Article Mi, Article-SolidWorks CAM, Articles

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.05 #งานเหล็ก

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP.05 #งานเหล็ก

เมื่องาน 3D ผ่านไปแล้วขั้นตอนต่อไปก็ลงมือทำจริงกับเหล็กเลยครับ สนุกสนานแน่ๆ ตามไปดูกันครับ

ก่อนอื่นต้องอธบิายก่อนว่าการทำขั้นตอนนี้สิ่งที่จำเป็นต้องมี คือ

Machine Shop เพราะต้องตัดเหล็ก เชื่อมเหล็ก ปาด เจาะ ตัด เชือม เจียร พ่นสี เคาะ ตามประสาช่างกลโรงงานมือเปื้อนน้ำมันดำปิ๊ดปี๋ ผมไปทำที่ Shop น้องชายผม น้องเปี๊ยกเมืองชลคนอันตราย 55
https://www.facebook.com/support.engineering สนใจจะเชื่อมประกอบอะไรติดต่อน้องเค้าได้เลยครับ กำเงินไปอย่างเดียวน้องเค้าเสกได้

CAM Software ในที่นี้ผมใช้ SOLIDWORKSCAM เพราะตอบโจทย์ทุกฟังก์ชั่นของงานสร้างเครื่องจักร ใช้ง่ายจนง่ายและง่าย 555 เอาง่ายๆ คือ มันง่ายจริงๆ

ไปทำกันเลยละกัน

Cutting Plan

อย่ารีบร้อนสั่งเหล็ก…. ทำ Cutting Plan ดีๆ ก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสั่งเหล็กกี่แผ่น หลีกเลี่ยงการสั่งของขาดเพราะเสียเวลาในการรอโปรแกรมช่วยเดี๋ยวนี้เยอะแยะไปหมด ผมใช้ FastCAM ช่วยเพราะเครื่องตัดที่น้องเปี๊ยกใช้มีให้ เสียดายไม่ได้เซฟรูปไว้ขั้นตอนนี้

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP5_งานเหล็ก_01

Cutting

ถ้ามั่นใจก็บรรเลงกันเลยครับ  4 x 8 ฟุต เต็มๆ

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP5_งานเหล็ก_02

เอามาเจียรเก็บขอบให้เรียบร้อย โดยทีมงานเปี๊ยก คนเดิม และประกอบตามแบบที่เราเขียนส่งไปให้ ว่าแล้วเชียวว่าเราลืมอะไร ลืมแนะนำการใช้ SOLIDWORKS เขียนแบบ 2D ไว้ตอนหน้าละกันเนอะ

Fabrication
CAM กันก่อน

เมื่อตัดประกอบเชื่อมเรียบร้อยก็มาถึงขั้นตอนสำคัญ คือ การปาดเจาะกัดชิ้นงานเพื่อใส่ Linear Guild งานนี้ SOLIDWORKSCAM เป็นพระเอก (เอ๊ะไม่ใช่ซิต้องป็นผมเองนี่และเป็นพระเอก ฮ่าๆๆ)

เปิดตัวไปใน SOLIDWORKS2018 กับเจ้า SOLIDWORKSCAM ตัวนี้เกิดมาจากค่ายดัง คือ CAMWORKS ปลั๊กอินที่มีมานานมากๆ เกี่ยวกับงาน CAM โดยมีครบทุกๆ อย่างเกี่ยวกับงาน CAM แต่ในส่วนของ SOLIDWORKSCAM นั้นมีความสามารถทำงานเฉพาะ 2.5D เท่านั้น

ส่วนตัวจากที่ทดลองใช้แล้วก็ชอบเลยครับ เอ๊ะ!!! รักเลยดีกว่าครับ เพราะมันใช้งานง่ายมากๆ แต่ตอนแรกที่สัมผัสมีอาการงงนิดๆ กว่าจะเข้าใจระบบระเบียบแบบแผนของเจ้า SOLIDWORKSCAM ได้ก็ใช้เวลานิดนึง แต่พอเข้าใจแล้ว โอ้โฮ มันแจ่มเหมียว จริงๆ

เพราะมีระบบ Technology Database นั้นเองครับ มันทำให้เราสามารถสร้าง GCODE ได้ในเวลาไม่กี่พริบตา พริบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ 555555+ พูดแล้วจะหาว่าโม้ งั้นโม้ต่อเลยละกัน

SOLIDWORKSCAM Work Flow

สร้าง Feature บอกว่าเราจะทำอะไร เช่น Face ผิว หรือ Pocket หรือจะเจาะรู

สร้าง Operation Plan สร้างขั้นตอนการทำงาน เช่น กัดหยาบ กัดละเอียด เจาะรูนำศูนย์

สร้าง Toolpath สร้างทางเดินของทูลต่างๆ

เพียงเท่านั้นก็ได้ GCODE ไปสั่งเครื่อง CNC แล้วจ้า เอาไว้เอาวิดีโอมาลงให้นะครับ ในส่วนนี้เพราะอธิบายด้วยตัวหนังสือยากและยาวมากๆ

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP5_งานเหล็ก_04

Machine

ได้ CAM มาแล้วก็เอางานไปขึ้นเขียงครับ ให้น้องๆ ทีมงานช่วยกันแบกช่วยกันยกขึ้นโต๊ะงานเครื่องกัด หนักเอาเรื่องเหมือนกันครับแต่ละชิ้นส่วน

Alignment

หาตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วทำการตั้งแนวกัดให้ขนาดกบเครื่อง ผมใช้ Dial Gauge ช่วยครับ เอาให้ขนาดได้เท่าที่จะทำได้นะครับ

Origin Setting

ตั้งจุด X0 Y0 Z0 ให้ตรงกับ CAM ที่ทำมาว่าเราอ้างอิงจากจุดไหนมา เมื่อพร้อมแล้วก็ลุยเลย

กด Cycle Start ได้เลย ยืนลุ้นหน้าเครื่องตอนงานเสร็จ

X-Axis
Spindle Head

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP5_งานเหล็ก_13

Pre Assembly

เมื่อทุกชิ้นกัดเรียบร้อยแล้วก็ลองนำมาประกอบรวมร่างกันสักหน่อยครับ เพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องบางอย่าง ถ้าพบข้อบกพร่องก็ทำการปรับแต่งแก้ไข

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP5_งานเหล็ก_14

สรุปผล

ผ่านไปได้ด้วยดีครับ ด้วยการที่เราใช้งาน 3D นี่และครับข้อดีของงาน 3D ทำให้เราเห็นจุดอับจุดบกพร่องตั้งแต่ออกแบบ และเราได้แก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ดีกว่ามาเจอเอาตอนประกอบร่างจริง

ทำสี

เลือกสีที่อยากได้ ผมเลือกสีฟ้าครับเพราะไม่เหมือนใครดี…….อยากได้สีส้มแต่เดี๋ยวไปซ้ำคนอื่น ฮ่าๆๆ

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP5_งานเหล็ก_15

พี่ฟ้ามาแว้ววววว

เป็นรูปเป็นร่างรอประกอบชิ้นส่วนต่างๆ

วันนี้พอก่อนเนอะไว้มาอัพเดตกันอีกใน EP หน้า ไปละครับบบบบ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : SOLIDWORKSSOLIDWORKS CAM

สามารถติดตามอ่านย้อนหลัง :

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.01 #How to start เริ่มต้นอย่างไรดี

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.02 #เริ่มออกแบบ GIANT CNC ตอน 1

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.03 #เริ่มออกแบบ GIANT CNC ตอน 2

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP.04 #การวิเคราะห์ความแข็งแรง

ชาดำเย็น. https://www.facebook.com/GIANTMINICNC/

Ref. https://diycnc593562679.wordpress.com/2019/05/14/ep5-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81/


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ

Article Mi, Article-SolidWorks CAM, Articles

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.04 #การวิเคราะห์ความแข็งแรง

DIY สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง EP.04 #การวิเคราะห์ความแข็งแรง

 

มาถึง EP.4 กันแล้วนะครับ สำหรับการสร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวเอง ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นแนวความคิดว่าถ้าเราต้องการสร้าง CNC เองนั้นต้องทำอย่างไร การเตรียมตัว ออกแบบ 3 มิติ (SOLIDWORKS) จนมาถึงการวิเคราะห์ (SOLIDWORKS Simulation) ตามมาชมกันครับ ว่าการวิเคราะห์ส่วนสำคัญในการสร้าง CNC ได้อย่างไรบ้าง

การออกแบบเครื่องจักร CNC ความเที่ยงตรงแม่นยำเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เมื่อเกิดภาระกับโครงสร้างแล้วมันโก่งไปกี่ มม. เรายอมรับค่านั้นได้ไหม แล้วเราจะปรับตรงไหนให้แข็งแรง สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราคาดเดาเอาล้วนๆหากไม่มีโปรแกรมช่วย วันนี้เรามาลองดูวิธีการวิเคราะห์ด้วย SOLIDWORKS Simulation กันครับ

Y Base ที่เราเขียนไว้นั้นรับภาระต่างๆ ประมาณนี้

  1. น้ำหนักเสาแกน Z ทั้งแกน หนักราวๆ 200 กก.
  2. แกน X + Table หนักราวๆ 150 กก.

วัสดุที่ใช้เป็นเหล็กธรรมดาตามท้องตลาดทั่วไป เชื่อมด้วยระบบ MIG

เมื่อโมเดลเราพร้อมก็เริ่มกันเลยจ๊ะ

1. เปิด Add-ins SOLIDWORKS SIMULATION

Add-ins SOLIDWORKS SIMULATION

2. กำหนดวัสดุที่จะนำมาใช้

กำหนดวัสดุที่จะนำมาใช้_Simulation

3. กำหนดจุดจับยึด เราเลือกที่ขาทั้ง 6

SOLIDWORKS SIMULATION

4. กำหนดแรงต่างๆ เข้าไป

SOLIDWORKS SIMULATION

SOLIDWORKS SIMULATION

 

5. สร้าง Mesh

สร้าง Mesh_SOLIDWORKS SIMULATION

 

6. แล้วก็ Run ได้เลย

ผลลัพธ์ค่า Von Mises Stress

ผลลัพธ์ค่า Von Mises Stress
ปัญหาอีกอย่างคือ…..ได้สีสวยๆ มาแล้ว มันพังไหมตกลง?????

วิธีการอ่านค่าต่างๆ ให้เราดูที่ Yield Strength 220.594 MPa เป็นหลัก ค่านี้ คือ ค่าที่วัสดุที่เราเลือกใช้จะรับได้ ส่วนในกราฟสีๆ ที่ค่าอยู่ที่ 1.94 MPa คือ ค่าความแข็งแรงที่เกิดขึ้นจริงในชิ้นงานที่เราออกแบบไว้นั้นเอง เอาค่าทั้งสองมันดู อย่าให้ Von Mises เกินค่า Yield Strength เพราะหากเกิดแสดงว่ามันพังแน่นอน…….

ในรูปแสดงว่ายังรับได้อีกเยอะเลยทีเดียว ห้าห่วง ทนหายห่วง อิอิ

SOLIDWORKS SIMULATION ระยะโก่งตัว

ระยะโก่งตัว

ทีนี้มาดูอีกรูป ผลลัพธ์อีกอันที่ต้องดู คือ ค่าการโก่งตัวของชิ้นงานที่เราออกแบบ (Displacement)

ในรูปแสดงว่าเมื่อรับภาระแล้วมันโก่งไป 0.003 มม. ซึ่งน้อยมากๆ ผมถือว่าผ่านครับ ค่านี้สำคัญมากเพราะว่า ถ้ามันโก่งมากๆ แสดงว่าเวลากัดงานแล้วแทนที่มันจะลงมาตามระยะที่ต้องการ แต่เมื่อทำจริงๆ มันลงมาไม่ถึงเพราะโครงสร้างมันโก่งตัวหนีไป 0.003 มม. นั่นเองครับ

SOLIDWORKS SIMULATION

 

ทำกับทุกๆ ส่วนนะครับ เครื่องเราต้องแข็งแรงครับไม่ใช่กัดหนักแล้วโครงสร้างแอ่นหนี

 

SOLIDWORKS SIMULATION 

การกำหนดสมมุติฐานนั่นเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากการใส่สภาวะแวดล้อมจริงเข้าไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่มากได้นั้น ย่อมทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาก กล่าวคือผลที่ได้นั้นน่าเชื่อถือนั่นเองครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ บทความนี้ผมหวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานตัวเองกันได้นะครับ ผมเชื่อว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : SOLIDWORKS, SOLIDWORKS SIMULATION, SOLIDWORKS CAM

สามารถติดตามอ่านย้อนหลัง :

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.01 #How to start เริ่มต้นอย่างไรดี

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.02 #เริ่มออกแบบ GIANT CNC ตอน 1

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.03 #เริ่มออกแบบ GIANT CNC ตอน 2

ชาดำเย็น. https://www.facebook.com/GIANTMINICNC/

 


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ

Article Mi, Article-SolidWorks CAM, Articles

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.01 #How to start

 

บทความนี้สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ที่ใช้งาน SOLIDWORKS และรักในการสร้างเครื่อง CNC แนว DIY เป็นเครื่องจักร CNC ที่ราคาประหยัด เพื่อนำไปใช้กับงานอดิเรก หรือนำไปใช้กับโรงกลึง โรงงานก็สามารถทำได้เช่นกัน ในบทความทั้งหมดที่จะเขียนขึ้นนี้ ผมจะแชร์ความรู้ที่ผมได้ใช้ในการสร้างเจ้าเครื่อง Milling CNC ตัวนี้ขึ้นมา โดยจะเน้นไปทางการใช้งาน ซอฟต์แวร์ SOLIDWORKS ที่ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ และ ซอฟต์แวร์ SOLIDWORKS CAM เป็น CAM ที่ผมใช้ในการสั่งเครื่อง CNC ในการกัดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่อง

จุดประสงค์ที่เราสร้างเครื่องขึ้นมาเพราะอยากให้คนไทยมีเครื่อง CNC ราคาถูกไว้ใช้งาน เครื่องที่เหมาะสมกับงาน เพราะงานบางงานไม่จำเป็นต้องลงทุนเครื่องเป็นล้านๆ มาทำก็ได้ จากเดิมที่ใช้ระบบแมนนวลมือหมุน เราเปลี่ยนมาใช้ระบบ CNC มาแทน ลดต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุเสีย ค่าทูลที่เสียหาย ลดเวลาในการทำงานลง เท่านี้ก็ช่วยให้ธรุกิจมีการพัฒนาได้ในระดับนึงแล้วครับ

          เริ่มอย่างไร??

          นั่นนะสิครับเราจะเริ่มอย่างไรกันดี ??

 

หาข้อมูล !!!!

ผมเองก็เป็นผู้เริ่มจากที่ไม่รู้อะไรเลยเหมือนกัน หลายๆ ครั้งที่ต้องเข้าไปถามในกลุ่ม เพื่อหาผู้รู้ช่วยให้คำตอบเราในเรื่องที่เราไม่รู้ ซึ่งกลุ่ม DIY ในบ้านเรามีอยู่หลายกลุ่ม แต่ส่วนมากจะเป็นผู้ผลิตที่ทำเครื่องขายในท้องตลาด ดังนั้นคำถามบางคำถามอาจจะไม่ได้คำตอบกลับมา เพราะว่าคำตอบนั้นส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจของเค้านั่นเอง ดังนั้นจึงต้องหาทางออกโดยการเข้า Forum ของเมืองนอกเพื่อโพสถามถึงสิ่งที่เรากำลังติดปัญหา

คนเมืองนอกใจดี !!! มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ ผมไม่ได้มาอวยฝรั่งมังค่าอะไร แต่ทุกครั้งที่เรามีคำถามไปโพส และอธิบายรายละเอียดต่างๆ ว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้าง แก้ไขเบื้องต้นไปด้วยวิธีอะไร ผลเป็นอย่างไร ฝรั่งจะตอบกันอย่างสนุกสนานต่างคนต่างช่วยเหลือเต็มที่ และเราก็ได้แนวทางมาทดลองแก้ไขเยอะแยะเลย https://www.cnczone.com/ ลองหาความรู้ในนี้ก็ได้ครับสำหรับผู้เริ่มต้น

ตัดภาพกลับมาที่ไทยเรา มีหลายมุมมองในเรื่องนี้ หากเขียนไปเกรงว่าจะกระทบกับผู้ที่เป็นผู้ให้อย่างแท้จริง เพราะยังมีบุคคลไม่กี่บุคคลที่พร้อมจะมอบความรู้ให้ผู้ที่เริ่มต้นจริงๆ อาจจะต้องใช้การกระซิบถามส่วนตัว หรือโพสถามในกลุ่มแล้วเค้าจะส่วนตัวมาตอบเรา ครับนี่แหละสังคมแห่งความเป็นจริง สะท้อนให้เพื่อนๆ ที่กำลังจะเข้ามาสู่วงการ DIY รู้ซักนิดๆ ละกันเนอะ

ควักกระเป๋าตัวเองดูก่อน !!

555+ ครับฟังไม่ผิดนะครับ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงต่อไป คือ “เงิน” เรามีงบเท่าไหร่ เพราะนี่คือสิ่งที่จะกำหนดว่าเครื่องที่เราสร้างนั้นจะออกมาหน้าตาประมานไหน ความสามารถจะไปได้ถึงไหน อุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นแบบไหน หลายๆ ท่านและรวมถึงผมด้วย อยากได้แจ่มๆ เครื่องในอุดมคติต้องเป็นแบบนี้ๆ ต้องมีระบบไอ้นี่ ระบบไอ้นั่น เต็มไปหมดฮ่าๆ กลับมาสู่ชีวิตจริงก่อนครับ ทุกอย่างต้องใช้เงินในการจัดหามา ดังนั้นแล้วก่อนจะลงรายละเอียดต่อไปดูงบประมาณไว้ก่อนเป็นสิ่งแรกครับ

ศึกษาหาข้อมูลอีกรอบ !!

รอบนี้เริ่มลงลึกในรายละเอียดกันไปอีกขั้น เช่น จะเอาเครื่องอะไร ในบทความนี้ผมจะกล่าวถึง “เครื่องกัดคอตั้ง” หรือ “Vertical Machining Center” เรียกสั้นๆว่า “VMC” ดังนั้นเราจะลงรายละเอียดเรื่องนี้กัน เช่นว่า โครงสร้างมันเป็นอย่างไร ระบบส่งกำลัง ระบบควบคุมต่างๆ Controller ที่จะนำมาใช้ หารูปอ้างอิงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เซฟเก็บไว้ดูตอนเราออกแบบจริง

                ภาพตัวอย่างที่หาเก็บไว้ทรงประมาณนี้และเราดูเป็นแนวทางนะครับ ไม่ใช่ไปก๊อบเค้าซะหมดเลย….

สั่งของกันเลย

เมื่อข้อมูลพร้อม ตัวอย่างพร้อม ที่สำคัญ เงินพร้อม อีกอย่างที่จำเป็นต้องมีและสำคัญที่สุดจริงๆ คือ ไฟต้องแรงหน่อยนะครับ 55+ คือ ต้องมีใจอยากทำจริงๆ ว่าแล้วก็ดำเนินการหาของครับ

แหล่งหาของหลัก

AliExpress, eBay, Alibaba, ของมือสองจากใน Facebook กลุ่มต่างๆ  อีก 1 เรื่องที่สำคัญ ผมเอง 90% สั่งของผ่าน AliExpress, eBay, Alibaba เพราะราคาที่ถูก และคุณภาพที่ได้ก็ถือว่าไม่ขี้เหร่เลย ที่สำคัญเป็นของใหม่ ไม่ใช่ของมือสองบ้านเรา เราต้องคำนึงถึงเรื่องการซ่อมบำรุงด้วยนะครับ ข้อดีที่สั่งของแบบนี้เพราะง่ายในการสั่งซ้ำ ได้ของสเปคเดิมขนาดเดิม เพราะถ้าสั่งมือสองบ้านเรา หากชิ้นส่วนนั้นเสียหายแล้วเราจำเป็นต้องเปลี่ยน เราจะหาของยากมาก เดี๋ยวนี้สั่งจากจีนใช้เวลาส่งไม่นานเหมือนเมื่อก่อนแล้ว 7-14 วัน ก็ได้ของแล้วครับ ไม่ต้องกังวลเรื่องการโกง ยังไม่เคยโดน….

สิ่งสำคัญในการสั่งของผ่าน AliExpress, eBay, Alibaba คือ Key Word หรือคำค้นหา ยากตรงนี้…บางทีรู้ว่าหน้าตาเป็นยังไง แต่ไม่รู้จะใช้คำไหนไปค้นหา ต้องใช้พี่ Google ช่วยก่อนตอนแรก

อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้
1. Linear Guild

การกำหนดระยะก็เป็นไปโดยการหา Linear Guild ก่อน แหล่งหาของก็ตาม Facebook กลุ่มต่างๆ ขนาดที่เลือกใช้ก็เป็นขนาด 25 มม. ยาว 650 , 650 , 970 ส่วนยี่ห้อก็แล้วแต่ว่าเราจะหาได้

 

2.Axis Motor

มอเตอร์ขับแกน เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ และส่งผลโดยตรงกับระยะความแม่นยำ และความคลาดเคลื่อนของการเคลื่อนที่ รวมถึงความเร็วสูงสุดในการเคลื่อนที่ของแกนต่างๆ

ข้อดีของมอเตอร์ชนิดนี้ คือ ราคาถูก มีความแม่นยำในระดับนึง และมี Encoder ด้วยแตกต่างจาก Stepping ทั่วๆ ไปที่นิยมใช้ในเครื่อง MiniCNC ทั่วไปในท้องตลาดบ้านเรา

ผมเลือก Nema 34 Closed Loop Type Model : 86HBS45 ขนาดกำลังดีครับ แรงบิด 4.5NM. 5.6A ให้ความเร็วรอบสูงสุดอยู่ที่ 2000rpm. ใช้ควบคุมแกน X,Y,Z สั่งตรงจาก AliExpress ลองไปหาๆ กันดูได้ครับ

 

3. Ball Screw

เลือกใช้ Ball Screw ขนาด 25 มม. ระยะพิตช์ 5 มม. แบบ Double Ball Nut เพื่อลดค่า Backlash ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

4. Spindle Motor

ผมเลือกใช้ Induction Motor ขนาด 3 แรง สามารถต่อไปแบบ 220V ได้เพราะเครื่องที่สร้างใช้กับไฟบ้านทั่วไป โดยต้องใช้คู่กับ Inverter ด้วย การเลือกก็ไม่ยากครับ ผมซื้อของใหม่โดยให้เค้าจัดสเปคให้ตามที่ต้องการโดยมีสเปคประมาณนี้ครับ

TECO 3-Phase Induction Motor 2 Pole 3hp 2870 rpm 8A แบบหน้าแปลน

Inverter Hitachi WJ200 2.2KW

สาเหตุที่ต้องใช้ของใหม่เพราะว่าผมเองไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้ามากนัก ซื้อของใหม่มีการอบรมมีการแนะนำให้คำปรึกษา หายห่วงเรื่องใช้ไม่เป็นครับ ไม่ต้องเสี่ยงกับของมือสองที่คนขายมักจะบอกว่าโทรหาได้เลย…..พอโทรไปก็ไม่รับ ตอบแบบไม่เต็มไจบ้างไรบ้าง….

5. Controller

อีกอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานของเครื่อง CNC เพราะเป็นตัวสั่งงานอุปกรณ์ทั้งหมดให้ทำงานตาม G-CODE ที่สร้างมา

ผมเลือกใช้ยี่ห้อ SZGH จากเมืองไคฟงเหมือนเดิม สาเหตุที่เลือกก็เพราะอยากลองไม่มีอะไรเลยครับ ตัวนี้ซื้อผ่าน Alibaba คุยตรงกับเจ้าของแบรนด์สอบถามฟังก์ชั่น รายละเอียด ความสามารถรวม สิ่งที่ทำได้ ทำไม่ได้มีอะไรบ้าง เมื่อเรียบร้อยก็ต่อรองราคาและจ่ายกะตัง รอรับของ คนจีนคุยดีมากๆ ถามอย่างเยอะ เค้าก็ยินดีให้คำตอบหาตัวอย่างมาให้เราดู นี่แค่บริการก่อนการขายนะครับ แน่นอนหลังการขายนี่สุดประทับใจ ทุกคำถามมีคำตอบ ที่สำคัญรวดเร็วมาก ไม่ต้องรอนานเลย ของแบบนี้ต้องลองครับ ผมไม่ได้ค่าโฆษณาใดๆ นะครับบบ

อุปกรณ์ที่ได้รับมาพร้อมใช้งานไม่จำเป็นต้องซื้ออะไรเพิ่มเลย เสียบสายต่อไฟเข้า เทสได้เลยใช้ง่ายมากๆ มีคู่มือภาษาอังกฤษให้สองเล่ม

สเปค SZGH 1500MD 4Axis

 

6. Spindle

เป็นอีกส่วนที่สำคัญเพราะเป็นตัวที่กำหนดความเร็วรอบสูงสุดของเครื่องเรา และเป็นส่วนที่หัว Arbor ไปอยู่ด้วยจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรงแม่นยำในการหมุนนั่นเอง หากหมุนแล้วไม่กลมมีการแกว่งก็จะทำให้เกินความคลาดเคลื่อนของขนาดงานที่กัดออกมา

ผมสั่งจาก Alibaba เช่นเดิมครับ คุณภาพงานไม่ต้องพูดถึงครับ สวยเลยเจียรมาอย่างดีมี Drawbar มาพร้อมไม่ต้องมาลุ้นหาของมือสองที่รื้อมาจากเครื่องในบ้านเรา ระหว่างสั่งเราเอาขนาดมาเขียนโมเดลแล้วเตรียมโมเดลอื่นๆ ได้เลย

สเปค BT30 with ATC 6000rpm (ATC คือ Automatic Tool Change มีไว้สำหรับเปลี่ยนทูลอัตโนมัติ)

 

7. Power Drawbar

เป็นตัวปลดทูลจะใช้คู่กับ Spindle มีหน้าที่ดันกลไกลภายในหัว Spindle โดยใช้กระบอกลมเป็นตัวดันกลไกลสั่งจากไคฟงเช่นเดิมครับ สั่งมาเป็นชุดพร้อมกับ Spindle

อุปกรณ์ชุดนี้จะมาพร้อมกับ Limit Switch สองตัว เพื่อเป็นตัวส่งสัญญาณกลับไปที่ Controller ว่าทูลถูกปลดออกแล้ว เป็นระบบเพิ่มแรงดันโดยใช้น้ำมันช่วย ใช้งานง่าย เติมน้ำมันต่อสายลม ก็ทำงานแล้วครับ ควบคุมการทำงานด้วย โซลินอยด์วาล์ว

ทั้งหมด คือ อุปกรณ์ที่สำคัญๆ นอกจากรายการที่กล่าวไปแล้ว ยังมีอีกหลายๆ อย่างที่ใช้ในการประกอบและสร้างเครื่องตัวนี้ ผมจะกล่าวถึงในภายหลังนะครับ เอาไว้มาเล่าให้ฟังต่อในตอนหน้า ฝากติดตามเรื่องราวการสร้างเครื่อง CNC ของผมด้วยนะครับ สำหรับตอนนี้ผมขอลาไปก่อนนะครับผม

ติดตาม EP.02 DIY สร้างเครื่อง CNC #เริ่มออกแบบ GIANT CNC ตอน 1

ชาดำเย็น. https://www.facebook.com/GIANTMINICNC/

REF : https://diycnc593562679.wordpress.com/2019/05/09/how-to-start/

สำหรับท่านใดที่สนใจเรื่องงาน CAM ซอฟต์แวร์ SOLIDWORKS CAM เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถช่วยงานท่านได้ สามารถอ่านศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ

SOLIDWORKS CAM #EP01 มาทำความรู้จักกันหน่อย

SOLIDWORKS CAM #EP02 เครื่องจักรกลโรงงาน!!

SOLIDWORKS CAM #EP03 เครื่องจักร CNC

SOLIDWORKS CAM #EP04 ระบบปฏิบัติการ CNC??

 

 

 


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ