Article - ArchiCAD, Article Ci, Articles

What’s New ARCHICAD 23 รีวิวฟีเจอร์เด็ด สถาปนิกกับวิศวกรทำงานง่ายขึ้น

What’s New ArchiCAD 23

ARCHICAD 23 [[ BIM is an Instant ]]

ARCHICAD 23 ได้มีการพัฒนาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือ เสา, คาน ให้มีลูกเล่นมากขึ้น รวมถึงเพิ่มเครื่องมือใหม่เข้ามาคือ Opening Tool เจาะช่องได้ง่าย ทำให้การทำงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกกับวิศวกรที่ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สมบูรณ์ขึ้น

ARCHICAD ช่วยสถาปนิกให้สามารถถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นแบบจำลอง BIM 3 มิติ ที่สามารถเห็นได้ทุกมุมมองทั้งภายนอก ภายใน  ตลอดจนช่วยให้การทำแบบ หรือ การเขียนแบบ CAD ทำได้ง่ายกว่าเดิม เพราะสามารถเขียนแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด ให้โดยอัตโนมัติตามที่ต้องการ อีกทั้งยังช่วยถอดปริมาณ BOQ ของวัสดุ ที่ใช้อาคารในอาคาร อย่างเช่น พื้นที่ใช้สอย พื้นที่ผนังด้านนอก ด้านในได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็วกว่าการทำงานแบบเดิม และยังเป็นเครื่องมือสำหรับผู้รับเหมา เพื่อการเคลียร์แบบในลักษณะ 3 มิติ ให้ได้ความชัดเจนในการทำงานของผู้ร่วมงานต่างฝ่าย หรือต่างบริษัทที่ต้องมาทำงานในโครงการเดียวกัน ซึ่งสามารถลดการเข้าใจงานที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน เมื่อสามารถ Combine แบบได้ แล้วจะทำให้การเขียน As Built Drawing เป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น

ARCHICAD 23 – Highlight

ARCHICAD 23 - Highlight

 

ARCHICAD 23 มีอะไรสำคัญมาใหม่มาดูกัน!

Beam Column : เสาและคาน มีการยกเครื่องใหม่ ไฉไลกว่าเดิม

1.1 Beam Column Segments and Tapered : เราสามารถปรับเสา , คานให้แบ่งเป็นหลายส่วนตามต้องการ เพียงแค่เพิ่ม Segment เข้าไปซึ่งแต่ละ Segment จะสามารถกาหนดขนาด รูปทรงได้อีกด้วยเช่น ฐานราก โดยถ้าเทียบกับ ARCHICAD22 แล้ว เราจะต้องใช้คาสั่ง Morph ในการปั้นทีละส่วนแล้วเอามารวมกัน

ARCHICAD 23 - Beam Column Segments and Tapered
1.2 Beam Column Cover Fill : ในเวอร์ชันนี้เราสามารถใช้ Cover fill ได้ทั้งเสาและคาน รวมถึงการแสดงผลของคานในหน้าแปลนเมื่อมีการทับกันเกิดขึ้น โปรแกรมจะโชว์คานเป็นเส้นประเมื่ออยู่ด้านล่าง และโชว์เป็นเส้นทึบเมื่ออยู่ด้านบน

ARCHICAD 23 - Beam Column Cover Fill
1.3 Beam Column End Cuts : สามารถตั้งค่าการตัดปลายเสาได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งฉาก , แนวราบ หรือจะกำหนดการตัดเป็นองศาเลยก็ได้เช่นกัน ช่วยลดปัญหาการ joint ที่ไม่สนิทของโครงสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็นเสาหรือคานถ้าเป็น ARCHICAD22 เราต้องสร้างวัตถุมาทำการ subtract ส่วนไหนที่ไม่ต้องการเราถึงจะตัดออกโดยการซ่อน ทำให้มีขั้นตอนการทำงานที่เพิ่มขึ้น

ARCHICAD 23 : Beam Column End Cuts
1.4 Beam Column Input : การใส่เสาเอียง , คานเอียง ทำได้ในคลิ้กเดียว โดยสามารถทาได้ทั้งใน 2D และ 3D ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับใน ARCHICAD22 เราจะต้องสร้างเสา/คานขึ้นมาก่อน แล้วค่อยมาปรับให้อีกในภายหลัง ทาให้มีขึ้นตอนที่ยุ่งยากขึ้น

ARCHICAD 23 - Beam Column Input


1.5 Beam Column Reference Axis :
สามารถปรับตำแหน่งเส้นและแกนอ้างอิง 9 จุดของคาน ได้ตามต้องการ เนื่องจากการใช้งานของ user บางครั้งจาเป็นต้องทำการปรับระดับการวางงเสาและคานโดยอ้างอิงจากแกนกลาง เพื่อให้เยื้องไปทางซ้ายหรือขวา ซึ่งจากในเวอร์ชั่นเก่าๆสามารถทาได้แค่ผนังเท่านั้น

ARCHICAD 23 - Beam Column Reference Axis


1.6 Beam Vertical curve :
อันที่จริงคานโค้งสามารถทำได้ตั้งแต่ใน Version เก่า แต่จะทำได้เฉพาะในแนวนอนเท่านั้น เมื่อมาถึง ARCHICAD23 เราจึงทำการพัฒนาให้การปรับคานโค้งในแนวดิ่งได้ เพียงแค่ปรับ ขยับจุด segment โดยเราสามารถปรับได้ทั้งในหน้ารูปด้าน รูปตัด หรือหน้า 3 มิติก็ได้

ARCHICAD 23 : Beam Vertical curve

Openings : คำสั่งทำช่องเจาะ

2.1 Openings Tool : เครื่องมือใหม่สำหรับใช้เจาะช่องเปิดที่หลากหลายและทำงานได้ง่ายขึ้น เราสามารถเจาะได้ทั้งคาน,พื้น,ผนัง ฯลฯ ช่วยให้การออกแบบถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเรานำไปใช้งานควบคู่กับงานระบบของ ARCHICAD จะทำให้ขั้นตอนการทางานของเราสั้นลงอย่างเห็นได้ชัดเพราะถ้าเป็นเวอร์ชั่นเก่า เราจะต้องใช้คาสั่ง subtract และที่สำคัญคือ เมื่อไรก็ตามที่เราทำการเจาะ โปรแกรมจะช่วยใส่สัญลักษณ์ 2D ให้เราโดยอัตโนมัติ

ARCHICAD 23 : Openings Tool


2.2 Opening Symbols :
 ปรับแต่งสัญลักษณ์ช่องเปิดในงาน 2D ได้หลายประเภทเพียงแค่ Stamp ลงไปเท่านั้น ช่วยให้การทา drawing ง่ายยิ่งขึ้น

ARCHICAD23 : Opening Symbols


2.3 Openings Floor Plan Display :
 แก้ไขการแสดงผลใน Floor Plan ได้หลายรูปแบบตามที่ต้องการเช่น กำหนดความสูง, วัสดุ, รูปแบบของเส้น ซึ่งตอนตั้งค่าจะมีภาพ Preview ให้เลือกหลายแบบทำให้เข้าใจง่ายขึ้น และไม่กลับมาตั้งค่าบ่อยๆ

ARCHICAD 23 : Openings Floor Plan Display


2.4 Openings through multiple Elements :
 สามารถเจาะวัตถุที่ซ้อนกันหลายวัสดุได้ตามต้องการโดยไม่ต้องใช้คำสั่ง Subtract จากรูป เรายกตัวอย่างผนังชนิดเดียวที่มีหลายวัสดุ เมื่อเราใช้คำสั่ง Openings แล้ว เราสามารถได้ทั้งความลึกที่เป็นตัวเลข หรือกำหนดโดยการลากจุด Reference ก็ได้

ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำต้องรู้ข้อมูลความหนาของผนังในแต่ละชั้น ก็สามารถทำงานได้

ARCHICAD 23 : Openings through multiple Elements

Performance

ปรับปรุงปรุงประสิทธิภาพในการแสดงผลให้เข้าใจง่าย และจัดการไฟล์งานได้สะดวกมากขึ้น

3.1 Startup Dialog : เปลี่ยนรูปแบบหน้าต่างการเข้าใช้งาน ARCHICAD ใหม่ที่แสดงเป็น Dialog Box เราสามารถเลือก Project ได้ถูกต้อง เพราะมี Picture Preview หรือจะ Search ชื่อตาม Project info ก็ทำได้

ARCHICAD 23 : Startup DialogARCHICAD23 : Startup Dialog-02


3.2 Action Center :
 ไม่ต้องเสียเวลากับการคลิ๊กปิดกล่องข้อความการแจ้งเตือนหลายๆครั้ง เมื่อเปิดโปรแกรม ถ้าไฟล์มีปัญหา เราสามารถไปจัดการในแถบ Action center ได้ภายหลัง ทำให้การจัดการกับไฟล์งานของเราเป็นระบบขึ้น

ARCHICAD23 : Action Center


3.3 Navigating Among Tabs :
 แสดงภาพ Preview เพียงแค่ชี้เมาส์ไปที่ Tabs หรือ จะเปิดภาพ Preview ขึ้นมาทั้งหมด เพื่อให้เห็นภาพรวมของ Project แต่ละแผ่นเพื่อการเลือกใช้ที่ถูกต้อง ไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกระดาษบ่อยเพราะเลือกผิดอีกต่อไป

ARCHICAD23 : Navigating Among Tabs

ARCHICAD23 - Navigating Among Tabs-02

Rhino Grasshopper

4.1 Upgraded Performance : การตอบสนองในการตั้งค่า parameters ดีขึ้น และอัพเกรดความเร็วในการส่งข้อมูลหลายๆส่วนไปยัง ARCHICAD

4.2 Parametric Complex Profiles Shading : สามารถดึงคาสั่ง Profiles ของ ARCHICAD เข้ามาคานวนแสงเงาพร้อมปรับ Form Façade ได้เองใน Grasshopper ด้วย Plug-in Ladybug

ARCHICAD 23 : Parametric Complex Profiles Shading

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.applicadthai.com/archicad

ทดลองใช้ฟรี ARCHICAD : https://www.applicadthai.com/archicad/download

ขอราคา : https://www.applicadthai.com/archicad/quotation

อ่านเพิ่มเติม : คลิ๊กเลย


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ