Article Mi, Article-SolidWorks CAM, Articles

DIY สร้างเครื่อง CNC EP.02 #เริ่มออกแบบ GIANT CNC ตอน 1

GIANT CNC เครื่อง CNC ที่ถูกสร้างขึ้นด้วย SOLIDWORKS CAM

GIANT CNC G1

สร้างเครื่อง CNC ด้วยตัวคุณเองไม่ยากอย่างที่คิด 

จากตอนที่แล้วที่เราได้แนะนำถึงการเริ่มเตรียมตัวที่จะสร้างเครื่อง CNC สักตัวว่าจะต้องเตรียมอะไรหลักๆ บ้าง ตอนนี้เราจะมาลงลึกไปทีละหน่อยนะครับ จะเน้นเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเครื่องด้วย SOLIDWORKS

“SOLIDWORKS”

ไม่ต้องบอกเนอะว่าทำไมต้องใช้เจ้า SOLIDWORKS ช่วยในการออกแบบ ของเค้าดีจริงๆ ไม่ต้องพิมพ์เยอะให้เมื่อยนิ้ว แหะๆ

โปรแกรม 3D มันมีส่วนสำคัญในวงการออกแบบทุกสิ่งอย่าง ทำไมถึงคิดแบบนั้น …. ตอนนี้โลกหมุนไปอย่างรวดเร็วครับ เทคโนโลยีหลายตัวเริ่มล้าหลังและเทคโนโลยีหลายตัวเริ่มล้ำยุคไปเรื่อยๆ ยุคมันเปลี่ยนไปครับ ก่อนเคยใช้ระบบ 2D เขียนแบบกันก็ก้าวข้ามมาเขียนแบบด้วยระบบ 3D เห็นภาพชัดเจนเห็นข้อด้อย ข้อเสีย ของแบบที่เราจะสร้างจริง ที่จริงมีอีกหลายอย่างที่เป็นสาเหตุให้เราก้าวมาใช้ระบบ 3D ว่าจะไม่พิมพ์เยอะละเชียวววว!!!

มาเข้าเรื่อง DIY CNC กันดีกว่าเนอะ เมื่อตอนที่แล้วเราหาของหลักๆ กันจนครบแล้ว รอบนี้มาถึงขบวนการ การออกแบบแล้วครับ

เตรียม 3D Standard Equipment

เข้าเว็บหาโมเดลกันก่อนครับ อย่ารีบร้อนขึ้นโครงสร้างเครื่อง จัดเตรียมโมเดลพวก Linear Guild, Motor, Power Drawbar, Spindle, Ball Screw, Ball Nut บางตัวต้องวาดเองจากการหาข้อมูล หรือเอาของจริงมาวัดขนาด ดูจากเอกสารสเปกที่ได้มา

Feature ที่ใช้ในการเขียนโดยส่วนมากจะเป็นงาน Part Machine ดังนั้นเราจะใช้งาน SOLIDWORKS กันในระดับพื้นฐานเท่านั้น ง่ายต่อการเรียนรู้ ง่ายต่อการเริ่มใช้งาน เหมาะกับผู้เริ่มต้นใช้โปรแกรม

เว็บยอดนิยม
www.grabcad.com 
https://www.3dcontentcentral.com/
https://b2b.partcommunity.com/community/

ถ้าไม่มีจริงๆ ก็พิมพ์หาใน Google ใช้ key word thk25 3d model เน้นว่า 3D model เข้าไปค้นหาแล้วโหลดกันได้แบบฟรีๆ (อย่าลืมสมัครสมาชิกก่อนนะครับ)

เตรียม 3D Standard Equipment

Y Base

เริ่มกันที่ฐานรากก่อนเลยเป็นชิ้นที่สำคัญมาก เพราะทุกๆ แกนจะอยู่บนนี้ ดังนั้นเราควรเริ่มจากชิ้นนี้ก่อน

Y Base

Y base

ขนาดต่างๆเราต้องคำนึงถึงมาตรฐานของเหล็กตามท้องตลาดด้วยนะครับ ไม่ใช้อยากหนาเท่าไหร่ก็ได้น้าาา เช่น 5, 6, 8, 9, 10, 12, 15, 16 เป็นต้น นี่คือสิ่งสำคัญในการออกแบบ จะใช้ยาวเท่าไหร่ หายากไหมหรือต้อง Built อย่างเดียว เราต้องพยายามเลี่ยงการ Built เองโดยไม่จำเป็นใช้ที่มีในตลาดดีกว่า

ทำไมเราต้องวาด Standard Equipment ก่อน ??

เราจำเป็นต้องอ้างอิงรูเจาะของอุปกรณ์เหล่านั้น เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว เราจะอาศัยอ้างอิงตำแหน่งรู ตำแหน่งขอบงานต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ

การใช้ Weldments

เป็นชุดคำสั่งที่สร้างมาเพื่อทำงานกับงานที่เป็นลักษณะงานที่เป็น Multi Body มาดูกันครับว่ามันคืออะไร แล้วใช้งานอย่างไร

ชุดคำสั่ง Weldments

ชุดคำสั่ง Weldments

เริ่มโดยการกำหนดทิศทางในการเริ่มวาดชิ้นงานก่อนเลยครับ ในการเขียนชิ้นงานด้วย SOLIDWORKS การเริ่มต้นวาดต้องคำนึงถึงทิศทางเมื่อเรากด View Isometric เราอยากได้โมเดลอยู่ในมุมมองไหน หลายคนมาถึงก็บรรเลงฝีมือกันเลย…… ใจเย็นๆ ครับค่อยๆ เริ่ม….

Y Base

เมื่อกด Isometric แล้วอยากได้มุมนี้

เราก็จะรู้แล้วว่าจะวาดไปทิศทางไหนอย่างไร ต่อไปก็เรียนรู้พื้นฐานอีกตัว คือ ระบบ PLANE

PLANE

เป็นจุดเริ่มของทุกสิ่งอย่าง เพราะจะ Sketch อะไรก็ตาม ต้องมี PLANE (ระนาบ) ก่อนทุกครั้ง โปรแกรมจะสร้างระนาบมาให้ 3 ระนาบ คือ Top Front Right และมีจุด Origin มาให้เลย เพื่อให้เราสร้างชิ้นงานโดยเริ่มจากระนาบเหล่านั้นนั่นเอง

เราก็เริ่ม Sketch กันได้แล้วครับทีนี้ เริ่มจากระนาบ Top เมื่อวาดเสร็จก็ใช้ Extrude Boss เพื่อสร้างเนื้อชิ้นงานขึ้นมา วาดไปเรื่อยๆ ต่อเติมเสริมแต่งจนหล่อเหลา

และหากต้องการตัดชิ้นงานออกก็ทำแบบเดิมแต่เปลี่ยนไปใช้คำสั่ง Cut Extrude เพื่อเจาะรูหรือตัดเนื้อตามที่เราต้องการ

ค่อยๆ เติมไปทีละส่วน แเป๊บเดียวเดี๋ยวก็เสร็จ……

Assembly

เมื่อวาด Part ไปบางส่วนก็เอามาประกอบกันจ้า ใน SOLIDWORKS เราเรียกว่า Assembly ส่วนการใช้ก็ไม่ยากเลยครับ เราจะประกอบโดยใช้คำสั่ง Mat

คำสั่ง Mate มีหลาย Option ให้เลือกใช้ให้เหมาะกับสิ่งต้องการ

เกือบละครับแกน Y

การใช้ Top Down Design เข้ามาช่วยในการเจาะรูชิ้นงาน

สร้าง New Assembly ขึ้นมาใหม่ โดยนำเอา Part Y – Base เข้าไปประกอบและนำ Linear Guild ที่เตรียมไว้เข้ามาประกอบรวมกัน โดยใช้ Mate เป็นตัวกำหนดว่าจะให้ Linear Guild นั้นอยู่ตรงไหน และเมื่ออยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ก็ให้เรา Edit Part Y-Base และเพิ่ม Feature Hole Wizard เข้าไป โดยเมื่อเราจะกำหนดตำแหน่งรูเจาะ ให้เราเลือกที่ Center ของรูบน Linear guild เพียงเท่านี้เราก็จะได้รูที่ร่วมศูนย์กับรูของ Linear Guild แล้วครับ

การใช้ Top Down Design เข้ามาช่วยในการเจาะรูชิ้นงาน

Axis Motor Mount

อย่าลืมส่วนสำคัญไปเพราะว่าเราจะต้องเจาะรูบน Y Base เพื่อยึด Axis Motor ดังนั้นต้องมาเขียนตัวยึดมอเตอร์แกนกันก่อนครับ การเขียนงานลักษณะนี้เราจะเรียกว่า Multi Body เป็นการเขียน Part ที่มี Solid Body หลายๆ ตัวในไฟล์ Part ไฟล์เดียว เราไม่นิยมสร้าง Assembly File กับงานที่ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องการการเคลื่อนที่ เพราะการทำ Assembly นั้นใช้เวลาทำนานกว่าการทำ Part ที่มีลักษณะ Multi Body

Axis Motor Mount

การทำก็ไม่ต้องมีขั้นตอนอะไรมาก ตอนเราสร้างก้อน Solid ให้เราเอา Check ตรง Merge Result ออกเพียงเท่านั้นโปรแกรมจะไม่นำ Solid ที่สร้างมาใหม่ไปรวมกับก้อน Solid เดิม

ทำแบบนี้จนได้เครื่องเลยนะครับ..ทำวันละนิด วันละหน่อย มันไม่ง่ายครับ เพราะมันไม่ใช่ว่าเขียนครั้งเดียวแล้วมันจะเสร็จเลย เราต้องเจอกับการแก้ไขขนาด แก้ไขแบบปรับปรุงจุดด้อยที่เราพบในขณะเขียนแบบอยู่

ติดตามในส่วนของงานออกแบบตอน 2 ได้ใน EP.03 ครั้งถัดไปนะครับ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : SOLIDWORKS, SOLIDWORKS CAM

สามารถติดตามอ่าน : DIY สร้างเครื่อง CNC EP.01 #How to start

ชาดำเย็น. https://www.facebook.com/GIANTMINICNC/

REF : https://diycnc593562679.wordpress.com/2019/05/09/let-design-giant/

สำหรับท่านใดที่สนใจเรื่องงาน CAM ซอฟต์แวร์ SOLIDWORKS CAM เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถช่วยงานท่านได้ สามารถอ่านศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ

SOLIDWORKS CAM #EP01 มาทำความรู้จักกันหน่อย

SOLIDWORKS CAM #EP02 เครื่องจักรกลโรงงาน!!

SOLIDWORKS CAM #EP03 เครื่องจักร CNC

SOLIDWORKS CAM #EP04 ระบบปฏิบัติการ CNC??


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ