“ถ้าเราไม่ใช้ 3D Printer ตั้งแต่เริ่มต้น เราจะต้องเสียเวลาไปกับการรอขั้นตอนการทำ Machine เพื่อทำ Part ขั้นตอนการทำขึ้นรูปโลหะค่อนข้างใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ถ้าทำรอบแรกแล้วไม่ได้ เท่ากับเราต้องเริ่มต้นทั้งหมดใหม่ เสียเวลาและต้นทุนไปตั้งเท่าไหร่”
“3D Printer ถ้าเลือกผิด ก็ใช้งานจริงไม่ได้ แถมยังมีปัญหาตามมา”
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เคยมีโอกาสใช้ 3D Printer เราก็ลองปริ้นท์ แต่ว่าคุณภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ในเรื่องของเนื้อ ความเรียบ ความสวยงาม อีกทั้งยังเคยติดปัญหาในการปริ้นท์ไม่จบงาน เครื่องหยุดกลางครัน
“เคยประชุม 3-4 รอบ ยังเข้าใจ Concept ไม่ตรงกัน ไม่เห็นภาพ แม้เป็นภาพ 3D”
กระบวนการในการขึ้นรูปชิ้นงาน เรามีแต่ข้อมูลที่เป็น 3D พอมีข้อมูลที่เป็น 3D อย่างเดียว เราใช้เวลาในการประชุมงานนี้ 3-4 รอบ อีกทั้งยังไม่เข้าใจกันซักที
งานที่อินเดีย ลูกค้าอยากได้เครื่องที่ Machine Part มี 10 กว่า Operation เวลาที่เราคุย Concept กัน ในรูปแบบ 3D การเห็นภาพต่างๆ ความเข้าใจมันไม่มากพอ (ส่วนใหญ่จะอยู่บนจินตนาการของแต่ละคน) ทำให้การประชุมเราเข้าใจไม่ตรงกัน คุยกันหลายครั้ง สุดท้ายจึงตัดสินใจปริ้นท์ เป็น Prototype ออกมา ด้วยเครื่อง MakerBot พอเราประชุมคุยกัน ก็สามารถชี้ได้เลย เช่น เรากำลัง Machine ตรงนี้ จะหมุนไปด้านไหน และทำการ Cutting ตรงจุดนี้ ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุม เห็นภาพตาม และเห็นภาพเดียวกัน ช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น
“รอทำ Machine Part ใช้เวลานาน ต้นทุนแพง ยิ่งถ้ามีแก้แบบ ต้องยืดเวลาออกไปอีก”
ทีมงานได้รับโจทย์ในการวาง Concept ให้ลูกค้า การดูดแก๊สออกจากภาชนะ ลูกค้าจะมีภาชนะปิดที่มีลักษณะเหมือนถังแก๊สอยู่ต้องปลดล๊อกวาล์ว และปลั๊กกันไม่ให้แก๊สที่กำลังถ่ายออกมันรั่วออกมาส่งกลิ่นเหม็น และเป็นอันตรายต่อ Opareter เป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยาก และมีข้อสงสัยในชิ้นงานค่อนข้างเยอะ ชิ้นงานที่จะต้องนำไปปลั๊กก็มีรูปแบบที่หลากหลาย เราคุยกันหลายครั้งว่าจะใช้ Solution ไหนในการแก้ไขปัญหา
เราต้องคิดว่าจะดูดแก๊สออกมาให้หมดภาชนะให้ได้ ด้วยการกดวาล์ว และดูดแก๊ส ออกจากภาชนะออกมาให้หมด ต้องเช็คว่าไม่แก๊สค้างอยู่ในภาชนะนั้นแล้วจริงๆ
หลังจากที่เราดีไซต์เสร็จแล้ว ถึงขั้นตอนที่จะต้องสั่งผลิตเพื่อนำชิ้นงานมาเทส เราจึงเลือกปริ้นท์ชิ้นงานนี้ด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ จากเครื่อง MakerBot 3D Printer ชุดคล้องเข้ากับวาล์วแก๊ส ชิ้นที่เป็นตัวกดวาล์วแก๊ส และเป็นตัวดูดผ่านแก๊สเข้าภาชนะ ครั้งแรกที่ปริ้นท์เราตั้งใจจะเอามาดูแค่ดีไซต์ ไม่กล้าเอาไปใช้งานจริง กลัวชิ้นงานจะเสียรูป แต่พอปริ้นท์เสร็จแล้ว ชิ้นงานดูคงทน และแข็งแรงกว่าที่เราคิดไว้มาก จึงได้ลองนำไปใช้งาน และสามารถนำไปใช้งานได้จริง หลังจากที่เราทดลองจนมั่นใจแล้ว จึงนำไปผลิตงานจริง ด้วยวัสดุที่เป็นเหล็ก ตัววาวจะเป็นวัสดุทองเหลือง ซึ่งถ้าเราไม่มีการปริ้นท์ ชิ้นงานต้นแบบขึ้นมาก่อน เราอาจจะต้องผลิตชิ้นงานเพื่อนำมาทดลองแทน ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่จะเสียเวลาและต้นทุน
อีกเคสตัวอย่างที่ใช้ MakerBot 3D Printer (ทดแทนชิ้นงานจริง)
ขอยกตัวอย่างงานลูกค้าที่ต้องการทำ Robot หยิบถุงมือยาง เราก็เริ่มโดยการออกแบบโดยซอฟต์แวร์ SOLIDWORKS และนำไฟล์มาปริ้นท์ เป็นชิ้นงานต้นแบบด้วยเครื่อง MakerBot 3D Printer หลังจากที่เราได้ Part ก็จะใส่ระบบ และติดตั้งร่วมกับ Robot จากนั้นก็ทำการ Test ซึ่งอุปสรรคในระหว่างการทำก็ คือ เราคิดเวอร์ชั่น 1 ก็ยังใช้ไม่ได้ ต้องมีการปรับแก้ ก็ต้องปริ้นท์ใหม่ ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง ก็ได้ชิ้นงานใหม่มาแล้ว เพื่อมาทำการ Test ใหม่ เราก็ตั้งใจจะปริ้นท์ชิ้นงานต้นแบบมาเพื่อ Test ก่อน เมื่อแบบสมบูรณ์แล้ว ก็จะไปสู่ขั้นตอนการผลิตจริง และ Test ระบบให้ลูกค้าดู เพราะหลังจากที่เราปริ้นท์ด้วย 3D Printer แล้ว ชิ้นงานออกมาคุณภาพดี ความสวยงามใช้ได้เลย จึงนำชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) มาประกอบจริงเลย ช่วยให้เราไม่ต้องไปขึ้น Part จริง ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน
ถ้าเราไม่ใช้ 3D Printer ตั้งแต่เริ่มต้น เราจะต้องเสียเวลาไปกับการรอขั้นตอนการทำ Machine เพื่อทำ Part (ขั้นตอนการทำขึ้นรูปโลหะ ค่อนข้างใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง) ถ้าทำรอบแรกแล้วไม่ได้ เท่ากับเราต้องเริ่มต้นทั้งหมดใหม่ เสียเวลาและต้นทุนไปตั้งเท่าไหร่
ซึ่งงาน Design ต้องการความสวยงาม บางทีก็มีเซฟที่เคิ้บ ถ้ามองในมิติ ที่ต้องไปขึ้น Part แบบที่เราต้องการเนี่ย ใช้หลาย Process มาก ต้นทุนก็แพง บางทีใช้เวลา 4-5 วัน พอเป็น 3D Printing เราสามารถ Design ใส่จินตนาการได้เต็มที่ อีกทั้งลดเวลาไปได้เยอะ จาก 4-5 วัน เหลือเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น เราก็ได้ชิ้นงานออกมาแล้ว แถมใช้งานจริงได้อีกด้วย
หลังจากที่ได้ลองใช้เครื่อง MakerBot แล้วเป็นอย่างไร
3D Printer สามารถเข้ามาช่วยในการทำงานได้ การมองฟังก์ชั่นการออกแบบ การทดลองในทีม R&D ก่อนที่จะไปผลิตจริง สามารถจับต้องได้ และเ็นภาพได้ชัดเจนมากๆ
สามารถปริ้นส์วัสดุที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ได้ด้วย มีความคงทน แข็งแรง ใช้งานได้ดี ตัวเครื่องสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง สามารถสั่งงานปริ้นท์ทิ้งให้เครื่องทำงานได้ช่วงหลังเลิกงาน (ข้ามวันข้ามคืน) เช้าก็สามารถมาถอดชิ้นงานที่ปริ้นท์เสร็จแล้วได้เลย เครื่องมีความเสถียรไม่มีปัญหาระหว่างปริ้นท์
ทีมงานได้รับเกียรติจากคุณยอดชัย รักถนอม (Assistant Manager) และคุณภูมิ โพธิ์พัฒนชัย (Project Manager) บริษัท เอ. ไอ. เทคโนโลยี จำกัด มาร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) MakerBot ในขั้นตอนการทำงาน