Articles

ซื้อซอฟต์แวร์ใช้ปีนี้ ลดภาษีได้ทันที 200%

TAX200

ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 กำหนดหลักเกณฑ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุน หรือการต่อเติมเปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทําให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ แต่ต้องไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5)  แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจํานวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายตามจํานวนที่จ่ายจริง ผู้ประกอบการทั้งหลายที่ทราบข่าวคราวนี้คงเตรียมการวางแผนการลงทุนกันอย่างคึกคักเพื่อให้สามารถรับเอาสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปใช้ได้อย่างเต็มที่

ลงทุนในทรัพย์สินใดจึงจะได้รับประโยชน์

ทรัพย์สินที่ท่านผู้ประกอบการทั้งหลายลงทุนแล้วจึงจะได้รับประโยชน์ต้องเป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้

  1. เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์
  2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  3. ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่มิใช่ได้มาเพื่อนําออกให้เช่า
  4. อาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย

ในกรณีของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ กฎหมายมิได้เขียนข้อจำกัดใดๆ หรือคำอธิบายเพิ่มเติมไว้ ดังนั้นหากท่านได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้นมาไว้เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ และเป็นไปตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดแล้ว กิจการของท่านย่อมสามารถหักรายจ่ายได้เพิ่ม 1 เท่าทันที แต่ถ้าท่านซื้อทรัพย์สินมาเพื่อใช้เป็นการส่วนตัวของผู้บริหาร หรือกรรมการ โดยไม่นำมาใช้งานในกิจการท่าน กรณีนี้อาจถูกประเมินภาษี เพิ่มเติมย้อนหลังได้ เพราะแม้จะลงทุนซื้อทรัพย์สินแต่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายส่วนตัว การให้โดยเสน่หา และเป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

จ่ายลงทุนช่วงใดจึงจะได้รับประโยชน์

เงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 แต่อย่างไรก็ตามการหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนสำหรับทรัพย์สินดังกล่าวค่อนข้างมีความซับซ้อน ดังนั้นจึงขอนำเสนอหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเบื้องต้นในประเด็นดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการพิจารณาเมื่อสนใจซื้อคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ภายในปีนี้ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

คำนิยาม

คำว่า “คอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์” นั้น ประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดคำนิยามไว้เป็นการเฉพาะ กรณีจึงสามารถพิจารณาความหมายได้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ดังต่อไปนี้

คอมพิวเตอร์ [2] หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ [3] หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด

ซอฟต์แวร์ (Software) [4] หมายถึง ส่วนชุดคำสั่ง

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) [5] หมายถึง ส่วนเครื่อง ส่วนอุปกรณ์

สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้อีก 1 เท่า สำหรับทรัพย์สินดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 604) พ.ศ.2559 นั้น ก็มิได้ให้ความหมายโดยกำหนดคำนิยามของคำว่า “คอมพิวเตอร์  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์” ไว้เป็นพิเศษ แต่ในเมื่อสิทธิในการหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนฯ ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 604) พ.ศ.2559 ใช้หลักเกณฑ์ทรัพย์สินนั้นต้องสามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65  ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรได้ [6]

“ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์” หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีการทางคณิตศาสตร์ตลอดจนอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ อันได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องช่วยหรือเครื่องประกอบกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ [7]

สำหรับคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์ จัดอยู่ในประเภททรัพย์สินตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 604) พ.ศ.2559 กำหนดไว้ และสามารถหักรายจ่ายได้อีก 1 เท่าตามที่จ่ายจริงโดยวิธีการเฉลี่ยในจำนวนเท่ากันในแต่ละรอบบัญชีต่อเนื่องกันตามประเภทของทรัพย์สิน [9] โดยพิจารณาได้จากตาราง ดังต่อไปนี้

ตารางสรุปประเภททรัพย์สินและการเฉลี่ยหักรายจ่ายเพิ่มได้อีก 1 เท่า

11_0

ทรัพย์สินประเภทซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้องมีลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นทรัพย์สินใหม่แกะกล่อง
  2. มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ และพร้อมใช้งานภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ยกเว้น เครื่องจักร และอาคารถาวรที่อาจได้มาหรืออยู่ในสภาพพร้อมใช้การตามประสงค์ภายหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ก็ได้ [11]
  3. ทรัพย์สินนั้นต้องอยู่ในประเทศไทย (ยกเว้น ยานพาหนะ)
  4. ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้นำไปใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นและใช้สิทธิในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

ระยะเวลาการจัดทำเอกสารประกอบการซื้อทรัพย์สิน

ต้องเกิดจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง หรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้น แล้วแต่กรณี ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  1. หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา [12]
  2. หักรายจ่ายเพื่อการลงทุนฯ เพิ่มได้อีก 1 เท่าตามที่จ่ายจริงภายในปี 2559 เพื่อความเข้าใจสำหรับวิธีการหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนฯ เพิ่มได้อีก 1 เท่า ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

หากผู้ประกอบการจ่ายค่าซื้อทรัพย์สินทั้งประเภทอุปกรณ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประเภท กรณีต้องเฉลี่ยหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนฯ อย่างไร พิจารณาได้ดังต่อไปนี้

  • กรณีซื้อคอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์) พร้อมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (มิได้แยกราคาซื้อคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์) กรณีนี้ถือเป็นการซื้อทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์)
  • กรณีแยกซื้อคอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยมีเจตนาแยกซื้อทรัพย์สินดังกล่าวและระบุแยกรายการทรัพย์สินนั้นไว้ชัดแจ้งในใบกำกับภาษี กรณีถือเป็นการซื้อทรัพย์สิน ดังเช่น คอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แยกจากกันอย่างชัดแจ้ง

เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น กรณีจึงเห็นได้ว่าผู้ประกอบการมีสิทธินำรายจ่ายเพื่อการลงทุนฯ สำหรับค่าซื้อคอมพิวเตอร์  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาหักเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนฯ เพิ่มได้อีก 1 เท่าตามที่จ่ายจริง นอกจากหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 โดยผู้ประสงค์จะใช้สิทธิหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนดังกล่าว สามารถหักรายจ่ายเพิ่มได้อีก 1 เท่าทางภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน [13]  ทั้งนี้ รายจ่ายเพื่อการลงทุนฯ สำหรับคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกาศกำหนด

การที่รัฐออกมาตรการทางภาษีที่ดีมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นนี้ นับเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุน เพราะจะเป็นการช่วยให้เกิดการคล่องตัว และหมุนเวียนเงินให้ระบบเศรษฐกิจอย่างมโหฬาร มีความคึกคักจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อจัดซื้อจัดหาทรัพย์สินมาใช้ในการประกอบกิจการ หากมีข้อสงสัยหรือสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ สามารถเข้าไปที่ : https://www.applicadthai.com/pages/software-reduce-tax/

 

อ้างอิง : สำนักกฎหมายธรรมนิติ www.dlo.co.th

เรีบบเรียง:  Wilaipnan S.

Products & Solutions
สนใจอะไรคลิกเลย!

mechanical_160 aec_160 3pd_160 md_160
solidworks_02 archicad_02 stratasys_02 adobe_02
solidcam_02 gstarcad_02 artec3d_02
solidplant_02

Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ