Engage Your Visitors!

Click here to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

CAD ในยุค Robot Automation ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม

งานภาคอุตสหกรรมต่างๆ ในปัจุบันนี้กำลังที่จะก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 (Industries 4.0) ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งก้าวใน การพัฒนาระบบการขับเคลื่อนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มีความทันสมัย และตอบรับในเรื่องของการผลิตให้ทันต่อผู้บริโภครวมไปถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศ ฉะนั้นเพื่อให้มีการตอบสนองกับยุคปัจจุบันนี้ ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมองหาเครื่องมือเครื่องจักรที่สามารถตอบโจทย์ และเพิ่มศักยภาพในการทำงาน รวมไปถึงเรื่องของการติดต่อและการสื่อสารที่ดี จึงได้มีการนำระบบการผลิตในลักษณะแบบ Automation เข้ามาใช้งาน

เครื่องจักรแบบ Automation เป็นเครื่องจักรที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องจักรนั้นๆ ทำงานได้เอง โดยอาจเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการผลิต หรือเป็นการผลิตแบบอัตโนมัติทั้งระบบ โดยจะมีคนควบคุมและดูแลเครื่องจักรเท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดในเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานในจุดที่เสียงต่อการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

ยกตัวอย่างในภาคอุตสาหกรรม ที่นำระบบการทำงานแบบ Automation เข้ามาใช้งานที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ใช้ Robot ไปอยู่ในกระบวนการผลิต เช่น ในส่วนงานเชื่อม ส่วนงานขนย้าย เป็นต้น หรือแม้แต่ในงานอุตสาหกรรมอาหารก็มีการนำระบบแบบ Automation เข้ามาใช้งาน และยังมีอีกหลากหลายอุตสาหกรรมที่นำเอาระบบนี้ ไปอยู่ในขั้นตอนการช่วยผลิต

robot-automation_01

งานที่เป็นระบบ Automation ต่างๆ เหล่านี้ต้องมีการออกแบบ วางตำแหน่ง รวมไปถึงการวางแผนในการผลิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องใช้ Software ในการออกแบบหรือวางตำแหน่งที่สำคัญ อีกทั้งต้องรวดเร็วในการทำงานและใช้งานง่าย ซึ่งในส่วนนี้จะขอแนะนำ Function ที่จะช่วยให้ผู้ที่ออกแบบ หรือในส่วนของผู้พัฒนาการผลิตให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น

Mate Controller

คำสั่งนี้จะอยู่ใน Mode ของงาน Assembly ข้อดีของคำสั่งก็คือ ผู้ใช้งานสามารถที่จะ Control มุมองศาของการหมุนชิ้นงานได้ง่ายเพราะจะมีเครื่องมือให้ผู้ใช้งานปรับองศา หรือแม้กระทั้งใส่ค่าตัวเลขได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถจำลองดูการทำงานของชิ้นงาน ว่าสามารถทำงานได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการได้หรือใม่  หากตำแหน่งการทำงานของชิ้นงานยังไม่ครบตามต้องการก็สามารถที่จะเพิ่มเติมโดยสร้างจากในคำสั่ง Mate Controller นี้ได้ทันที

 

robot-automation_02

เมื่อนำ Assembly ที่มีการทำ Mate Controller ไปทำงานต่อใน Animation ผู้ใช้งานสามารถดึงเอาค่าองศาต่างๆ ที่ทางผู้ออกแบบกำหนดเอาไว้ใน Mate Controller มาใช้งานใน Mode Animation ได้ทันที โดยไม่ต้องไปกำหนดค่าใหม่ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่ง Function ที่ลดเวลาในการทำงานได้อย่างดี

robot-automation_03

Magnetic Mates

คำสั่งนี้จะช่วยให้การประกอบงานใน  Assembly ได้รวดเร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น งานออกแบบวางแผนระบบในกระบวนการขนส่งลำเลียง โดยการประกอบงานปกตินั้นต้องมีการอ้างอิงผิวของชิ้นงาน ซึ่งในบางครั้งการทำงานที่มีขนาดใหญ่แต่พื้นที่ ที่ต้องการเลือกมีขนาดเล็กก็ต้อง Zoom in ชิ้นงานเข้ามาเพื่อทำการเลือกผิวชิ้นงานที่ต้องการ แต่ในคำสั่งของ Magnetic Mates ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเลือกผิวชิ้นงาน เพียงแค่ดึงชิ้นงานเข้ามาประกอบแล้วเอาไปวางยังตำแหน่งที่ต้องการ ชิ้นงานก็จะถูกลากเข้าไปติดกับจุดอ้างอิงนั้นๆ โดยอัตโนมัติ

robot-automation_04

อีกหนึ่ง Option ในคำสั่ง Magnetic Mates ผู้ใช้งานสามารถ Set Speedpak ได้จากในคำสั่ง Magnetic Mates ได้ทันที โดยผู้ออกแบบสามารถเลือกจะให้แสดงชิ้นงานได้ตามต้องการใน Mode Assembly และช่วยทำให้เปิดไฟล์งานขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ผู้ออกแบบงานสามารถปรับ-เปลี่ยน ในการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

robot-automation_05

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าระบบ Automation นั้นมีส่วนช่วยในเรื่องของการทำงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างมากมาย แต่ก็ต้องแลกกับการลงทุนเพื่อให้ตอบโจทย์และให้ทันในยุคของการพัฒนาของประเทศที่จะก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ซึ่งในการใช้งานของระบบเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องอาศัยการวางแผนที่ดี การออกแบบของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ การควบคุม การบำรุงรักษา และความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานของระบบนั้นๆ จึงจะช่วยให้การใช้งานระบบ Automation นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบ 3 มิติ SolidWorks : https://www.applicadthai.com/solidworks/

ว่าที่ ร้อยตรี จิรพงษ์   หงษ์สามารถ

สามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพียงกด Subscribe วารสารออนไลน์ประจำเดือน ที่รวบรวมข่าวสาร ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี 3D ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และออกแบบอุตสาหกรรมได้ที่นี่ หรือเข้าไปชมวารสารออนไลน์ย้อนหลังได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ

header-mi

 

mi_hh_16_12