Stratasys Technology 2022
3D Printing Technology Update for Smart Manufacturing
ถ้าจะพูดถึงเทคโนโลยี 3D Printing สำหรับงานอุตสาหกรรม แบรนด์ Stratasys ถือได้ว่าเป็นแถวหน้าในอุตสาหกรรมนี้ หลังจากสิทธิบัตรหมดอายุ ก็เกิดแบรนด์ 3D Printer ออกมาสู่ตลาดอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน แต่ Stratasys เองก็ยังคงเป็นแถวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน 3D Printing มาอย่างต่อเนื่อง และยังคงความเป็นผู้นำไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถรองรับงานได้หลากหลายครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น
Automotive
Transportation มักนำ 3D Printer มาใช้ในงานด้าน Prototyping, Jig & Fixture รวมถึง Robot Gripper เนื่องจากความสะดวก รวดเร็ว การทำ Prototype ที่เหมือนของจริงระดับ Full Color และ 3D Texture อีกทั้งยังมีวัสดุที่ให้ความแข็งแรง ใช้งานได้จริงระดับงานอุตสาหกรรมได้อีกด้วย (กรณีศึกษา)
Aerospace
อุตสาหกรรมการบิน และอวกาศ ก็ต้องการผลิตชิ้นงานเพื่อซ่อมแซม หรือเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน แต่ยังได้ความแข็งแรงในการใช้งานสูง ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก เพราะการผลิตแบบเดิมในปริมาณที่จำกัด มีต้นทุนค่อนข้างสูงสำหรับธุรกิจรูปแบบนี้ (กรณีศึกษา)
Dental
สำหรับงานด้านทันตกรรม ก็สามารถผลิตวัสดุเพื่อใช้ในงานด้านทันตกรรมได้ เช่น Aligners ที่สามารถปริ้นต์ต่อยอดจากงานสแกนได้ทันที (กรณีศึกษา)
Medical
เทคโนโลยีที่ช่วยในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการจำลองชิ้นส่วนของร่างกายเพื่อใช้ประเมินการรักษา และการเรียนรู้ทางการแพทย์ (กรณีศึกษา)
Consumer Product
ช่วยในการผลิตสินค้าต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ผลิตชิ้นงานตัวอย่างที่สมจริง เพื่อให้ได้สัมผัสสินค้าเสมือนจริงก่อนการผลิต ลดต้นทุนที่อาจเกิดจากความผิดพลาดในการออกแบบ และการทดสอบผลิตภัณฑ์ได้ (กรณีศึกษา)
Transportation
นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปริ้นต์อะไหล่ของอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยลดเวลา และต้นทุนไปได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังใช้ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ในกรณีที่อยู่ห่างไกลอย่างในทะเล หรือในอวกาศได้อีกด้วย (กรณีศึกษา)
เทคโนโลยีของ Stratasys ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน
1. เทคโนโลยี FDM ย่อมาจาก Fused Deposition Modeling เป็นเทคโนโลยีสำหรับวัสดุ เทอร์โมพลาสติก เหมาะสำหรับการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ต้องการความแข็งแรง และความแม่นยำสูง
2. เทคโนโลยี Polyjet คือเทคโนโลยีสำหรับการปรินต์งานที่ต้องการความเรียบ เนียน สวย และรองรับวัสดุได้หลากหลายชนิด
3. เทคโนโลยี P3 คือเทคโนโลยี Photo Polymer ซึ่งต่อยอดมาจาก Digital Light Processing (DLP) ช่วยเพิ่มความสามารถในการรทำ Mass Production หรือชิ้นงานจริงแบบ End-Used Part ได้
4. เทคโนโลยี SAF ย่อมาจาก Selective Absorption Fusion เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การผลิตชิ้นงานที่ใช้จริงได้ หรือ End-Use Part และผลิตหลายชิ้นในครั้งเดียว
5. เทคโนโลยี Stereolithography คือเทคโนโลยีที่ผลิตแบบ High Volume ที่ให้งานคุณภาพสูง ลดเวลาการแต่งผิวได้ถึง 50%
โดยเครื่องรุ่นใหม่ในปีนี้ได้แก่
1. เทคโนโลยี FDM ที่เน้นการปริ้นต์งานขนาดใหญ่อย่างรุ่น F770 โดยขนาดของ Build size อยู่ที่ 1,000 x 610 x 610 mm ปริ้นต์งานได้ใหญ่ เนียบ แบบไร้รอยต่อ (รายละเอียดเพิ่มเติม)
2. เทคโนโลยีใหม่ในส่วนของ Polyjet จะเป็นเครื่องรุ่น J35 ที่ปริ้นต์งานที่มีความละเอียดสูง ผิวเรียบ สวยงาม รองรับ Material หลากหลายชนิด (รายละเอียดเพิ่มเติม)
3. ในส่วนของเทคโนโลยีกลุ่ม P3 ก็มีเครื่องรุ่นใหม่ที่น่าสนใจอย่าง Origin® One ที่ขยับเข้าสู่โลกใหม่ของ 3D Printer ในงาน Mass Production ที่มาพร้อมความละเอียดแม่นยำ (รายละเอียดเพิ่มเติม)
4. ส่วนเทคโนโลยีใหม่ในหมวด SAF คือรุ่น H350 เป็นอีกรุ่นที่ใช้สำหรับการปริ้นต์งาน End-Use Part ในปริมาณมากๆ จุดเด่นคือคุณภาพผิวสัมผัสของชิ้นงาน ในราคาต่อชิ้นที่ประหยัดกว่าเทคโนโลยีอื่น (รายละเอียดเพิ่มเติม)
5. Stereolithography กับรุ่น Neo คือรุ่นที่ผลิตชิ้นงานได้ทีละมากๆ และได้งานคุณภาพที่จะช่วยลดเวลาการแต่งผิวไปได้กว่า 50% จากรุ่นก่อนที่เคยมีมา (รายละเอียดเพิ่มเติม)
โดยภาพรวมของเทคโนโลยีล่าสุดจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มมุ่งสู่การผลิตแบบ Mass Production หรือ End Used Part ที่สามารถนำมาใช้ได้จริง ซึ่งจะทำให้ 3D Printer เข้ามามีบทบาทอย่างเด่นชัดและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตแบบเดิมได้ในไม่ช้า
ข้อมูลเพิ่มเติม : 3D Printer
ติดตามและอัปเดตข้อมูลเทคโนโลยีด้านการออกแบบเพื่องานอุตสาหกรรมการผลิต ได้ที่ www.applicadthai.com และ https://www.youtube.com/user/AppliCAD
สามารถเข้าชมศูนย์นวัตกรรมของแอพพลิแคด และเปิดประสบการณ์สัมผัสการทดลองใช้จริงสามารถลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชม AIC : คลิกลงทะเบียน |