Article - SolidWorks, Article Mi, Articles

Technology Industry Trends 2019 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้เรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีกับภาคธุรกิจนั้นเป็นเรื่องที่ขาดกันไม่ได้ สำหรับภาคธุรกิจไทยมีการปรับตัวนำหลายนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่น่าสนใจมาปรับใช้ในเชิงธุรกิจมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มากมายเหล่านี้มาจากความพยายามในการจะแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของผู้คน หลายรายเลือกที่จะนำไปพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับลูกค้า หรือทำให้สินค้าและบริการเหล่านั้นกลายเป็นที่ต้องการ และครองใจผู้คนได้อย่างง่ายดาย หรือบางรายอาจจะใช้สำหรับพัฒนาระบบในองค์กร SolidWorks ซอฟต์แวร์ออกแบบ 3 มิติ อันดับต้นๆ ของประเทศไทย อีกหนึ่งทางเลือกในการออกแบบทางด้านอุตสาหกรรม

CompTIA ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการค้าชั้นนำ สำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก ได้เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามองในปี 2019 ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อโอกาสทางธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งเราได้หยิบยกมา 5 เทคโนโลยี ที่กำลังเป็นเทรนด์ของภาคอุตสาหกรรมไทย ดังนี้

1. Internet of Things (IoT) จะเข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรม

 

Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันสู่โลกอินเตอร์เน็ต การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น ในยุคที่ IoT เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกอย่างรวมถึงทุกอุตสาหกรรม สร้างความแตกต่าง การแข่งขัน รวมถึงความหลากหลายของรูปแบบในการทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มงานที่มีขั้นตอนหลากหลายอย่างอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ประโยชน์ที่เกิดจาก IoT นั้นมีมากมายทั้งในเชิงคุณภาพ ปริมาณ และลดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนของการผลิต

IoT ที่เริ่มมีการใช้ในภาคอุตสาหกรรมจะมีเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านจากห้องทดลองสู่การให้บริการเชิงพาณิชย์แก่ลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น ด้วยเครือข่ายแบบ LPWA หรือการสื่อสารแบบไร้สายทางไกลพลังงานต่ำ ซึ่งออกแบบมารองรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ (M2M) เน้นรับ-ส่งข้อมูลจำนวนไม่มากนัก และใช้พลังงานต่ำ ทำให้การใช้งานมีความยาวนานมากกว่าการใช้ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ในขนาดที่ใหญ่ขึ้น เช่น การบริหารเมืองอัจฉริยะ ภาคอุตสาหกรรม และแอปพลิเคชันเชิงพาณิชย์ เช่น การติดตามระบบขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ การทำประมง และการควบคุมจราจร

ในส่วนของระบบหลังบ้านนั้น เริ่มมีความชัดเจนขึ้นถึงการใช้ประโยชน์ของระบบการสื่อสารต่างๆ ต่อการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ระบบ LTE เหมาะกับการใช้กับระบบกล้องวงจรปิดและระบบการสื่อสารภายในรถยนต์ ขณะที่ LTE-M เหมาะกับการใช้ในระบบขนส่ง ส่วน NB-IoT ใช้สำหรับการวัดเซนเซอร์ ซึ่งการพัฒนาของ LWPA จะยังคงมีขึ้นและได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในปี 2019

2. Automation กระดูกสันหลังอุตสาหกรรม

ระบบออโตเมชัน (Automation) หรือระบบอัตโนมัติ คือ ระบบใดๆ หรือกลไกที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของขั้นตอนการผลิตเท่านั้นหรือเป็นการผลิตแบบอัตโนมัติทั้งระบบเลยก็ได้ โดยทำงานตามโปรแกรมที่วางไว้ อาจเป็นการใช้กลไกคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ควบคุม เราจะมีหน้าที่ในการวางแผน วางโปรแกรม หรือออกคำสั่ง และดูแลเครื่องจักรเท่านั้น สำหรับระบบ Automation ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ Industrial Robot ถูกนำมาใช้ในงานสร้างรูปทรงโดยตัดเฉือนเนื้อวัสดุออก งานประกอบ งานตรวจสอบ งานหยิบจับวัสดุ เป็นต้น โดยหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำงานได้อัตโนมัติตามโปรแกรมที่ถูกตั้งค่าเอาไว้

สำหรับไทย หลายคนอาจมองว่า Automation เช่น หุ่นยนต์ อาจเป็นเรื่องใหม่ และกังวลว่าแรงงานอาจตกงานเพราะหุ่นยนต์มาทำงานแทน แต่จริงแล้วการเกิดขึ้นของระบบ Automation มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ หรือทำงานในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ซึ่งจริงๆ แล้วระบบ Automation สามารถลดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความต้องการ (Demand) และการใช้ทรัพยากรมากขึ้นในภาคส่วนอื่นๆ รวมถึงภาคส่วนของ Automation เองด้วย ทั้งยังมีส่วนช่วยให้การควบคุมขั้นตอนการผลิตในงานอุตสาหกรรมมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเพิ่มกำลังการผลิตและสร้างโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเป็นประจำอยู่แล้วสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน ในการทำงานจะทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันในตลาดต่างประเทศมีการตื่นตัวในการใช้ระบบ Automation และหุ่นยนต์เป็นอย่างมาก ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดโลกอย่างกว้างขวาง

ทั้งนี้ โรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะมีการใช้ระบบ Automation ที่มีลักษณะเฉพาะงานตามแต่ผลิตภัณฑ์ของแต่ละโรงงาน การออกแบบ Automation เพื่อที่จะใช้เฉพาะเครื่องจักรหรือเฉพาะงานล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการออกแบบระบบสำหรับเครื่องจักรนั้นไม่สามารถออกแบบระบบที่ตายตัวได้ จำเป็นต้องออกแบบเป็นพิเศษเฉพาะงานหรือเครื่องจักรเป็นรายเครื่อง รายตัวไป ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยการวางแผนที่ดี ต้องมีการออกแบบของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ การวางตำแหน่ง รวมไปถึงการวางแผนในการผลิต ไปจนถึงการควบคุม การบำรุงรักษา ตลอดจนมีความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานของระบบนั้นๆ เพื่อทำให้การใช้งานระบบ Automation หรือเครื่องจักรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้มีความจำเป็นจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่ดี มีความถูกต้อง แม่นยำในการออกแบบหรือวางตำแหน่งที่สำคัญ อีกทั้งต้องรวดเร็วในการทำงานและใช้งานง่าย ซึ่งในส่วนนี้จะขอแนะนำ SOLIDWORKS ซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบ 3 มิติ ที่ง่ายต่อการเรียนรู้ สามารถ ออกแบบระบบ Automation ได้คลอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยวิศวกรลดระยะเวลาในการออกแบบ ลดข้อผิดพลาดจากการสื่อสารระหว่างการออกแบบ ซึ่งก่อให้เกิดศักยภาพด้านการออกแบบสูงสุด และผลิตเครื่องจักรได้อย่างมีคุณภาพตอบโจทย์ทุกความต้องการของอุตสาหกรรมนั้นๆ คุณสามารถติดต่อขอสาธิตการใช้โปรแกรม หรือสัมมนาออนไลน์ได้ฟรี เพียงคลิ๊ก SOLIDWORKS

 

3. Artificial Intelligence (AI) จุดพลิกผันอุตสาหกรรม

AI : Artificial Intelligence หรือที่เรียกกันว่า ปัญญาประดิษฐ์ คือ โปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาขึ้นมาให้มีความฉลาด มีความสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน ตัดสินใจได้ และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างอัจฉริยะ โดยการประมวลผลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มากไปกว่านั้นยังสามารถดัดแปลงการประมวลผล ประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ สามารถสั่งการได้ด้วยวิธีเดียวกับที่เราสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง อีกทั้งยังคำนวณสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปอย่างเราทำไม่ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมมากขึ้น ในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งมีการใช้ AI และหุ่นยนต์เข้ามาดำเนินการผลิตแทนแรงงานมนุษย์ อุตสาหกรรมหนึ่งที่หลายคนคงเห็นภาพชัดที่สุด คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งต่อไปหุ่นยนต์ในโรงงานเหล่านี้จะทำงานได้อย่างละเอียดมากขึ้น แม้กระทั่งงานที่มีความซับซ้อน จนเรียกว่ากระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบอาจไม่พึ่งพาแรงงานมนุษย์อีกต่อไป ซึ่งมีการคาดการกันว่าระบบ AI จะถูกนำมาใช้ในระบบบริการลูกค้าถึง 85% ภายในปี 2020 และจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 33 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสังคมเริ่มตระหนักถึงผลกระทบของเทคโนโลยีต่อการใช้ชีวิต โดยในปี 2019 จะมีการตรวจสอบการใช้งาน AI จากสาธารณะมากขึ้น โดยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะมีการร่วมกันจัดตั้งกรอบธรรมาภิบาลและจริยธรรมในการใช้ AI เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ ตลอดจนสร้างความมั่นใจต่อสาธารณะในการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง โปร่งใส ติดตามได้ และมั่นคง

4. Virtual Reality / Augmented Reality เทคโนโลยีเสมือนจริง เทรนด์เขย่าโลกอุตสาหกรรม

Virtual Reality หรือ VR ความเป็นจริงเสมือน (เคลื่อนย้ายคุณเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนอย่างแท้จริง) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จำลองหรือสร้างโลกเสมือนขึ้นในรูปแบบสามมิติ  โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส โดยการใช้งานหรือการเข้าถึงระบบจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการมองโลกเสมือนและอุปกรณ์สำหรับโต้ตอบกับระบบ จุดเด่นของ VR คือ ผู้ใช้สามารถสัมผัสประสบการณ์ที่ถูกสร้างขึ้นได้แบบ 360 องศาภายในโลก 3 มิติที่ถูกจำลองขึ้นมา เหมาะสำหรับงานออกแบบ ความบันเทิง รวมถึงการฝึกอบรมผ่านสถานการณ์จำลอง

Augmented Reality หรือ AR ความเป็นจริงเสริม (ผสานโลกเสมือนเข้ากับสภาวะแวดล้อมในโลกจริง) คือ การรวมสภาพแวดล้อมจริง กับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน เป็นการมองโลกจริงไปพร้อมกับวัตถุเสมือน โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ, วิดิโอ, เสียง, ข้อมูลต่างๆ ที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์, มือถือ, เทปเล็ต, หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้ ตัวอย่างของการใช้งาน AR ก็คือ เกม Pokemon Go ที่ใช้มือถือเป็นทั้งตัวแสดงผลและอุปกรณ์โต้ตอบ

ปัจจุบันเทคโนโลยี VR และ AR ขยายวงกว้างออกไปมีการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น เช่น การแพทย์การท่องเที่ยว การค้าปลีก และการผลิต เมื่อแนวคิดการสร้างภาพจริง 3 มิติ ย้ายเข้าไปอยู่ใน VR หรือ AR จะช่วยให้นักออกแบบ วิศวกร ผู้ผลิต และนักสร้างสรรค์ ที่อยู่ในสาขาวิชาที่แตกต่างกันและสภาพแวดล้อมต่างๆ สามารถจำลองการออกแบบที่จะสร้างขึ้นและพร้อมใช้งาน หรือสามารถขยายการออกแบบภายในบริบทของงานเพิ่มเติมได้ เหล่านี้จะช่วยให้สามารถเข้าใจงานและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่า ผลิตภาพสูง และลดข้อผิดพลาดต่างๆ ลงได้

 

5. 3D Printing เทคโนโลยีแห่งโอกาสที่ยิ่งวันยิ่งโต

3D Printing หรือ เทคโนยีการพิมพ์ 3 มิติ คือ กระบวนการสร้างวัตถุ 3 มิติ โดยการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้นๆ จนได้ออกมาเป็นวัตถุที่ต้องการ (Additive Manufacturing) มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Prototype) วัสดุจะถูกขึ้นรูปหรือวางเชื่อมต่อกันภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ วัตถุ 3 มิตินี้ สร้างขึ้นจากข้อมูลดิจิตอลของแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทั้งในรูปแบบข้อมูล 3 มิติ (3D Model) หรือในรูปแบบชุดข้อมูล 2 มิติ ที่เรียงซ้อนเป็นชั้นๆ (Sequential Layers) ซึ่งทำให้สามารถขึ้นรูปได้เกือบทุกรูปทรง 3D Printing ก้าวเข้ามามีบทบาทและนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ มีการนำเทคโนโลยี 3D Printing มาใช้ในการผลิตรถยนต์จนถึงขั้นสามารถวางจำหน่ายกันเลยทีเดียว การผลิตอะไหล่ทดแทนในงานอุตสาหกรรม การผลิตอวัยวะเทียมทางการแพทย์ ตลอดจนการผลิตข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่เราคุ้นเคย

กระแสเทคโนโลยี 3D Printing เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้ชัดจาก รายงานฉบับใหม่ของ International Data Corporation (IDC) ที่แสดงให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ภาพ 3 มิติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2564 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 5 ปีที่ 22.4% สำหรับอุตสาหกรรมไทยนั้นกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนจากการรับจ้างผลิตมาเป็นการผลิตสินค้าของตัวเอง นั่นหมายถึงว่าผู้ผลิตจะต้องทำการออกแบบ การสำรวจตลาด การวางแผนการผลิตฯ ด้วยตัวเองทั้งหมด ซึ่งขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้จำเป็นที่จะต้องใช้ 3D Printing ทั้งสิ้น

3D Printing เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา มีความแตกต่างจากวิธีผลิตแบบเดิมๆ อย่างชัดเจน สามารถสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้มากกว่า ทั้งยังปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับความต้องการเฉพาะบุคคลได้ สามารถสร้างชิ้นงานที่ Custom-made ได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต สำหรับนักออกแบบสามารถเห็นโมเดล 3 มิติ ที่ตนออกแบบได้ในทันที ทำให้สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดและทำงานได้อย่างรวดเร็ว การผลิตก็ไม่จำเป็นต้องใช้แม่พิมพ์หรือ Tooling ทำให้สูญเสียวัตถุดิบน้อยกว่าการผลิตแบบทั่วไปซึ่งมักเริ่มด้วยวัสดุที่เป็นบล็อกใหญ่และตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกจึงช่วยลดปริมาณของเสียจากการผลิตได้อีกด้วย เครื่อง 3D Printer นั้นใช้งานง่าย และทำงานได้กับวัสดุที่หลากหลาย อาทิ ระบบฉีดพลาสติก Fused Deposition Modeling (FDM) Technology, PolyJet Technology, ระบบถาดเรซิ่น Stereolithography (SLA), ระบบหลอมผงวัสดุ Selective Laser Sintering (SLS) ซึ่งแต่ละชนิดเหมาะกับการใช้งานประเภทใดนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง สอบถามข้อมูล 3D Printer เพิ่มเติมได้ที่นี่

และสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการงานคุณภาพสูง ขณะนี้ถือเป็นปีที่คึกคักของตลาด Metal 3D Printing เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิดโลหะที่มีความเหนือชั้น เพราะสามารถผลิตชิ้นงานที่มีความซับซ้อน มีความละเอียดสูง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการคุณภาพสูง ทั้งยังทำงานได้เร็ว แต่กลับใช้เงินลงทุนและวัสดุที่น้อยลง ซึ่งจะทำให้การผลิตเชิงอุตสาหกรรมสามารถผลิตชิ้นงานที่นำไปใช้ได้จริง และนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำมายังผลกำไรต่อธุรกิจ ยิ่ง 3D Printing มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะได้เห็นการใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และนี่คือเทคโนโลยีการพิมพ์ที่สร้างชิ้นงาน สร้างโอกาส สร้างการแข่งขันในธุรกิจได้ด้วยความรวดเร็ว และประหยัดต้นทุนการผลิตได้มหาศาล  ข้อมูลเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิดโลหะเพิ่มเติมที่นี่

จะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ จะช่วยกำหนดทิศทางของโลกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ยุค IoT, การผสมผสานกันของ AR/VR, การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning), AI, หุ่นยนต์, กระบวนการผลิตด้วย 3D Printer, ประดิษฐกรรมขั้นสูง (Invention) และการออกแบบเชิงสร้างสรรค์จะช่วยให้มนุษย์และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อข้อมูลดิจิทัลกับสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นได้ พลังในการประมวลผล การเชื่อมต่อประสานแบบใหม่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของมนุษย์ ตลอดจนเพิ่มกำลังผลิต รวมทั้งช่วยให้เราสามารถผสมผสานและทำความเข้าใจข้อมูลต่างๆ รอบตัวเราได้ดียิ่งขึ้น เหล่านักออกแบบ และวิศวกรจะมีความสามารถตีความสิ่งที่ยุ่งยาก สิ่งที่สืบเนื่องกัน และสัญญาณที่ซับซ้อน รวมทั้งสามารถทำงานกลั่นกรองข้อมูลในบริบทแบบสามมิติ (3D) ได้ สามารถลดต้นทุนทั้งแรงงาน ทุนทรัพย์ และเวลาลงได้อย่างชัดเจน ในขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในเวลาเดียวกัน ซึ่งหมายถึงศักยภาพในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

ลองจินตนาการถึงหน้างาน หรือสถานที่ทำงาน นักออกแบบ วิศวกร ผู้ผลิต และนักสร้างสรรค์ ท่วมไปด้วยข้อมูลดิจิทัลที่มีความซับซ้อน หลายส่วนยังทำงานที่เต็มไปด้วยข้อมูลในกระดาษ และหลายคนยังคงทำภาพเสมือนจริงสองมิติ (2D) อยู่เลย แต่เมื่อแนวคิดการสร้างภาพจริงสามมิติ (3D) เกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเสริมหน้างานหรือความเป็นจริงเสมือนในระหว่างทบทวนการออกแบบนั้น ก่อให้เกิดความเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นอย่างลึกซึ้งขึ้น ทั้งนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งหมดนี้จะเป็นตัวช่วยกำหนดทิศทางของโลกอุตสาหกรรมได้

  • ขอสาธิตการใช้โปรแกรม หรือสัมมนาออนไลน์ได้ฟรี คลิ๊ก SOLIDWORKS

  • ขอราคาพิเศษ SOLIDWORKS คลิ๊ก PROMOTION

 

บทความอ้างอิง: Ten Tech Trends By CompTIA

บทความโดย: Wilaiphan S.


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ