Digital Transformation คืออะไร ? ในวันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกวินาที ทำให้พฤติกรรมการในการใช้ชีวิตของคนทั่วไปเปลี่ยนไปอย่างมาก ด้วยความต้องการที่หลากหลายและต้องการความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผลกระทบของเทคโนโลยีไม่ได้มีผลต่อแค่คนธรรมดาเท่านั้น ในโลกธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตเองเทคโนโลยีก็เข้ามามีผลอย่างมาก การเติบโตอย่างรวดเร็วของโลกเทคโนโลยีทำให้อุตสาหกรรมการผลิตมากมายต้องปรับตัวตาม เพื่อมองหาโอกาสใหม่ๆ และให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ หลายธุรกิจให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงาน เพื่อให้งานออกมารวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในกระบวนการปรับตัวที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเรียกว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล Digital Transformation หรือ DX
อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry) คือ กระบวนการผลิตสินค้าเพื่อการใช้หรือจำหน่าย โดยการแปรสภาพวัตถุดิบหรือวัสดุต่างๆ จากทรัพยากรที่มีอยู่ ผ่านกระบวนการซึ่งใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ แรงงาน และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก ไม่เพียงแต่สร้างสิ่งต่างๆ ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้คน ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตยังมีส่วนช่วยในด้านการสร้างรายได้และการจ้างงาน และยังมีผลต่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในหลายๆ ด้านอีกด้วย
Digital Transformation คืออะไร
DX เป็นกระบวนการของการใช้เทคโนโลยีและกลยุทธ์การทำงานแบบดิจิทัล เข้ามาช่วยธุรกิจทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ใช้ในการวางรากฐาน กำหนดเป้าหมาย ปฎิบัติการณ์ดำเนินธุรกิจ ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า การทดลองรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ไปจนถึงปรับใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน และการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร และช่วยให้ตามทันโลกเศรษฐกิจ เพื่อไม่ต้องเผชิญหน้ากับ Digital Disruption ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธุรกิจเราถูกแช่แข็งไว้ไม่พัฒนาไปไหน
การนำ Digital Transformation มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
ในด้านการผลิต DX เกี่ยวข้องกับการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนแปลงแง่มุมต่างๆ ของกระบวนการการวางแผนการผลิต ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์เบื้องต้นไปจนถึงการผลิตจริง วัตถุประสงค์ คือ การปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มความสามารถในการผลิตให้กระบวนการทำงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ (Automation) ให้มีความยืดหยุ่น (Flexible) คล่องตัว (Agility) ทันสมัย และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตต่าง ตั้งแต่ ซอฟต์แวร์, Internet of Things (IoTs), AI in Manufacturing, หุ่นยนต์, ระบบ Automation, การวิเคราะห์ข้อมูล และเครื่องมือดิจิทัลอื่นๆ อาทิเช่น
- การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบดิจิทัล (Digital Product Design) โดยใช้แพลตฟอร์มการออกแบบอัจฉริยะ และการสร้างแบบจำลองเสมือนจริง (Digital Twins)
- การผลิตแบบอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) ด้วยการนำ IoT, วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิต
- การบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ (Smart Supply Chain) โดยการใช้เทคโนโลยีติดตามและจัดการสินค้าคงคลังอัจฉริยะ
ประโยชน์ของ Digital Transformation ในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต
1. การเพิ่มประสิทธิภาพ ลดงานซ้ำซ้อนให้ธุรกิจ
ประโยชน์หลักประการหนึ่งของ DX คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้มีการทำงานลดลง ลดขั้นตอนงานที่ไม่จำเป็น ลดระยะเวลา โดยเฉพาะงานที่ซ้ำซากจำเจ ลดอุบัติเหตุในการทำงานกับเครื่องจักร และลดทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยโดยไม่ต้องเสียคุณภาพ ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยให้เห็นภาพรวมในกระบวนการผลิต การควบคุม ทำให้มีความแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพ และตอบสนองงานได้มากขึ้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลยังสามารถปรับขั้นตอนการผลิตให้เหมาะสมโดยใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อระบุความไร้ประสิทธิภาพและปัญหาคอขวดในกระบวนการผลิต ช่วยให้ผู้ผลิตดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว และปรับปรุงส่วนที่สามารถทำการปรับปรุงได้ ซึ่งทำให้ในส่วนงานผลิตบางส่วนบริษัทไม่จำเป็นต้องมีพนักงานอยู่ประจำตลอดเวลาอีกต่อไป
การใช้งานปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) สามารถช่วยองค์กรเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การลดเวลาการทำงานซ้ำซ้อน ไปจนถึงการทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจแม่นยำยิ่งขึ้น เนื่องจาก AI เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยการใช้ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก องค์กรสามารถทำการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกระบวนการที่ซับซ้อนได้ โดยพบว่าระบบช่วยให้พวกเขาประหยัดเวลา ทำงานได้อย่างแม่นยำ ช่วยลดข้อผิดพลาดลง แม้กระทั่งช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ทำให้สามารถผลิตสินค้า หรือสร้างแคมเปญโฆษณาที่ตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ในภาคการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย IoT (Internet of Things) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ให้เกิดขึ้นอย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตในโรงงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องจักร โรงงานที่ใช้ IoT สามารถติดตามสถานะการทำงานของเครื่องจักรได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีและป้องกันเวลาหยุดทำงาน (Downtime) ของเครื่องจักรโดยไม่คาดคิด ทั้งยังช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อนำมาวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่สามารถติดตามสถานะของระบบการผลิตได้เท่านั้น IoT ยังสามารถนำไปใช้ในการติดตามและจัดการทรัพยากรขององค์กรช่วยให้สามารถลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรได้อย่างมากมาย ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ แบบอัตโนมัติ องค์กรสามารถปรับการทำงานให้เหมาะสมและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ลดต้นทุนในระยะยาว
ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก มีการแข่งขันทางธุรกิจเพิ่มขึ้น การควบคุม การปรับค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม และการลดต้นทุนให้กับองค์กรจีงเป็นกลยุทธ์สำคัญของหลายธุรกิจ หลายองค์กรอาจคิดว่าการลดต้นทุนด้านบุคลากรจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่คุณอาจยังไม่รู้ว่าการเลือกใช้ DX เข้ามาช่วยบริหารธุรกิจนั้นก็สามารถช่วยให้ผู้ผลิตลดต้นทุนได้เหมือนกัน ในปัจจุบันมีเครื่องมือดิจิทัลและซอฟต์แวร์คลาวด์ที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมต้นทุนทางการเงิน ให้เลือกใช้ค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละองค์กรว่าธุรกิจที่ดำเนินการนั้นต้องการใช้ในด้านใดบ้าง
ความเข้าใจที่ชัดเจนถึงต้นทุนในการทำธุรกิจถือเป็นขั้นตอนแรกในการติดตามค่าใช้จ่ายของบริษัท และจะเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาจุดบอดในกระบวนการที่ไร้ประสิทธิภาพ การมีข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานจะทำให้คุณเข้าใจถึงต้นทุนและโอกาสในการประหยัด การระบุจุดที่ต้องประหยัดได้ชัดเจน จะช่วยลดผลกระทบในการปรับวิธีการทำงาน และภาพรวมของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น กระบวนการทำงานแบบเดิมมักจะมีระบบการทำงานซ้ำซ้อนหรือไม่จำเป็น เมื่อผู้บริหารมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานขององค์กรมากพอ จะสามารถระบุขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและลดต้นทุนทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำแผนผังกระบวนการทำงานเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดวิธีลดต้นทุนได้
การผลิตแบบ Lean Manufacturing ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิต การออกแบบที่ช่วยลดการใช้วัสดุหรือการลดขั้นตอนที่ซับซ้อน สามารถลดของเสียตั้งแต่ต้นทางได้ในระยะยาว การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการวิเคราะห์ ตรวจสอบกระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ช่วงต้นของกระบวนการผลิต เช่น การใช้เซ็นเซอร์ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักร หรือการใช้ระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติที่ช่วยให้การผลิตมีคุณภาพสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดการเกิดของเสียจากการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องกลับมาซ่อมแซมใหม่ ช่วยให้องค์กรลดการเกิดของเสียจากการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านของเวลา พลังงาน และการใช้วัสดุทรัพยากรในการผลิตน้อยลง
หลากหลายเทคโนโลยีสามารถใช้ในการลดต้นทุนให้กับอุตสาหกรรมการผลิต การเลือกใช้รถ AGV หรือ Automated Guided Vehicles ที่ช่วยลำเลียงสินค้าจำนวนมากในคลังสินค้า หรือโรงงานด้วยระบบอัตโนมัติ ทำงานตามโปรแกรมเส้นทางเดินรถที่ตั้งค่าไว้ ช่วยลดต้นทุนด้านการจ้างแรงงานคน ลดอุบัติเหตุจากการใช้แรงงานคน ลดสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง ช่วยลดต้นทุนด้านเวลาที่ใช้ เพิ่มความคล่องตัว ส่งผลให้ต้นทุนแรงงานลดลงในขณะที่การผลิตคุ้มทุนมากขึ้น
นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานไปสู่ดิจิทัลช่วยให้องค์กรของคุณไร้กระดาษ ช่วยลดต้นทุนวัสดุอุปกรณ์และการขนส่งได้อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถช่วยเร่งความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสำหรับทำธุรกิจได้อีกด้วย ทั้งยังช่วยในการคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบริษัทได้อย่างแม่นยำ ทำให้ลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและควบคุมงบประมาณได้ดีมากยิ่งขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพการปฎิบัติงานด้วยเทคโนโลยีไม่ใช่แค่ช่วยลดต้นทุนได้ในระยะยาวเท่านั้น ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้แก่องค์กรอีกด้วย
3. ลดระยะเวลา ปรับปรุงกระบวนการทำงาน
สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต การประหยัดช่วงเวลานำการผลิต (Lead Time) ได้ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพถือเป็นชัยชนะ การคำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่งการลดระยะเวลาในการผลิต สามารถทำได้ด้วยการวางแผนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Lead Time ทุกอย่าง ตั้งแต่ช่วงเวลาเริ่มต้น การนำเข้าวัตถุดิบ การสร้างชิ้นงาน จนถึงการควบคุมคุณภาพ (QC) จนสิ้นสุดกระบวนการผลิต แล้วแต่ว่าในโรงงานนั้นจะมีกระบวนการต่างๆ แยกย่อยไปขนาดไหน เพื่อดูว่ามีจุดบกพร่องในส่วนไหนบ้าง ซึ่งสามารถนำไปใช้งานต่อได้หลากหลาย ตั้งแต่การคำนวณต้นทุนในการทำงาน การประเมินระยะเวลาการทำงานก่อนส่งมอบงานให้ลูกค้า และการตรวจสอบจุดอ่อน จุดแข็งของโรงงาน เป็นต้น
ด้วยกระบวนการ DX จะทำให้ทางผู้ประกอบการเห็นประสิทธิภาพของโรงงานตัวเองได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการผลิต สามารถลดความยุ่งยาก เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน และประหยัดต้นทุนได้ ซึ่งการทำให้กระบวนการที่ต้องดำเนินการด้วยตนเองเป็นอัตโนมัติ ทั้งนี้ยังช่วยในด้านการสื่อสารทางธุรกิจ การกำหนดเวลา การจัดส่งที่รวดเร็ว และสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่สามารถขจัดข้อผิดพลาดของมนุษย์ รับประกันความสม่ำเสมอ และปรับปรุงประสิทธิภาพได้ ล้วนแล้วมาจากเครื่องมือดิจิทัลทั้งสิ้น โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- การใช้ซอฟแวร์เพื่อช่วยให้การทำงานเกิดขึ้นได้อย่างอัตโนมัติ
- การติดเซนเซอร์ (Sensor) หรืออุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่เครื่องจักรแทนการใช้คนจดบันทึกข้อมูลลงกระดาษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ลดต้นทุนคน และลดความผิดพลาดของมนุษย์
- การใช้เครื่องจักรระบบ Automation ที่มีประสิทธิภาพและ IoT เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานและการตรวจสอบ ทั้งนี้การทำออโตเมชั่นในโรงงาน ทำให้สามารถรับรู้ข้อมูลของเครื่องจักรทุกตัวได้ด้วยปลายนิ้วสัมผัส สามารถควบคุมคุณภาพของทุกอย่างได้ในทันทีตั้งแต่ต้นทาง ลดเวลาในการซ่อมหรือแก้ไขชิ้นงาน สอดคล้องกับแนวคิดการทำงานแบบ Zero Defect
- การใช้เทคโนโลยี 3D Printing เพื่อลดระยะเวลาการผลิตชิ้นส่วน ทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ที่ผลิตได้มาตรฐาน ลดค่า Material ที่สิ้นเปลืองลง ลดการใช้พลังงานในการผลิต เมื่อเทียบกับการผลิตชิ้นส่วนแบบเดิม
4. ลดความซับซ้อนในการรวบรวมข้อมูล การเข้าถึง และการประมวลผลข้อมูลได้มากขึ้น
บริษัทส่วนใหญ่มีข้อมูลสะสมจำนวนมหาศาล ทุกปฏิสัมพันธ์ของลูกค้า ทุกผลิตภัณฑ์ที่ขาย ทั้งหมดนี้ล้วนสร้างข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์ที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ในอดีตการจัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลปริมาณมากเป็นเรื่องยาก แต่ในปัจจุบัน DX ทำให้การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเป็นเรื่องง่าย ลดความซ้ำซ้อนยุ่งยากของการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการเปลี่ยนผ่านการทำงานแบบระบบ Analog จากการจดบันทึกข้อมูลด้วยคน การเก็บข้อมูลแบบเป็นแฟ้มเอกสาร การเก็บข้อมูลเป็นเอกสารในรูปแบบของกระดาษหรือ Hard copy เปลี่ยนมาเป็นการเก็บข้อมูลเป็น Soft file หรือ ในรูปแบบดิจิทัลแทน
DX ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยการที่เราจะรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้มีระบบวิเคราะห์ที่ดีขึ้น ส่งผลให้เข้าใจข้อมูลได้อย่างลึกซึ้ง โดยเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยส่งเสริมการตัดสินใจ การตอบสนองต่อข้อมูล การทำงานและความสามารถเชิงเทคนิคได้ง่าย และรวดเร็ว เช่น ระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP ระบบที่ช่วยในการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรทั้งหมดขององค์กร โดยจะมีการรวมข้อมูลทุกอย่างบันทึกไว้ใน Database หลัก ทำให้ข้อมูลเชื่อมโยงกันและสามารถเข้าถึงได้จากจุดเดียว โดยฝ่ายบริหารหรือฝ่ายอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถดึงข้อมูลที่ต้องการออกมาได้ทันที ช่วยลดความผิดพลาด และทำให้องค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการทำงานให้เป็นรูปแบบออนไลน์บน Cloud Computing ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ การเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและรวดเร็วพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ต้องอยู่ที่ออฟฟิศ สามารถเรียกใช้งานผ่านคลาวด์ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อให้ตอบสนองต่อการทำงานแบบ Remote-working หรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งบริการเหล่านี้ปลอดภัย ง่ายต่อการเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล ประหยัดเวลาการติดตั้งและดูแลระบบเอง ช่วยลดภาระการจัดการด้านไอทีภายในองค์กรอีกด้วย ซึ่งตอบโจทย์ธุรกิจที่เน้นความรวดเร็วและมีอิสระในการทำงาน
5. ตอบสนองความต้องการ และเพิ่มประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ดีมากขึ้น
ประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) ได้กลายเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญ โดยสามารถทำให้ธุรกิจแตกต่างจากคู่แข่งด้วยการให้บริการที่น่าจดจำและครอบคลุมแก่ลูกค้า การใช้ Digital Transformation เข้ามาช่วยในการผลิตช่วยตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากผู้บริโภคคุ้นเคยกับตัวเลือกต่างๆ ที่แทบจะไม่มีที่สิ้นสุด เทคโนโลยีช่วยจัดรูปแบบงานใหม่ได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงและสามารถผลิตโดยใช้รูปแบบที่กำหนดเอง ทำให้สามารถผลิตให้เข้ากับผู้บริโภคแต่ละรายโดยไม่ต้องเสียเวลา ซึ่งจะทำให้ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้า ทั้งนี้ยังสามารถมอบประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวและราบรื่นให้กับลูกค้าได้ด้วย ตัวอย่างเช่น การพัฒนาแพลตฟอร์ม E-commerce เพื่อตอบสนองการนำเสนอสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ สร้างความง่าย ความสะดวก รวดเร็วให้กับลูกค้าในการสั่งซื้อสิ่งที่ต้องการ และสามารถเข้าถึงตลาดได้ทั่วโลก แถมยังเปิดโอกาสให้ลูกค้า – ผู้ส่งของ เลือกสถานที่ หรือช่วงเวลาในการรับของได้อย่างสะดวกสบายตามต้องการ
หรือผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การทำระบบ Customer Relationship Management หรือ CRM ระบบที่ช่วยในการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า จัดการข้อมูล เราสามารถแบ่งกลุ่ม ติดตามการมีส่วนร่วมได้ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และรับข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับความต้องการ ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรม ความชอบ และอื่นๆ ของลูกค้า ทำให้ผู้ผลิตสามารถตัดสินใจโดยมีข้อมูลมากขึ้นเพื่อปรับแต่งผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงบริการให้ตรงกับความต้องการเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น ยังมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน
6. สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันสู่การเติบโตทางธุรกิจ
ข้อดีของการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้กับองค์กรและการทำงาน ทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นอย่างมาก ในเวลาที่น้อยลง โดยการรวมฟังก์ชันใหม่ให้เข้ากับระบบการผลิต เป็นผลดีต่อผลิตภัณฑ์ของโรงงานและให้มูลค่าเพิ่มแก่แบรนด์ นอกจากนี้ ยังช่วยพนักงานพัฒนาศักยภาพและทักษะในอาชีพของตัวเองมากกว่าจะไปทำงานในส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตัวเอง ให้เทคโนโลยีมาแทนที่บทบาทบางอย่าง เพื่อให้พนักงานและธุรกิจมีเวลาเหลือสำหรับการวางแผนงานในอนาคตที่จำเป็นและสำคัญกว่า อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เข้ามาช่วยทำงาน เพื่อที่พนักงานจะสามารถโฟกัสกับงานที่เน้นใช้ความคิด ใช้ทักษะในการแก้ปัญหาอื่นๆ, ช่วยให้พนักงานสามารถไปทำงานอย่างอื่นที่สร้างสรรค์และสร้างรายได้มากขึ้น เช่น งานคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมและวางแผนการเติบโตของธุรกิจ (R&D) ที่ตอบโจทย์กับลูกค้าในอนาคตและตลาดในอุตสาหกรรม, DX ยังช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ และสร้างช่องทางการขายใหม่ๆ ได้อีกด้วย ทั้งนี้โลกธุรกิจในปัจจุบันองค์กรที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทาง Digital ได้อย่างรวดเร็วและดีไปพร้อมๆ จะมีความได้เปรียบชนะในการแข่งขันเหนือคู่แข่งรายอื่นในสังเวียนธุรกิจได้
บทสรุป…..ทำไม Digital transformation จึงเป็นเรื่องสำคัญ
Digital Transformation หรือ DX มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิต และทุกๆ ภาคธุรกิจ เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกโดยเฉพาะในยุคดิจิทัล ในอุตสาหกรรมการผลิตการเดินตามทุกการเปลี่ยนแปลงให้ทันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโต ถ้าหากไม่มีทักษะด้านดิจิทัล รวมไปถึงไม่มีการปรับตัวสู่ DX และคุณยังดำเนินธุรกิจแบบเดิมก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้คู่แข่งแซงหน้าไป จะทำให้องค์กรของคุณจะเสียเปรียบคู่แข่งอย่างมาก หากองค์กรไหนเริ่มเรียนรู้ที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลได้ก่อน และนำมาช่วยกำหนดกลยุทธ์ พัฒนาสินค้าและบริการได้เร็วเท่าไรก็จะยิ่งส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ และทำให้ยิ่งได้เปรียบกว่าคู่แข่งอย่างแน่นอน ทั้งยังสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ขยายตลาดใหม่ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป องค์กรของคุณก็จะสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงไม่ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลมีประโยชน์มากมายดังที่กล่าวมาแล้วนั้น แล้วองค์กรของคุณจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ Digital Transformation ได้อย่างไร มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร สามารถติดตามอ่านต่อบทสรุปที่จะนำทางไปสู่ขั้นตอนที่จะทำให้คุณได้เปรียบกว่าคู่แข่งใน อุตสาหกรรมการผลิตชนะคู่แข่งด้วย Digital Transformation ตอนที่ 2
AppliCAD พร้อมเป็นผู้สนับสนุนหลักที่จะช่วยให้องค์กรของคุณเริ่มต้นเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ Digital Transformation นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินงานต่างๆ ในทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น รวมถึงการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร และช่วยให้ตามทันโลกธุรกิจ คุณสามารถติดต่อปรึกษาเราได้ที่ 095-365-6871