Articles

ทำอย่างไรไม่ให้โดนจับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ตีแผ่กระบวนการจับซอฟต์แวร์เถื่อน เพื่อเตรียมรับมือ

โดนจับลิขสิทธิ์ AutoCAD

ทำอย่างไรล่ะไม่ให้ โดนจับลิขสิทธิ์ AutoCAD, SOLIDWORKS หรือซอฟต์แวร์อื่นๆ ??

เชื่อว่าหลายท่านต้องเคยพบหรือเคยได้ยินปัญหา โดนจับลิขสิทธิ์ AutoCAD หรือซอฟต์แวร์อื่นๆ  แต่อาจจะยังไม่มีแนวทาง หรือประสบการณ์ในการรับมือ และแก้ไข บทความนี้ได้รวบรวมข้อสงสัย และแนวทางการปฏิบัติว่าควรทำอย่างไร โดยรวบรวม 5 ข้อควรรู้เรื่องซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ให้เข้าใจง่ายๆ อ่านบทความ ข้อควรระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

5 ข้อควรรู้เรื่องซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ (AutoCAD เถื่อน, SOLIDWORKS เถื่อน)

1. กระบวนการตรวจสอบซอฟต์แวร์เถื่อน
แบบปกติ

จะส่งจดหมายเพื่อให้นำส่งเอกสารหลักฐานการสั่งซื้อ หรือการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซอฟต์แวร์ อย่างเช่น ถ้ามีการ โดนจับลิขสิทธิ์ AutoCAD , SOLIDWORKS ถ้าชี้แจงไม่ได้ หรือมีไม่ครบ ทางบริษัทที่ได้รับจดหมายมักรีบดำเนินการสั่งซื้อให้ถูกต้อง

โดน Lock เป้า

มีคนแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์พร้อมหลักฐานที่เชื่อได้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์จริง

เมื่อตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น สำนักกฏหมาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขอเข้าตรวจค้นพร้อมหมายศาลแล้ว เราจะไม่สามารถเคลื่อนย้าย ทำลาย คอมพิวเตอร์ได้

โดนจับลิขสิทธิ์ AutoCAD : กระบวนการตรวจสอบซอฟต์แวร์เถื่อน

การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
  1. ตรวจสอบการติดตั้งซอฟต์แวร์ในเครื่อง กี่ซอฟต์แวร์ กี่รุ่น กี่ปี (บางเครื่องซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกัน แต่ติดตั้งหลายรุ่น) รวมถึง File งาน ที่อยู่ในเครื่องด้วย เจ้าหน้าที่จะสามารถสืบทราบได้ว่า File ถูกสร้างขึ้น จาก Software ใด พร้อมเป็นหลักฐานในการก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีผลกับการประเมิน ค่าปรับต่อไป
  2. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบ และติด Sticker ไล่ไปทีละเครื่องจนครบทุกเครื่อง
  3. ทำบันทึกการตรวจสอบ และให้ลงลายมือชื่อ (ผู้ที่มีอำนาจขององค์กรนั้นๆ)
  4. หลังจากนั้นทางเจ้าหน้าที่จะทำหนังสือแจ้งมูลค่าความเสียหายทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย

– ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการละเมิดลิขสิทธิ์

– ค่าดำเนินการทางกฏหมาย (ประมาณ 300,000)

– ค่าใช้จ่ายในการขอเข้าตรวจสอบอีกครั้ง ภายในสองปี (ประมาณ 20,000 – 40,000 ต่อครั้ง)

– ค่าใช้จ่ายในการลงประกาศหนังสือพิมพ์ภาษาไทย และภาษอังกฤษ เพื่อสนับสนุนให้ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ (ประมาณ 200,000 บาท)

 โดนจับลิขสิทธิ์ AutoCAD : การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ช่องทางที่ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์เค้าสามารถสืบรู้ได้ มีดังนี้

1. เจ้าของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสามารถพัฒนาระบบบางอย่างไว้ในซอฟต์แวร์ เพื่อทำให้ทราบข้อมูลการใช้งาน

2. ข้อมูลของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ซอฟต์แวร์ แต่ไม่มีประวัติการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เลยเป็นเบาะแสที่ชัดเจน

3. คนภายในที่ทราบข้อมูล และแจ้งไปทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหวังรางวัลนำจับ

หากเราสังเกตุช่วงที่ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ จะมี License Agreement ให้ได้อ่านก่อนการติดตั้ง ซึ่งโดยทั่วไปเราจะแค่กด Accept หรือ OK แล้วข้ามไปเลย เพื่อให้สามารถติดตั้งได้สำเร็จ อีกทั้งข้อความเป็นภาษาอังกฤษ และยังมีศัพท์เฉพาะทางที่แปลยาก ซึ่งในจุดนี้ คือ ข้อตกลงในการให้ใช้ลิขสิทธิ์

กรณีตัวอย่างที่มักพบการละเมิดการใช้งาน

ตัวอย่างแรก ซื้อ 1 เครื่องเพื่อกันเหนียว แต่สามารถใช้มากกว่านั้นได้ไหม ซึ่งเกือบทุกๆ ซอฟต์แวร์เป็นเหมือนกันหมด คือซื้อ 1 License มีสิทธิ์ใช้ได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น จะมีกรณีคาบเกี่ยวก็คือเราต้องการจะย้ายเครื่อง หรือกรณีที่เครื่องเสียต้องการเปลี่ยนเครื่องใหม่ (Transfer License)

ตัวอย่างที่สอง ใช้ระบบ Thin Client ลงซอฟต์แวร์เพียง 1 License ที่เครื่องหลัก (Host PC) แต่ติดตั้งเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยให้สามารถใช้งานได้หลายๆ คน ถ้าพูดถึงกรณีนี้ก็ค่อนข้างคลุมเครือ แต่ก็ถือว่าผิดข้อตกลง

โดนจับลิขสิทธิ์ AutoCAD : ใช้ระบบ Thin Client ลงซอฟต์แวร์เพียง 1 License

ตัวอย่างที่สาม ซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ ซึ่งประเทศผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น ประเทศอเมริการาคาซอฟต์แวร์จะถูกกว่า ในเงื่อนไขระบุไว้ว่าต้องลงทุนในพื้นที่ที่อยู่ในประเทศนั้นๆ ในกรณีที่ซื้อจากต่างประเทศมาใช้เมืองไทยก็จะเป็นแบบ Global License ราคาจะแพงกว่า (ราคาเป็น 2 เท่า โดยประมาณ)

สิ่งสำคัญเรื่องหนึ่งที่เราควรพิจารณา คือ เมื่อเราซื้อกับตัวแทนจำหน่ายในประเทศ ก็จะได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ (Technical Support), มีการอบรม และบริการหลังการขาย ซึ่งคุ้มกว่า

 

2. ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยหรือข้ออ้าง เมื่อถูกตรวจสอบการละเมิดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์

1.บริษัทเราเล็กหรืออยู่ห่างไกลคงไม่โดนหรอก

2.ซอฟต์แวร์ของแท้ราคาแพงบริษัทผมเล็กแค่นี้จะเอาเงินที่ไหนไปซื้อ

3.ไม่รู้ ตอนซื้อคอมพิวเตอร์มาทางร้านก็ลงมาให้แบบนี้เลย

4.พนักงานหามาลงเองตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้อย่างนี้บริษัทผิดด้วยหรือ

5.พนักงานใช้เครื่องส่วนตัวบริษัทต้องรับผิดชอบด้วยหรือ

6.ใช้ของถูกลิขสิทธิ์มี SN (Serial Number) ถูกต้องแต่ใช้ผิดประเภทก็ถือว่าผิดด้วยหรือ

7.ซอฟต์แวร์ก็แพงทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูง ผมจะไปแข่งกับคนอื่นได้อย่างไร

 

3. ช่องโหว่ของการละเมิดลิขสิทธิ์

1.ไม่มีเจ้าหน้าที่ IT ประจำบริษัท ผู้ใช้งานติดตั้งซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง

2.ไม่มีระบบบริหารจัดการควบคุมทางด้าน IT เช่น การควบคุมการเข้าถึง Internet หรือจำกัดสิทธิ์การติดตั้งซอฟต์แวร์

3.ไม่มีความรู้ หรือไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบการติดตั้งซอฟต์แวร์ภายในเครื่อง ถึงแม้จะ Uninstall ไปแล้ว

4.ขาดกระบวนการตรวจสอบการติดตั้งซอฟต์แวร์อย่างเป็นระบบ และสม่ำเสมอ

5.ไม่อ่านข้อตกลงการใช้งาน (EULA) ของซอฟต์แวร์ที่สั่งซื้ออย่างละเอียด

 

4. โดนจดหมายเตือนมาจะรับมืออย่างไร

1. สำรวจเขา หมายถึง สำรวจแหล่งที่มาของจดหมาย E-mail หรือการโทรเข้ามา

1.1 เป็น BSA จริงหรือไม่
1.2 มีข้อมูลติดต่อกลับที่ครบถ้วนน่าเชื่อถือหรือไม่

2. สำรวจเรา ให้สำรวจไปทีละข้อดังนี้

2.1 หาเอกสารหลักฐานการสั่งซื้อ Invoice Certificate SN
2.2 มีติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่
2.3 นำคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในบริษัทมาตรวจสอบ ถ้ามีติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ให้ทำดังนี้

> Backup ข้อมูลงานทั้งหมด
> เช็คความจำเป็น หากมีความจำเป็นควรตั้งงบประมาณในการสั่งซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ทันที

เวลาเขาส่งจดหมายมาถือว่ามีความผิดหรือยัง เขาจะมาตรวจจริงหรือเปล่า เราควรจะตอบจดหมายเขาหรือไม่ ??

จดหมายเตือน ถ้าได้รับควรระวังไว้ได้เลยเพราะเค้าต้องมีหลักฐานมากพอที่จะเอาผิดเราได้ ถ้าถามว่าผิดหรือยัง หลักฐานสามารถนำไปสู่กระบวนการได้ถือว่าเป็นเบาะแสที่มีน้ำหนัก แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการในการเจรจา โดยมีข้อสรุปคร่าวๆ ดังนี้

  • Verified เข้าไปตรวจสอบข้อมูลภายใน ว่าเป็นแบบที่เค้ากล่าวอ้างไว้หรือไม่
  • Settlement เป็นการตกลงกัน จากความผิดในอดีตเราอาจจะใช้ของเค้ามา 3 ปี หรือ 5 ปี ซึ่งในขณะนั้นเราได้รับเพียงแค่จดหมายเตือนยังไม่ได้เข้ามาตรวจจับ ดังนั้นเราสามารถตกลงเพื่อขอซื้อแบบถูกต้อง หรือตามกระบวนการของแต่ละสถานการณ์ สำคัญที่สุด คือการปฏิบัติตามข้อที่ตกลงกันไว้ ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นมาตรการจะรุนแรงมากขึ้นไปอีก

 

ถ้าตำรวจเข้ามาตรวจแล้วเราทำอะไรได้บ้าง ??

ในกรณีที่เข้ามาพร้อมตำรวจ คือต้องมีหลักฐานพอสมควร แม้แต่กระทั่ง Layout ของบริษัทฯ ขออนุญาตแชร์เคสที่ทางผู้ประกอบการเองพยายามทำลายหลักฐานด้วยการเอาน้ำหยอดเครื่องบ้าง ทำลายคอมพิวเตอร์หน้างานบ้าง ซึ่งก็อาจจะสามารถรอดไปได้แค่เฉพาะหน้า แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงมากเช่นกัน เพราะก็ยังมีหลักฐานอื่นๆ เช่น ไฟล์งาน ที่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้  มีหลายเคสที่บางองค์กรแก้ไขสถานการณ์ด้วยการแอบอ้างว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของพนักงาน ถ้าพนักงานทำงานให้กับองค์กรมูลค่าที่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นเพื่อองค์กร ไฟล์งานที่เกิดขึ้นก็เพื่อสร้างรายได้ให้องค์กร ในทางกฎหมายก็ยังมีผลต่อองค์กรอยู่ดี ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและคู่แข่งที่ทราบข่าว

ถ้าตรวจเจอแล้ว จะโดนค่าอะไรบ้าง แล้วจะต่อรองอะไรได้บ้าง??

ทีมงานที่เข้ามาตรวจสอบจะระบุว่าพบอะไรที่ผิดลิขสิทธิ์ ทำเป็น Report ให้ผู้ที่มีอำนาจเซ็นต์ อาทิ เจ้าของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้น ในส่วนนี้จะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการยอมรับความผิดได้

ค่าเสียหายเค้าจะประเมินว่าเราจะก่อให้เกิดรายได้จากสินทรัพย์ คือ License ของเจ้าของลิขสิทธิ์จำนวนเท่าไหร่ เช่น ใช้มา 10 ปี แล้ว มีไฟล์เก่าๆ เค้าก็จะไปย้อนดูเพื่อประเมินค่าปรับ ตั้งแต่หลักฐานในอดีตจนถึงปัจจุบัน หน่วยงานจะเรียกร้องให้ลงทุนตามการใช้งาน ต้องมี License ที่ถูกลิขสิทธิ์ตามที่ทางหน่วยงานตรวจสอบพบ ในช่วงนี้ยังสามารถเจรจาได้ ในกรณีที่เราไม่ได้ใช้จริงๆ เช่น ไปซื้อคอมมาจากที่แหล่งขาย ซอฟต์แวร์นี้เค้าลงมาให้อยู่แล้ว เราไม่ได้มีเจตนาจะใช้ และถ้าเกิดในเครื่องนั้นไม่มีไฟล์จริงๆ ไม่เคยเปิดใช้ สิ่งที่เค้าตรวจเจอก็อาจจะไม่เป็นผล และจะมีค่าใช้จ่ายหลังจากที่ถูกดำเนินการแล้ว หน่วยงานจะส่งทีมงานเข้ามาตรวจสอบขึ้นอยู่กับข้อตกลงว่าทุกๆ 2 หรือ 3 เดือน ในแต่ละครั้งก็จะมีค่าใช้จ่าย 3-4 หมื่นบาท ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ สิ่งที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (“พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์”) โดยจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม (Literary Work)

ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ กำหนดว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือให้ได้ผลอย่างหนึ่งอย่างใด ในกรณีที่บุคคลใด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท

และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้า จะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้หากผู้ใดรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น แต่ยังนำไปขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นำเข้าหรือสั่งเข้ามาในประเทศไทย เพื่อหากำไร ก็มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท  และหากเป็นการทำเพื่อการค้าผู้นั้นจะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกเหนือจากการแก้ไขบรรเทาความเสียหายในคดีอาญาแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ภายใต้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์หากศาลพบว่ามีการกระทำความผิดจริงอาจมีคำห้ามมิให้กระทำละเมิดอีกต่อไป และมีคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอันเนื่องจากการละเมิดดังกล่าว

 

5. วิธีการควบคุมและแก้ไข

1.มีเจ้าหน้าที่ IT ที่ดูแลโดยตรง

2.ร่างระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อลดช่องโหว่ของการละเมิดลิขสิทธิ์

2.1 การตั้งค่าควมคุมการเข้าถึง Internet

2.2 การควบคุมสิทธิ์ในการติดตั้งซอฟต์แวร์

2.3 กำหนดรอบระยะเวลาการตรวจสอบคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

3.ร่าง และ ประกาศ ให้พนักงานทุกคนรับทราบ เป็นลายลักษณ์อักษรถึงการห้ามติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ และโทษของการละเมิดที่มีผลต่อตัวพนักงาน

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หวังว่าจะช่วยไขข้อสงสัยและพอเป็นแนวทางให้กับทุกท่านได้ โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์นอกจากจะถูกปรับแล้ว ยังต้องถูกตรวจสอบระยะยาวอีก เสียทั้งเงิน ทั้งเวลา ที่สำคัญอาจเสียไปถึงชื่อเสียงและเครดิต หากคู่แข่งหรือลูกค้าทราบว่าบริษัทของคุณใช้ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์ และในปัจจุบันนี้ก็มีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบเคร่งขัดมากขึ้น แถมรางวัลนำจับก็มูลค่าไม่น้อย เรียกได้ว่าไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง

หากท่านใดต้องการคำแนะนำเกี่ยบกับซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ด้านการออกแบบ สามารถติดต่อสอบถามทาง แอพพลิแคด ทีมงานยินดีที่จะให้คำปรึกษาและดูแลคุณ สามารถติดต่อกลับมาได้ที่อีเมล [email protected] หรือ โทร 095-365-6871

ข้อมูลและรูปภาพ: กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์(BSA), กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ(บก.ปอศ.), MeriTalk, Bennett Office Technologies, roodwitgroesbeek.nl, CAT cyfence, SD Times, Hidden Treasure

สาระน่ารู้อื่นๆ 

โดน{แจ้งเตือน}ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ควรทำอย่างไร

ซื้อขาดถูกกว่าเช่าใช้ GstarCAD CAD ลิขสิทธิ์ ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ CAD

AutoCAD กับ SOLIDWORKS โปรแกรม CAD ไหนที่ใช่ และเหมาะกับงานคุณที่สุด

How to : เรียนออนไลน์ SOLIDWORKS ฟรี!! วิธีการเขียนแบบ 3 มิติ เบื้องต้น สอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ