Article - ArchiCAD, Article Ci, Articles

Power of BIM ติดอาวุธ ยกระดับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วย BIM

Power of BIM ติดอาวุธ ยกระดับธุรกิจอสังหาฯ ด้วย BIM

Archicad BIM ยกระดับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เตรียมความพร้อมรับการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อการพัฒนาประเทศไปสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0”

นับได้ว่าเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่งแล้วที่หลากหลายธุรกิจต้องเผชิญกับสภาวะซบเซา ทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤตในปัจจุบัน บางธุรกิจเลือกที่จะชะลอการผลิต และระงับแผนสู่การเติบโต โดยเฉพาะในภาคของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกได้ว่า บางบริษัทแทบจะไม่ขยับตัว BIM ยกระดับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 

แต่ในขณะที่กลุ่มบริษัทอีกจำนวนหนึ่งยังคงพัฒนาบุคคลกร และทรัพยากร ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมรับกับโครงการต่างๆ ที่จะไหลเข้ามาในอนาคต ซึ่งเรียกได้ว่า เมื่อสัญญาณ Start ดังขึ้น ก็พร้อมวิ่งพุ่งตัวออกไปรับงานโครงการต่างๆ ทันที โดยเฉพาะโครงการในพื้นอุตสาหกรรมใหม่ อย่าง EEC อันเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว เพื่อยกระดับคุณภาพประเทศ โดยแผนการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี ทั้ง 8 แผน ประกอบด้วย

  1. แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  2. แผนปฏิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  3. แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี
  4. แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
  5. แผนปฏิบัติการการพัฒนาเมืองใหม่และชุมชน
  6. แผนปฏิบัติการการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางการเงิน
  7. แผนปฏิบัติการการประชาสัมพันธ์และการสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการกับประชาชน
  8. แผนปฏิบัติการการเกษตร ชลประทาน และสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการในพื้นที่ EEC Ref : https://www.eeco.or.th/th/development-goals 

อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการลงทุน โดยมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับการลงทุน การพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดระบบการสะสมเทคโนโลยี ซึ่งหลายโครงการจำเป็นต้องมีแผนในการก่อสร้างขนาดใหญ่รวมไปถึงการ Renovate เรียกได้ว่าเป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจ เพราะโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้กลายเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศไปสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0”

บทบาทของ BIM ต่อวงการก่อสร้าง

เชื่อได้ว่าในปัจจุบันคนในวงการก่อสร้างหลายคนน่าจะรู้จัก BIM (Building Information Modeling) หรือกระบวนการจำลองการก่อสร้าง และบริหารการก่อสร้างในรูปแบบข้อมูล Digital กันอยู่แล้ว ปัจจุบัน BIM เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างมาก ทั้งยังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ อาทิ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เป็นต้น และในไทยเอง บริษัทชั้นนำ ก็ได้นำ BIM เข้ามาใช้งาน ซึ่งถือว่าสร้างความได้เปรียบในด้านธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง
หลายท่านที่กำลังศึกษา และเริ่มต้นใช้ BIM มาดูกันว่า BIM คืออะไร และ BIM จะสามารถเข้ามาช่วยงานได้อย่างไร

BIM คืออะไร

ปัจจุบันเทคโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์มากขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อความสะดวกสบาย ส่งผลตั้งแต่ชีวิตประจำวันของเรา ไปจนถึงระดับธุรกิจ จะเห็นได้ว่าทุกวงการสาขาอาชีพวันนี้ต้องมีการปรับตัวให้เข้าเทคโนโลยีมากขึ้น วงการก่อสร้างก็เป็นเช่นนั้น โดยการเข้ามาของระบบ BIM หรือชื่อเต็มที่ว่า Building information Modeling ก็มีส่วนทำให้วงการเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ให้กระชับฉับไวและมีความแม่นยำมากขึ้น

บางคนอาจจะมองเรื่องของ BIM ว่าเป็นชื่อของซอฟต์แวร์ แต่จริงๆ แล้วเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะแท้จริงแล้ว BIM คือ กระบวนการสร้างข้อมูลสำหรับงานอาคาร ไม่ได้เจาะจงเฉพาะ ซอฟต์แวร์เพียงแค่ซอฟต์แวร์เดียว เพราะในแต่ละซอฟต์แวร์มีความสามารถเฉพาะทางที่ต่างกัน ถ้ายิ่งเราสร้างข้อมูลได้ละเอียดมากเท่าใด Model จาก BIM ก็สามารถใช้งานได้จนครบ Life Cycle ของการก่อสร้างอาคาร โดย Life Cycle แบ่งเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1. Design 2. Build 3. Operate 4. Maintain ซึ่งแต่คนละคนจะเข้ามาช่วยกันสร้างข้อมูลลงไปใน BIM Model เช่น สถาปนิกวิศวกรโครงสร้าง วิศวกรงานระบบ เป็นต้น

ประโยชน์ของ BIM ที่คุ้มค่าต่อการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจก่อสร้าง

BIM คือ กระบวนการสร้าง และบริหารข้อมูลสำหรับงานอาคาร ยิ่งเราสร้างข้อมูลได้ละเอียดมากเท่าใด Model จาก BIM ก็สามารถใช้งานได้จนครบ Life Cycle ของการก่อสร้างอาคารเท่านั้น ซึ่งประโยชน์ของ BIM ต่อธุรกิจที่เห็นชัดๆ นั้นมีดังต่อไปนี้

1. เพิ่มความถูกต้อง ความรวดเร็ว ในส่วนงานออกแบบ ทำแบบ การถอดปริมาณ

2. ผู้ร่วมโครงการสามารถสื่อสาร และมองเห็นภาพการทำงานได้ชัดเจนมากขึ้น

3. ลดความผิดพลาดในการประสานงาน ลดความสูญเสีย

4. ลดการใช้ทรัพยากรบุคคล

5. ควบคุมงบประมาณ และจัดสรรเวลาในการทำงานได้

6. ยกระดับการทำงานในโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. ยกระดับภาพลักษณ์ของบริษัทเจ้าของโครงการ

ทั้งนี้ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐเข้ามามีบทบาท และให้ความสำคัญ กับการเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ BIM เพื่องานภายใน และการอบรมการใช้งานให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อให้สามารถตอบรับโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น BIM จึงถือว่าเป็นอาวุธด้านงานก่อสร้าง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการทำงาน 

มาตรฐาน BIM และแนวโน้มการใช้งาน

การเริ่มต้นใช้งาน BIM ที่ดีจำเป็นต้องการมีวางแผน จึงมีตำแหน่ง BIM Manager เข้ามาดูรายละเอียดในเรื่องนี้ เพราะสถาปนิก วิศวกร ก็จะทำเฉพาะในส่วนงานของตัวเอง เพื่อให้งานออกมาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน BIM Manager จึงต้องวางแผนให้กับทีมที่ทำ BIM Model ด้วย ปัจจุบันมีมาตรฐานการจัดการข้อมูลเพื่อที่ให้ได้ข้อมูลไปใช้จนครบ Lifecycle อาคารได้ อย่างเช่น ISO 19650 ของทางประเทศอังกฤษ ที่เน้นเรื่องการเตรียมข้อมูลจากโมเดลเพื่อทำในส่วนของ Asset Management

สำหรับไทยเองก็เริ่มมีทิศทางเรื่อง BIM แพร่หลายมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2563 ได้มีจัดการจัดตั้งสมาคม TBIM หรือสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อเป็นผู้ดำเนินการในการเผยแพร่ความรู้ในการใช้ BIM ตลอดจนผลักดันมาตรฐานของการใช้ BIM ในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันทางสมาคมสถาปนิกสยามได้ออกคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำ Model BIM ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เรียบร้อยแล้ว

Archicad is First BIM

Archicad เป็นซอฟต์แวร์ BIM ตัวแรกของโลก โดยพัฒนาจากสถาปนิกจากประเทศฮังการี ที่สำคัญซอฟต์แวร์ Archicad มีแนวคิดเป็น Open BIM โดยสามารถรับ-ส่งไฟล์กับโปรแกรมอื่น ๆ เฉพาะทางได้อีกด้วย ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Archicad มากกว่าสองแสนคนทั่วโลก ราวๆ 108 ประเทศ  ซึ่งพิสูจน์แล้ว ว่า BIM มีประโยชน์  ในกระบวนการก่อสร้าง ในส่วนต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด

ตัวอย่างโครงการที่ใช้ Archicad BIM

BIM จะเข้ามาช่วยในการทำงานได้อย่างไร 

1. ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น เพราะสามารถขึ้นโมเดลสามมิติแล้วได้แบบสองมิติ ไม่ว่าจะเป็นรูปด้าน รูปตัด แปลน โมเดลสามมิติและปริมาณวัสดุพร้อมกันในเวลาเดียว

2. ลดปัญหาการ Combine แบบ เนื่องจากการทำงานด้วยระบบ BIM จะมีโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบจุดที่เกิดปัญหาจากการ Combine ให้กับผู้ใช้งาน อย่างเช่น ซอฟต์แวร์ Archicad และ Solibri ที่มีระบบการเช็คชนกันของโมเดล

3. พบข้อผิดพลาดก่อนนำไปสร้างจริง ยกตัวอย่างเช่น งานระบบ ในสามมิติ จะเห็นภาพชัดเจนมาก จุดไหนท่อชนกัน

4. หากมีการแก้ไขแบบ เพียงแก้แค่จุดเดียว งานส่วนอื่นๆ ก็ปรับตามหมด ไม่ว่าจะเป็น รูปด้าน รูปตัด หรือ ปริมาณวัสดุ

5. รองรับการทำงานบนไฟล์เดียวกัน โดยทุกคนมาสามารถแบ่งงานกันทำ ผ่านระบบ Cloud Server ทำให้งานเสร็จไวขึ้นมากกว่าเดิม สำหรับใน Archicad จะเรียกว่าเป็นการทำงานแบบ Teamwork และในช่วงโควิดที่เราไม่สามารถเจอกันได้ เราก็สามารถทำงานคนละที่ได้ในไฟล์เดียวกัน

6. คำนวณปริมาณวัสดุแม่นยำมากขึ้น ในบางครั้งการคำนวณปริมาณวัสดุจากคนอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ หรือ มีการเผื่อเหลือเยอะเกินไป ทำให้ราคาในการก่อสร้างยังสูง แต่การใช้ BIM จะทำให้ทราบปริมาณที่แท้จริงของวัสดุเพื่อเป็นข้อมูลให้เราตัดสินใจในการเผื่อปริมาณวัสดุให้แม่นยำมากขึ้น

7. สามารถนำโมเดลไปวิเคราะห์ เพื่อให้อาคารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแรงของโครงสร้าง หรือ เรื่องการประหยัดพลังงาน

8. สามารถนำโมเดลไปใช้ในเรื่องของการจัดการสินทรัพย์ภายในอาคารได้ เพราะระบบ BIM จะทำให้เห็นภาพรวมจากโมเดลได้ว่าในอาคารมีสินทรัพย์อะไรบ้าง อยู่ตรงตำแหน่งไหนและข้อมูลข้างในสินทรัพย์มีอะไรบ้าง

9. ข้อมูลทุกอย่างมาจากโมเดลตัวเดียวกัน และถูกเก็บเป็นไฟล์ในคอมพิวเตอร์ ทำให้มีความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล ทั้งในรูปแบบของ 3D และ 2D ทำให้ได้ข้อมูลที่ครบและปลอดภัยกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของเอกสาร

10. รองรับเทคโนโลยีสแกนสามมิติ เป็นการเก็บข้อมูลสามมิติของสภาพแวดล้อมจริงเป็นไฟล์สามมิติ สามารถนำมาอ้างอิงในการออกแบบอาคารของเราในโปรแกรม BIM ได้ ทำให้ได้ขนาดและความสูงของอาคารรอบข้าง Site ได้แม่นยำ และไม่ต้องเสียเวลาในการขึ้นโมเดลใหม่ทั้งหมด

ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตรฐานของการทำงานด้วยระบบ BIM ขึ้นมาเพื่อให้เป็นมาตรฐานตั้งแต่การขึ้นโมเดลไปจนถึงการทำแบบ Drawing และที่สำคัญในหลายๆ ประเทศได้มีการพัฒนาระบบ BIM มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อมาปรับใช้กับงานก่อสร้างจากประโยชน์ข้างต้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องหันมาเริ่มใช้ระบบ BIM ในการทำงานแทนการทำงานด้วยระบบ 2D แบบในอดีต

ทดลองใช้ซอฟต์แวร์ฟรี : Archicad 
ขอสอบถามราคา : Archicad 

เสียงตอบรับจากผู้ใช้ BIM

ทำไมต้องใช้ BIM “ใช้ BIM แล้วดียังไง” ออกแบบเร็ว ผิดพลาดน้อย งานดีมีคุณภาพ

SMC ลดต้นทุน ปิดงานประมูล เผยมีตัวช่วยถอดปริมาณแม่นยำ

ทำไม Archicad ถึงเป็นที่หนึ่งในใจพวกเขา การันตีจากผู้ใช้จริง

ทดลองใช้ซอฟต์แวร์ฟรี : Archicad 
ขอสอบถามราคา : Archicad 
ทดลองใช้ Archicad BIM
เรียนออนไลน์ฟรี!! ออกแบบอาคาร 3 มิติ (3D CAD) ด้วยโปรแกรม ARCHICAD BIM ไม่มีพื้นฐานก็สามารถออกแบบได้

Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ