Article - SolidWorks Electrical, Articles

Smart Electrical Design

Article_Electrical_16_05_01

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ในวันนี้ผมได้มีโอกาสที่จะเขียนเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง Smart Electrical Design

ซึ่งในนิยามที่ผมให้กับคำนี้ก็คือ

“เป็นวิธีการนำซอฟต์แวร์มาช่วยในกระบวนการออกแบบไฟฟ้า เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน”

แล้วประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ซอฟต์แวร์ งานออกแบบเขียนแบบไฟฟ้าคืออะไรบ้างล่ะครับ เอาล่ะ เราลองมาดูเป็นรายหัวข้อกันครับ

เริ่มด้วยข้อแรก “พร้อมใช้งาน “

ถ้าคุณมองหาโปรแกรมเพื่อที่มาช่วยทุ่นแรงงานที่แสนหนักอึ้งของคุณอยู่ ส่วนที่ควรพิจารณาเป็นข้อแรกๆ เลย คือ

“มันต้องพร้อมใช้งานครับ” อาจจะมีข้อสงสัยว่า ยังไงถึงจะเรียกว่าพร้อมใช้งาน ก็คล้ายๆ กับบะหมี่สำเร็จรูปนั่นล่ะครับ เลือกว่าจะทานรสไหน จากนั้นฉีกซอง ใส่น้ำร้อน ปิดฝา แล้วรอ 3-5 นาที แค่นี้ก็ทานได้แล้ว ถ้าใส่อยากอะไรเพิ่มลงไปก็ค่อยหามาใส่หลังต้มเสร็จ

เช่นกันครับกับซอฟต์แวร์เขียนแบบไฟฟ้า ก็ควรที่จะเป็นแบบนี้คือ เปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วก็เลือกว่าจะอิงการทำงานกับมาตรฐานสากลใดในโลกใบนี้ แล้วก็เลือกเอาสักอย่าง จากนั้นก็นำสัญลักษณ์ตามมาตรฐานนั้นๆ มาทำการออกแบบเขียนแบบได้อย่างรวดเร็ว แล้วทำไมถึงต้องเร็วและพร้อมใช้งานครับ เพราะเวลาคือสิ่งที่มีค่า และเวลาเป็นเงินเป็นทองครับ ฉะนั้นจึงไม่ควรเสียเวลาไปกับกระบวนการยุ่งยากและซับซ้อนของโปรแกรมที่ไม่มีพร้อมใช้งาน

จากนั้นเรามาดูข้อที่สองกัน “กระบวนการต้องไม่ซ้ำซ้อน”

ทีนี้เราก็มาดูว่ากระบวนการที่ซ้ำซ้อนในการทำแบบนั้นคืออะไร ถ้าผมตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ กระบวนการที่ทำในครั้งแรกเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องนำข้อมูลนั้นมากระทำซ้ำอีก ซึ่งมันทำให้เสียเวลาไปค่อนข้างเยอะครับ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ผมจะขอยกตัวอย่างสักเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตการเขียนแบบของผมก่อนหน้านี้จริงๆ สักตัวอย่างหนึ่งแล้วกันนะครับ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ผมได้รับมอบหมายทำแบบงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นในส่วนของการถอดแบบเครื่องจักรตัวหนึ่ง ซึ่งเครื่องจักรตัวนั้นมันก็มีอยู่แล้วนั่นแหละครับ แต่แบบมันอาจจะหายไปแล้ว หรือไม่ก็ไม่เคยมีเลย ทีนี้ หน้าที่ของผมก็คือ ย้ายข้อมูลเจ้าเครื่องจักรตัวนั้น มาลงในแบบซะ โดยให้อยู่ในรูปแบบของ CAD File เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการค้นหาข้อมูล และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ใช่ครับ งานนี้ฟังแล้วดูดีเลยทีเดียว ข้อมูลที่ต้องเก็บก็ต้องถูกแยกออกเป็นส่วนๆ ไป เช่น ในส่วนของโครงสร้างตัวเครื่องจักร แบบจุดติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ และก็แบบ Schematics Diagram ของงานไฟฟ้า อันนี้ต้องก่อนว่า เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นนะครับ

ที่นี้ขั้นตอนก็คือการวางแผนในการทำแบบ As built ของเจ้าเครื่องจักรตัวนี้ ว่าจะเริ่มต้นจากไหนก่อน แต่ละส่วนจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ เมื่อวางแผนชัดเจนตามนี้ผมก็จะไม่หลงทางครับ ทีนี้เราก็เริ่มทำแบบแล้วเก็บข้อมูลตามกระบวนการที่เราวางแผนไว้

แล้วมันซ้ำซ้อนตรงไหน?

คือแบบนี้ครับ ขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนจะเกิดขึ้นในกระบวนการทำแบบครับ เช่น โครงสร้างของเครื่องจักรที่เราได้ถอดแบบมาไว้แล้วทุกมิติของตัวเครื่อง เราจะต้องแยกขยายรายละเอียดในแต่ละส่วนออกมา เพื่อนำมาให้รายละเอียดในการประกอบหรือติดตั้งแบบนั้นๆ อีกครั้งนึง (Shop Detail) ซึ่งจะถูกแยกออกเป็นหลายๆ แผ่น และต้องมีการบอกขนาด และข้อความลงในแบบแผ่นนั้นๆ ทุกแผ่น ใช่ครับ คุณอ่านไม่ผิด ซึ่งอันที่จริงมันก็ข้อมูลดิบที่เราเก็บไว้ในเบื้องต้นนั่นแหละครับ และต้องกลับมาทำซ้ำอีก ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ จะเห็นชัดเจนมากๆ ถ้าใช้โปรแกรมประเภท File System เอาล่ะสิศัพย์แปลกๆ มาอีกแล้ว มันคืออะไร ไอ้เจ้า File System เนี่ย

คำนิยามของ File System ที่ใช้ในงานเขียนแบบคือ โปรแกรมเขียนแบบที่มีลักษณะเป็น Blank Drawing File เป็นไฟล์ที่ถูกสร้างจากโปรแกรมเขียนแบบนั้นๆ ขึ้น หลังจากเปิดเสร็จแล้วท่านจะพบแต่ความว่างเปล่า ท่านต้องสร้างข้อมูลทุกอย่างด้วยตัวเองครับ ไม่สนุกแน่ถ้างานเร่งรีบส่งใช่มั้ยครับ ผลลัพท์จึงลงเอยด้วยการขึ้นงานจริงไปเลย ไม่ต้องรอแบบ อยากได้อะไรก็ซื้อๆ (ถึงจุดนี้ก็หมายความว่า คุมงบประมาณไม่ได้แน่ๆ) เมื่อไม่มีพิมพ์เขียว และรายการวัสดุที่ชัดเจน (Bill of Materials) ที่ชัดเจนในการทำงาน ผลลัพท์ก็คือ งบประมาณที่บานปลายของโครงการ เวลาที่ต้องใช้ทำงานนานขึ้นกว่าเดิมจากแผนที่วางไว้ และนั่นมีในส่วนของค่าแรง และเศษวัสดุสิ้นเปลืองที่เหลือเกินความจำเป็นจากโครงการนั้นๆ และนั่นก็คือค่าใช้จ่ายทั้งนั้นครับ ต้นทุนมันเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุใช่มั้ย

ทีนี้ท่านผู้อ่านน่าจะพอเห็นภาพของความเสียหายที่เกิดขึ้นบ้างแล้วนะครับ หลังจากที่ผมพาออกทะเลมาซะไกล ฮ่าๆ ทีนี้ผมจะวกไปเรื่องการทำแบบของผมอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้เหตุการณ์เปลี่ยนไปครับ ผมเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับประเภทงาน ไอ้งานมหาโหดแบบนี้ พวกโปรแกรมแบบ File System ก็พอทำได้ครับแต่มันเหมือนกับสุภาษิตที่ว่า “ขว้างงูไม่พ้นคอ”ผมเลยเปลี่ยนมาใช้เครื่องมือเขียนแบบประเภท Project System ครับ

แล้ว Project System มันต่างกับ File System อย่างไร?

บอกตามตรงว่าคนละเรื่องเลยครับ เพราะโปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อที่จะลดกระบวนการที่เสียเวลาในการเขียนแบบทั้งหมด และช่วยการรวบรวมข้อมูลของรายการวัสดุ (Bill of Materials) ได้อย่างอัตโนมัติ แค่เรื่องการจัดการ BOM ให้อัตโนมัตเนี่ยก็ลดเวลาได้มาโขแล้วครับ เพราะส่วนมากจะไปเสียเวลากับการทำซ้ำงานส่วนนี้ค่อนข้างเยอะ และค่อนข้างจะผิดเยอะด้วย

และเรื่องสำคัญคือ งานในระดับโครงการเนี่ยมีความเคลื่อนไหวของข้อมูลอยู่เสมอ เขียนซะดูดี เอาง่ายๆ ครับ เรียกว่าแบบไม่นิ่งนั่นแหละครับ สั่งเช้าแก้เย็น อะไรประมาณนี้ งานก็ยืดออกไปสิครับ แต่ไม่ต้องกังวลครับ ปัญหาแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นกับโปรแกรมประเภท Project System ครับ เพราะมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง สามารถเซตแบบทำคนเดียวก็ได้ หรือจะตั้งค่าให้ทำแบบในลักษณะ Network ก็ได้เช่นเดียวกัน

ทีนี้โปรแกรมอะไรล่ะที่เหมาะสมกับงานมหาโหดมูลค่าสูงแบบนี้

ผมขอแนะนำโปรแกรม SolidWorks Electrical ครับ โปรแกรมตัวนี้มีความพร้อมทุกด้านในงานเครื่องกลไฟฟ้าเพื่องาน Automation หรือ Mechatronic  ซึ่งจะช่วยลดเวลา และต้นทุนในการทำงานในโครงการของคุณ ซึ่งตอนนี้ข้อมูลในไทยก็เริ่มมีเยอะแล้วครับ ถ้าเล่น Facebook ก็จะมี Page อย่าง Thai Electrical Drawing ลองค้นๆ เข้าไปดูนะครับ หรือจะลองเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมดีๆ แบบนี้ได้ที่ elecad2014.blogspot.com ครับ

สำหรับในฉบับนี้คงต้องจบเพียงเท่านี้ แล้วฉบับหน้าผมจะหาเรื่องเล่าสนุกๆ เกี่ยวกับการทำแบบมาให้อ่านอีกครั้งนะครับ

ขอบคุณครับ

สุรเชษฐ์ มังษะชาติ


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ