Article - SolidWorks Simulation, Articles

การวิเคราะห์ผลลัพท์ CAE เรื่อง Failure Criterion #2

Failure Criterion for brittle materials
ในตอนที่2จะกล่าวถึงทฤษฎีที่  นำมาใช้ในการวิเคราะห์  ความเสียหายสำหรับวัสดุแข็งเปราะ

วัสดุที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการแตกหักมากกว่าการ Yielding หรือมีการยืดตัวน้อยก่อนที่จะเกิดการแตกหักเรียกว่าวัสดุเปราะ มีวัสดุเปราะอยู่จำนวนหนึ่งที่มี Compressive strength เท่ากับหรือใกล้เคียงกับ Tensile strength วัสดุที่มีพฤติกรรมเช่นนี้เรียกว่า Even materials เช่น Fully hardened tool steel  แต่วัสดุเปราะจำนวนมากซึ่งเป็นเหล็กหล่อเช่น เหล็กหล่อสีเทา จะมี Compressive strength สูงกว่า Tensile strength มาก เรียกวัสดุที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ว่า Uneven materials  สาเหตุที่เหล็กหล่อมี Tensile strength ต่ำกว่าปกติมาก เนื่องจากมีช่องว่างหรือตำหนิขนาดเล็ก( Microscopic flaws ) ภายในเนื้อวัสดุ เมื่อรับแรงดึง ตำหนิเหล่านี้จะทำให้เกิดการ crack ได้ง่าย แต่เมื่อรับแรงกด ตำหนิเหล่านี้จะถูกบีบเข้าด้วยกันทำให้มีขนาดเล็กลงจึงมีผลต่อการเกิด crack น้อยลง นอกจากนี้ค่า Tensile strength ยังต่ำกว่าค่า Shear strength อีกด้วย ซึ่งต่างจากวัสดุเหนียว ซึ่งจะเห็นได้จากการทดสอบแรงดึงและแรงบิด  จากรูปที่ 1 แสดงชิ้นงานมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบแรงดึงซึ่งทำจากวัสดุเหนียว จะเห็นว่าเพลนที่เกิดการขาดหรือเกิดความเสียหายจะทำมุม 45° กับแนวแกนของชิ้นงานหรือแนวแรงดึง ซึ่งเพลนนี้เราสามารถพิสูจน์ด้วยการแตกแรงหรือวิธี Mohr’s circle ได้ว่าเป็นเพลนที่เกิดความเค้นเฉือนสูงสุด
 

รูปที่ 1 แสดงชิ้นงานมาตรฐานวัสดุเหนียว  ที่ใช้ในการทดสอบแรงดึง

รูปที่ 2 แสดงชิ้นงานมาตรฐานวัสดุเปราะที่ใช้ในการทดสอบแรงดึง
แต่ถ้าเป็นวัสดุเปราะซึ่งแสดงดังรูปที่ 2  เพลนที่เกิด การขาดหรือความเสียหายจะตั้งฉากกับแนวแรงดึงซึ่งเป็นเพลนที่ถูกกระทำด้วย ความเค้นดึงสูงสุด   Mohr’s circle ของการทดสอบแรงดึงแสดงดังรูปที่ 3 ซึ่งเหมือนกันทั้งวัสดุเหนียวและเปราะ

รูปที่ 3   Mohr’s circle ของการทดสอบแรงดึง

รูปที่ 4  ชิ้นงานที่ผ่านการทดสอบแรงบิด  (a) วัสดุเหนียว   (b) วัสดุเปราะ

รูปที่ 4 แสดงชิ้นงานที่ผ่านการทดสอบแรงบิด ซึ่งรูปทางด้านซ้ายเป็นวัสดุเหนียว เพลนที่เกิดการขาดหรือเกิดความเสียหายจะเป็นเพลนที่มีความเค้นเฉือนสูงสุด แต่ถ้าเป็นวัสดุเปราะด้านขวา เพลนที่เกิดความเสียหายจะเป็นเพลนที่ทำมุม 45 ° กับ แนวแกนซึ่งเป็นเพลนที่เกิดความเค้นฉากสูงสุด ดังนั้นการทดสอบแรงดึงและแรงบิดจึงช่วยสนับสนุนให้เห็นว่าวัสดุเหนียวมีค่า Shear strength ต่ำสุด จึงเกิดความเสียหายเนื่องจาก Shear stress ส่วนวัสดุเปราะมีค่า Tensile strength ที่ต่ำที่สุดจึงเกิดความเสียหายเนื่องจาก Tensile stress   รูปที่ 5 แสดง Mohr’s circle สำหรับการทดสอบแรงดึงและแรงกดของทั้ง Even และ Uneven materials เส้นตรงที่ลากสัมผัสวงกลมทั้งสองเรียกว่า failure lines พื้นที่ที่ถูกปิดล้อมด้วยวงกลมและ failure lines เป็นย่านที่ปลอดภัย ในกรณีของ Even materials failure lines ถูกสร้างขึ้นจากค่าความเค้นเฉือน ไม่ขึ้นกับค่าความเค้นฉาก แต่ในกรณีของ Uneven materials failure lines ขึ้นอยู่กับทั้ง
ค่าความเค้นเฉือนและค่าความเค้นฉาก ถ้าเทียบกับการทดสอบแรงดึงของ Uneven materials กับรูปที่ 5(b) ความเค้นฉากสูงสุดที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นความเค้นดึงในแนวแกนอยู่บนขอบของวงกลมบนแกน s ทางด้านขวาของรูปซึ่งเป็นจุดที่เริ่มจะเกิดความเสียหายแต่ความเค้นเฉือนสูงสุดที่เกิดขึ้นขณะนั้นซึ่งทำมุม 45 ° กับ แนวแกนที่รับแรงและมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของความเค้นดึงยังอยู่ในย่านที่ ปลอดภัยซึ่งแสดงด้วยจุดบนขอบของวงกลมวงเล็กที่มีค่าความเค้นเฉือนสูงสุด และนี่ก็เป็นเหตุผลที่สนับสนุนว่า Uneven materials เสียหายเนื่องจากความเค้นดึง ซึ่งมีทฤษฎีที่สำคัญที่เป็นที่นิยมอยู่สามทฤษฎีคือ Maximum Normal Stress, Coulomb-Mohr และ Modified-Mohr Theory

รูปที่ 5   Mohr’s circle สำหรับการทดสอบแรงดึงและแรงกดของทั้ง Even และ Uneven materials


1.    Maximum Normal Stress Theory
.
ทฤษฎีนี้กล่าวว่าวัสดุจะเกิดความเสียหาย เมื่อเกิดความเค้นฉากภายในเนื้อวัสดุนั้นถึงค่า Ultimate tensile strength  ของ วัสดุ รูปที่ 6 แสดงขอบเขตความปลอดภัยของวัสดุเปราะของ Maximum Normal Stress Theory   ในสองมิติ ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในควอดแดรนท์ที่ 1 และ 3 ค่าของ Maximum Normal Stress Theory   จะเท่ากับค่าของ Maximum Shear Stress Theory แต่ในควอดแดรนท์ที่ 2 และ 4ขอบเขตของทฤษฎีนี้จะอยู่ข้างนอกหรือมากกว่าทั้ง  Maximum Shear Stress Theory และ Distorsion Energy Theory จากการทดลองจะแสดงให้เห็นว่าสำหรับวัสดุเปราะการเสียหายจะใกล้เคียงกับ Maximum Normal Stress Theory มากกว่าทฤษฎีสำหรับวัสดุเหนียวทั้งสองทฤษฎี( Maximum shear stress และ Distorsion energy theory )

รูปที่ 6 ขอบเขตความปลอดภัยของวัสดุเปราะของ Maximum Normal Stress theory


  1. Coulomb-Mohr Theory 

    .
    เนื่องจากวัสดุเปราะมักจะมีพฤติกรรมเป็นแบบ Uneven materials จึง มีการปรับ Maximum Normal Stress Theory ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นซึ่งแสดงในรูปที่ 7 ด้วยเฉดสีเทา แต่จะใช้ได้กับวัสดุจริงในควอดแดรนท์ที่ 1 และ 3  ส่วนควอดแดรนท์ที่ 2 และ 4 ไม่ตรงกับผลการทดลอง จึงได้มีผู้คิดค้น Coulomb-Mohr Theory โดย การเชื่อมจุดที่อยู่ตรงข้ามกันด้วยเส้นทแยงมุมของควอดแดรนท์ที่ 2 และ 4 แสดงด้วยเฉดสีชมพูจางๆในรูปที่ 7 ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับ  Distorsion Energy Theory แต่ต่างกันตรงที่ Coulomb-Mohr Theory จะไม่สมมาตรเนื่องจากผลของ Uneven และใช้ Ultimate Strength แทน Yield Strength รูปที่ 8 แสดงผลของการทดสอบวัสดุเปราะเทียบกับ Coulomb-Mohr Theory ในควอดแดรนท์ที่สี่ยังไม่ตรงกับทฤษฎีนี้ จุดที่เกิดความเสียหายจะอยู่นอกขอบเขตซึ่งหมายความว่ายังมีการเผื่อค่าความปลอดภัยมากเกินไป

รูปที่ 7   ขอบเขตความปลอดภัยของวัสดุเปราะ
รูปที่ 8  ผลการทดสอบวัสดุเปราะเทียบกับทฤษฎีต่างๆ    รูปที่ 9 ภาวะของความเค้นของวัสดุเปราะ

  1. Modified-Mohr Theory.
    จากการทดสอบวัสดุเปราะ ดังรูปที่ 8ผลที่ได้จะมีขอบเขตของ การเสียหายใกล้เคียงกับ Maximum Normal-Stress theory สำหรับ even materials ในควอดแดรนท์ที่ 1 ซึ่งความเค้นมีเครื่องหมายเหมือนกัน ส่วนในควอดแดรนท์ที่ 2 และ 4 ซึ่งความเค้นมีเครื่องหมายตรงกันข้ามกัน ผลที่ได้จะใกล้เคียงกับ Maximum Normal-Stress theory  ในย่านที่เป็น Even materials เท่านั้น สำหรับย่านที่เป็น uneven อย่างเช่น ควอดแดรนท์ที่ 4 จุดที่เกิดความเสียหายจะเรียงตัวค่อนข้างเป็นเส้นตรงจากจุด Sut , -Sut ลงมายังจุด 0,-Suc จึงมีผู้ปรับปรุงCoulomb-Mohr Theory โดยใช้ขอบเขตความเสียหายที่ได้ใกล้เคียงกับผลการทดสอบวัสดุเปราะแทนโดยการเชื่อมจุด Sut , -Sut กับจุด 0, – Suc ให้เป็นเส้นตรงแทน ในควอดแดรนท์ที่ 4 ส่วนควอดแดรนท์ที่ 2 ก็ทำได้ในลักษณะเช่นเดียวกัน ดังรูปที่ 8  ถ้าพิจารณา 2D Principal stress และ  ,   ภาวะของความเค้นจะแสดงได้สามแบบ A ,B และ C ดังรูปที่ 9  จุด A คือภาวะที่ความเค้นหลักมีเครื่องหมายเป็นบวกเหมือนกัน(ความเค้นดึง)   Modified-Mohr Theoryทำนายว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นเมื่อ ภาวะของความเค้น A เพิ่มขึ้นเลยออกไปอยู่นอกขอบเขตความเสียหาย Factor of Safety หาได้จาก

    เมื่อ N คือ Factor of Safety

    ถ้าความเค้นหลักมีเครื่องหมายตรงกันข้ามกัน ดังควอดแดรนท์ที่ 4 ของรูปที่ 9 มีภาวะของความเค้นที่เป็นไปได้สองแบบคือ B กับ C ความแตกต่างระหว่างสองภาวะนี้คือ จุด B จะอยู่เหนือจุด Sut , -Sut ค่า Factor of Safety จะหาได้จากสมการ(1) เหมือนกับจุด A   ส่วนจุด C จะอยู่ต่ำกว่าจุด Sut , -Sut Factor of Safety หาได้จากความยาวของเส้น OC และ OC’ หรือหาจากสมการ

สรุปแล้วถ้าชิ้นงานที่จะวิเคราะห์เป็นวัสดุเหนียวจะใช้ Maximum shear stress หรือ Distorsion energy theory แล้วแต่ประสบการณ์ของผู้ออกแบบ แต่ถ้าชิ้นงานที่จะวิเคราะห์เป็นวัสดุเปราะ   Modified-Mohr Theory  เป็นทฤษฎีที่ให้ผลที่ใกล้เคียงที่สุด

 

 


Photo of author
WRITTEN BY

admin


Article - SolidWorks Simulation, Articles

การวิเคราะห์ผลลัพท์ CAE เรื่อง Failure Criterion #1

บทประยุกต์ในการวิเคราะห์ผลลัพท์จาก CAE
(Computer Aided Engineering) เรื่อง Failure Criterion (1)
จนถึงวันนี้ก็สามารถพูดได้ว่า CAD/CAM นั้นไม่เพียงพอต่อการพัฒนาศักยภาพในการออกแบบและการผลิตเพื่อการแข่งขันใน ยุค IT อีกต่อไป หลายบริษัท หรือ หน่วยงานต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านงานออกแบบเชิงวิศวกรรมได้นำเอา เทคโนโลยีที่ช่วยในการคำนวณการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Computer Aided Engineering หรือเรียกสั้นๆว่า CAE เข้ามาใช้งานในขณะที่ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่เพิ่งเริ่มศึกษาความเป็นไป ได้ในการนำมาใช้กับงานของบริษัทเองซึ่งหลายแห่งก็กินเวลาเป็นปีทั้งนี้ก็อาจ จะมาจากแหล่งข้อมูลที่จะค้นคว้าที่จำกัดและในการศึกษานั้นมีการลองผิดลองถูก ไปเรื่อยๆจนเสียเวลาไปมากอีกทั้งในการศึกษาก็มักจะเกิดปัญหาที่เป็นคำถาม ซึ่งหาคำตอบที่ชัดเจนได้ยากบ่อยๆอย่างเช่น
· เราจะเชื่อมั่นในคำตอบที่ได้จะการคำนวณของ software ได้อย่างไร
· คำตอบที่ได้มีความแม่นยำเชื่อถือได้กี่เปอร์เซ็นต์
· เราให้ Boundary Condition ถูกต้องหรือไม่
· ฯลฯ

และปัญหาพื้นฐานอย่างหนึ่งในการใช้งาน CAE ก็คือการประเมินผลที่ได้จากการวิเคราะห์หรือพูดง่ายๆก็คือการตีความผลลัพธ์ที่ได้นั่นเอง

รูปแสดง ตัวอย่างผลลัพธ์ ที่ได้ซึ่งมักจะแสดงในรูปของแถบสี

ที่นำเรื่องนี้มากล่าวก็เพราะทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการพังซึ่งสอดคล้องกับ พฤติกรรมของวัสดุแต่ละแบบนั้นมีหลายทฤษฎีซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ บ่อยครั้งที่การประเมินความเสียหายที่ได้จากการคำนวณผิดพลาด เนื่องจากการเลือกใช้ทฤษฎีที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์
จริงดังนั้นความรู้พื้นฐานในทฤษฎีต่างๆจึงมีความจำเป็นในการประเมินการออกแบบอย่างถูกต้องซึ่งจะกล่าวเป็นตอนๆจากนี้ไป
Failure Criteria คืออะไร
     ในการออกแบบชิ้นงานทางวิศวกรรมจำนวนมากนั้น ชิ้นงานจะรับภาระกรรมหลายอย่างพร้อมกัน เช่น ความเค้นดึง ความเค้นกด และความเค้นเฉือน ซึ่งเรียกว่าความเค้นผสม( combined stress)และเป็น แบบสามมิติ จึงมีผู้พยายามตั้งทฤษฎีขึ้นมาใช้อธิบายถึงความเสียหายของชิ้น งาน โดยการเทียบกับสิ่งที่สามารถตรวจสอบด้วยการทดลองได้เช่น Yield tensile strength, Ultimate tensile strength หรือ strain ซึ่งค่าทั้งหมดได้จากการทดลองดึงชิ้นทดสอบในแนวแกนหรือแบบมิติเดียว ทฤษฎีเหล่านี้เรียกว่า ทฤษฎีความเสียหาย (Failure Criterion Theorem) และเนื่องจากวัสดุเหนียว(ductile material)และเปราะ(brittle material)เกิดความเสียหายที่แตกต่างกัน โดยวัสดุเหนียวจะเกิดความเสียหายเมื่อค่าความเค้นที่เกิดขึ้นในวัสดุถึง Yield point ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เพราะเมื่อความเค้นเกินค่านี้ไปแล้ววัสดุจะไม่สามารถคืนรูปกลับสู่สภาพเริ่ม ต้นได้ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงความเสียหาย( Failure)ของวัสดุเหนียวก็จะต้องพูดถึง Yield stress ซึ่งคือค่าความเค้น ณ Yield point ส่วนวัสดุเปราะจะไม่มี Yield point  ความเสียหายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อวัสดุรับความเค้นจนเกินการแตกหรือแยกของ เนื้อวัสดุ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงความเสียหาย( Failure)ของวัสดุเปราะก็จะต้องพูดถึง Ultimate stress ซึ่งคือค่าความเค้นที่ทำให้วัสดุเกิดการแตกหัก
Failure Criterion for Ductile Material
     ทฤษฎีความเสียหายสำหรับวัสดุเหนียวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ทฤษฎีคือ Maximum shear stress theory และ Maximum distortion energy theory เนื่องจากให้ผลใกล้เคียงกับการใช้งานจริง   ส่วนทฤษฎีอื่นไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากไม่สอดคล้องกับผลการทดสอบ จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้
1.       Maximum shear stress theory (Tresca ’s Yield Theory)

ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นก่อน Maximum distortion energy theory   ทฤษฎีนี้เป็นผลจากการสังเกตว่าวัสดุเหนียวเกิดการเลื่อนไถลของ plane ในเนื้อวัสดุขณะเกิดการ Yield และตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลก็คือ ความเค้นเฉือนจึงได้เกิดการตั้งสมมุติฐานว่าการ Yield ของวัสดุเหนียวขึ้นอยู่กับ ความเค้นเฉือน เท่านั้น และเมื่อชิ้นงานเกิดความเค้นเฉือนสูงสุดถึงค่าความเค้นเฉือนวิกฤต ()ค่าหนึ่งซึ่งเป็นค่าที่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุเหนียวแล้ว ชิ้นงานก็จะเกิดการ Yield    ส่วนค่าความเค้นเฉือนวิกฤต ()ของวัสดุแต่ละชนิดหาได้จากความเค้นเฉือนสูงสุดที่เกิดขึ้นในชิ้นงานมาตรฐานที่นำไปทดสอบแรงดึงเมื่อถึงจุด Yield  ยิ่ง พูดก็ยิ่ง งง ทำไมการทดสอบแรงดึงจึงมาเกี่ยวข้องกับความเค้นเฉือนได้ มันน่าจะเกี่ยว กับความเค้นฉากมากกว่า แต่อย่าลืมนะครับว่าในการทดสอบแรงดึงมีทั้งความเค้นฉากและความเค้นเฉือนเกิด ขึ้นในชิ้นงาน โดยที่ความเค้นเฉือนจะเกิดขึ้นบนทุกๆ Plane ที่ไม่ได้ขนานหรือตั้งฉากกับแนวแรงดึง และความเค้นเฉือนสูงสุดจะเกิดขึ้นบนทุกๆ Plane ที่ทำมุม 45 องศากับแนวแรงดึงและมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของความเค้นฉากในแนวแรงซึ่งสามารถ พิสูจน์ได้ด้วยการแตกแรงธรรมดา จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าทฤษฎีนี้มอง ว่าความเค้นเฉือนคือตัวการสำคัญที่ทำให้ชิ้นงานเกิดการ Yield ฉะนั้นเช่นเดียวกันกับการทดสอบแรงดึง ถึงแม้จะเป็นการทดสอบแรงดึงแต่สิ่งที่ทำให้เกิดการ Yield คือความเค้นเฉือนสูงสุดที่เกิดขึ้นในชิ้นงานต่างหาก ซึ่งมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของ ความเค้นดึง ณ Yield point (Yield tensile stress) ดังนั้นชิ้นงานจะอยู่ในย่านที่ปลอดภัยเมื่อ

เมื่อ    คือ ความเค้นเฉือนสูงสุดที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน
เมื่อ      คือ ความเค้นเฉือนวิกฤตเป็นคุณสมบัติของวัสดุ
เมื่อ    คือ ความเค้นดึง ณ Yield point   เป็นคุณสมบัติของวัสดุ ได้จากการ
ทดสอบแรงดึง สำหรับ Isotropic material มีค่าคงที่ทุกทิศทาง

จาก Mohr’s Circle ความเค้นเฉือนสูงสุดที่เกิดขึ้นในชิ้นงานจะมีขนาดเท่ากับรัศมีของวงกลม และรัศมีของวงกลมก็สามารถหาได้จาก  

เมื่อ ,  คือความเค้นฉากหลัก (Principle normal stress) ที่มีค่าต่างกันมากที่สุด
โดยค่าบวกหมายถึงความเค้นดึง ค่าลบหมายถึงความเค้นกด
ดังนั้นชิ้นงานที่รับความเค้นผสมในสามมิติจะอยู่ในย่านที่ปลอดภัยก็ต่อเมื่อ

และ

 เมื่อจัดรูปใหม่จะได้

และ

เมื่อพล็อตกราฟจะได้ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 แผนภาพแสดงขอบเขตของความปลอดภัยตาม  Maximum shear stress theory

 ถ้าภาวะความเค้นอยู่ในรูปหกเหลี่ยมแสดงว่าชิ้นงานมีความปลอดภัยไม่เกิดการ Yield แต่ ถ้าอยู่บนขอบของรูปหกเหลี่ยมหรือข้างนอก แสดงว่าเกิดการ Yield ทฤษฎีนี้ศึกษาและทดสอบอย่างจริงจังโดย Tresca วิศวกรชาวฝรั่งเศส บางครั้งจึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า Tresca’s Yield Theory

1.       Maximum distortion energy theory (von Mises Yield condition)

ศึกษาอย่างจริงจังโดย von Mises จึงเรียกว่า von Mises Yield condition ด้วย  ทฤษฎีนี้พิจารณาความเค้นเฉือนเหมือนกันและเทียบกับการทดสอบการดึงชิ้นงาน เหมือนกัน แต่มองลึกลงไปที่ Total Elastic Energy (ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงพลังงานศักย์ยืดหยุ่นของสปริง คล้ายๆกัน) ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตร(Dilatational elastic energy)และส่วนที่ทำให้เกิดการผิดรูปจากความเค้นเฉือน(Distortional elastic energy) ทฤษฎีนี้อ้างว่าชิ้นงานจะเกิดความเสียหายเนื่องจากการ Yield ก็ต่อเมื่อ Distortional elastic energy ภายในชิ้นงานนั้นมีค่าเท่ากับ  ทฤษฎีนี้ใช้หลักการ Superposition ในการพิจารณาความเค้น พิจารณา Element ที่รับความเค้นหลัก ,และ ทั้งสามแกนและกำหนดให้ Mean Hydrostatic Stress,  
พิจารณาความเค้นหลักในรูปเวกเตอร์

แสดงแผนภาพได้ดังรูปที่ 2

 
รูปที่ 2 State of stress

เทอมแรกทางด้านขวามือเรียกว่า Dilatational stress หรือ Hydrostatic stress เทอมนี้เกิดความเค้นที่เท่ากันทุกทิศทางทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรโดย การขยายตัว แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดการเสียรูปทรงไปจากเดิม จึงไม่ทำให้เกิดการ Yield เนื่องจากสภาพเช่นนี้เหมือนกับของไหลที่อยู่นิ่งมีความดันเท่ากันทุกทิศทาง และไม่มีความเค้นเฉือน จึงเรียกว่า Hydrostatic stress แต่เทอมที่สองคือ Distortional or Deviatoric stress ส่วนนี้ไม่ทำให้วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรแต่ทำให้เกิดการผิดรูปเนื่อง จากความเค้นเฉือนและเกิดการ Yield ได้   จากรูปที่ 3 เมื่อพิจารณาความเค้นในแกนเดียวเทอมที่ 2 และ 3 ทางด้านขวามือคือ Distortional stress  แต่ละเทอมประกอบด้วย ความเค้นกดและความเค้นดึงบน Plane ที่ตั้งฉากซึ่งกันและกันจึงเทียบเท่ากับ Pure shear stress

รูปที่ 3 Uniaxial state of stress

รูปที่ 4 One dimensional stress
 พิจารณา Elastic Energy ของ Element ในทิศทางเดียวดังรูปที่ 4 จะได้

 ดังนั้น Total Elastic Energy per unit volume เท่ากับ
พิจารณา Total Elastic Energy per unit volume ของ Element โดยวิธี Superposition จะได้

จากความสัมพันธ์ของความเค้น ความเครียด และอัตราส่วนปัวซอง



เมื่อแทนในสมการ Total Elastic Energy สมการที่ (1) และจัดรูปใหม่จะได้

ต่อไปเราจะหา Dilatational elastic energy โดยการแทน , และ  ในสมการที่ (2) ด้วย  จะได้

และจากความสัมพันธ์  และสมการ(3) จะได้


จากการทดสอบแรงดึง และ  เท่ากับศูนย์ ดังนั้น Distortional elastic energy ของชิ้นงานที่เกิดการ Yield จากการทดสอบแรงดึงในหนึ่งมิติเท่ากับ    ดังนั้นชิ้นงานจะเกิดการ Yield ก็ต่อเมื่อ

หรือชิ้นงานจะมีความปลอดภัยไม่เกิดการ Yield ก็ต่อเมื่อ

สำหรับ Plane stress =0 และเมื่อจัดรูปใหม่จะได้

และเมื่อนำไปพล็อตกราฟจะได้ดังรูปที่ 5 พื้นที่ภายในวงรีแสดงถึงย่านที่ปลอดภัยไม่เกิดความเสียหายเนื่องจาการ Yield ส่วน พื้นที่บนวงรีและด้านนอกวงรีแสดงถึงย่านที่เกิดการ Yield และในสามมิติผิวที่เกิดการ Yield เนื่องจากความเค้นเฉือนหรือ Yield surface จะทำมุมกับแกนหลักของความเค้น (Principle stress axe) เท่าๆกัน โดยมี Cosine เท่ากันคือ  แสดงดังรูปที่ 6

 

รูปที่ 5 Yield criterion based on Max Distortion Energy

รูปที่ 6 Yield surface for triaxial state of stress
เปรียบเทียบ Maximum shear stress theory กับ Maximum distortion energy theory
รูปที่ 7 แสดงขอบเขตของทฤษฎีทั้งสอง Maximum distortion energy theory จะมีขอบเขตที่มากกว่าหมายถึงเผื่อความปลอดภัยไว้น้อยกว่า ชิ้นงานที่ได้จากการออกแบบจะมีขนาดเล็กกว่า เมื่อชิ้นงานรับความเค้นเท่ากัน ทำให้ประหยัดกว่า เมื่อความเค้นหลักเท่ากันทั้งสองแกน จะได้ค่าความปลอดภัยที่เท่ากันทั้งสองทฤษฎี   Maximum distortion energy theory จะเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากใกล้เคียงกับผลการทดลองมากกว่า


รูปที่ 7 Comparison of Tresca and  von Mises

เขียนโดย : Theeraporn Teja


Photo of author
WRITTEN BY

admin