเสนอผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่สั้น ในขณะเดียวกันต้องสามารถปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงการผลิตได้ตามสภาพแวดล้อมได้ ง่ายและรวดเร็ว

 ปัจจัยกระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรม
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรนิกส์และสารสนเทศ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมทั้งในด้านบวกและด้านลบ ซึ่งจำเป็นต้องปรับให้เกิดความสมดุลและเหมาะสม ทุกประเทศมุ่งสร้างความอยู่ดีกินดีของประชาชนภายในประเทศด้วยการพัฒนา อุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้นตามมา ปัจจัยที่กระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลาย ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ผู้ผลิตตอบสนองให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิงค้าอุปโภคบริโภคซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ โรงงานในรูปของปัจจัยภายในหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ รูปแบบสินค้า ระยะเวลาการผลิตหรือส่งมอบและความสามารถปรับการผลิต ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงงานที่โรงงานไม่สามารถเข้าไปจัดการได้โดยตรง ได้แก่ ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ความต้องการด้านคุณภาพ การขยายตัวของตลาด แรงงานฝีมือ ค่าจ้างและสวัสดิการของแรงงาน

กลุยทธ์การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

ปัจจัยกระทบ ดังกล่างข้างต้นส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่องด้วย มาตราการต่างๆเพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านั้นให้น้อยลง มาตากรที่โรงงานในประเทศอุตสาหกรรมนำมาใช้จะเน้นไปในด้านการใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือหลักโดยกลยุทธ์ที่มักจะใช้ได้แก่

  • การใช้เครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงในการผลิต
  • การให้เครื่องจักรกลทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • การใช้เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติ
  • การจัดระบบการผลิตที่คล่องตัวสูงและสูญเสียต่ำ

ส่วนมาตรการหรือกิจกรรมในการดำเนินงานประกอบด้วยปัจจัยด้านต่างๆที่มีผลกระทบต่อระบบการทำงาน

ผลิตภาพ โดยเน้นในด้านระยะเวลาในการผลิตและค่าใช่จ่ายหรือต้นทุนการผลิต “ตอบสนองลูกค้าเร็ว ราคาเหมาะสม”

ความสามารถปรับตัว ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือลักษณะสินค้าปรับเปลี่ยนโปรแกรมการผลิต ได้สะดวกและรวดเร็ว “หลากหลายและคล่องตัว”

คุณภาพ ต้องเป็นไปตามความต้องการของตลาดโดยต้องสม่ำเสมอและเป็นที่ยอมรับ

สิ่งแวดล้อม การผลิตของโรงงานต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบ จัดเตรียมไว้อย่างเมาะสมทั้งในเชิงปริมาณและราคา

โลจิสติกส์ ครอบคลุมทั้งการขนส่งภายนอก และการขนส่งภายในโรงงาน

นวัตกรรม สามารถพัฒนาสินค้าและกระบวนการผลิตของตนเองได้

ทรัพยากรมนุษย์ มีคุณภาพและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการผลิต
เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจากองค์ประกอบหลาย ประการด้วยกัน โดยเริ่มต้นมาจากการพัฒนาด้านวัสดุศาสตร์ที่ทำให้เกิดวัสดุใหม่มากมายทั้ง โลหะประสม โลหะเบา เซรามิก ซึ่งผลักดันให้เกิดกรรมวิธีการผลิตใหม่ เช่น ตัดด้วยลำแสงเลเซอร์ พลาสม่า การเคลือบผิว และเครื่องจักรกลสมัยใหม่ ที่สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วตัดสูง ความละเอียดสูง องค์ประกอบทั้งสามจะให้ผลอย่างเต็มที่ได้นั้น โรงงานจะต้องปรับระบบการผลิตใหม่ ให้สัมพันธ์กันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมยานยนต์มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการ ผลิตค่อนข้างมากการเปลี่ยนแปลงโฉมรถรุ่นใหม่ทุกครั้งต้องอาศัยแม่พิพม์ในการ ขึ้นรูปทั้งตัวถังด้านนอก ช่วงล่าง ซึ่งต้องใช้แม่พิพม์จำนวนมาก การลดเวลาในการผลิตแม่พิพม์จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถนำรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด ได้เร็วขึ้น เป็นการสร้างความได้เปรียบให้กับตนเองในหารตอบสนองตลาดได้เร็วขึ้น และยังลดต้นทุนค่าแรงในการผลิตลงได้อีกด้วย

เทคโนโลยีอัตโนมัติ
การรักษาไว้ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดเสรีปัจจุบัน ต้องอาศัยการทำงานแบบเครือข่าย(Networking) อยู่ในรุปของการผลิตที่สมบูรณ์ ประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนต่อชิ้นต่ำสุด

 

ซึ่งจะสามารถทำได้เมื่อกระบวนการผลิตและประกอบเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตอื่นๆทั้งหมดด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งของบริษัททั่วโลกที่จัดการแบบอัตโนมัต (Automated Global Company) การลดค่าใช้จ่ายการผลิตต่อชิ้นลงจะเป็นไปได้เมื่ออาศัยการประกอบแบบ อัตโนมัติทั้งหมดหรือไปผลิตในประเทศจีน การประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัสดุเป็นผลที่ได้รับจากการใช้ประโยชน์อย่างมี ประสิทธิภาพ ภายใต้อานิสงส์ของการจัดการในห่วงโซ่คุณค่า (Value Added Chain)

กับลำดับขั้นตอนการผลิตที่กระจายไปทั่วโลก การบริหารหารผลิตในปัจจุบันจะมองโรรงานเหมือนเป็นเพียงเครื่องจักรในพื้นที่ หนึ่งเท่านั้น โดยมีการควบคุมแบบอัตโนมัติและอาศัยการบริการด้านโลจิสติกส์ในการขนส่ง ระหว่างโรงงานแบบอัตโนมัติ ให้เป็นสายการผลิตทั่วโลก (Global Manufacturing Line) การเชื่อมโยงโรงงานผลิตที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกันให้เป็น บริษัทอัตโนมัติ (Company Automation) ต้องอาศัยการจัดการทั้งโรงงานในพื้นที่และทั่วโลกด้วยระบบ IT และ ERP ที่สมบูรณ์

ซึ่งยังมีปัญหาด้านมาตรฐานในระบบเชื่อมต่อของผู้ผลิตแต่ละราย แนวโน้มปัญหาการเชื่อมต่ออุปรกณ์และข้อมูลในระบบสารสนเทศจะได้รับการแก้ไข ให้น้อยลง โดยเทคโนโลยี Ethernet และ Web จะเป็นส่วนสำคัญของการรวมระบบต่างๆของอุปกรณ์อัตโนมัติเข้าด้วยกัน รอบเวลา (Cycle Time) และผลผลิต (Machine Output) มีความสัมคัญน้อยลง หากใช้และบูรณาการเทคโนโลยีการควบคุมสมัยใหม่ ซึ่งสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างชัดเจนกว่าทั้งในด้าน สมรรถนะและการทำงาน โดยสามารถเชื่อมต่อุปกรณ์แลเครื่องจักรอัตโนมัติเข้าไปในระบบควบคุมของโรง งานได้อย่างสะดวกตลอดเวลา

ที่มาของข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.bollhoff.com/en/in/joining_together/core_competencies.php
http://r64.wikidot.com/scribe-book-5-part-1
http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=print&article_id=806
http://www.eng.mut.ac.th/mechatronics/Highlight_detail.asp?NewsID=43


Photo of author
WRITTEN BY

admin