Articles

Destination Zero Carbon (DZC)

Destination Zero Carbon (DZC)
คือการร่วบรวมการศึกษาพลังงานสะอาดที่มุ่งเน้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี, วิศวกรรม, คณิตศาสตร์และภูมิศาสตร์ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์นำมาสู่การออกแบบและสร้างขึ้นจริง ของรถแข่งทางตรงพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนขนาดสเกล 1:20 ของนักเรียน ในห้องเรียน โรงเรียนของประเทศสิงคโปร์ เพื่อการพัฒนาศักยภาพทางด้านการศึกษาแก่เยาวชนรุ่นใหม่

Design and Technology (Lower Secondary)
นักเรียนจะได้รับการแนะนำให้รู้จักการออกแบบและเทคโนโลยี ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยโปรแกรมน่าสนใจของเรา ที่มีการออกแบบเพื่อการผลิตจะช่วยให้นักเรียนมีมุมมองที่ดีและคาดหวังว่าพวก เขาจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป

 

ภาพบรรยากาศการแข่งขัน
   

แข่งพร้อมกัน                                                              ตัวอย่างวรจรในรถ

F1 Schools Challenge
อีกรายการที่มีจัดแข่งในประเทศไทย ซึ่งมีแข่งในระดับอุดมศึกษากับระดับอาชีวะศึกษา ซึ่งจะมีจัดแข่งปีละครั้ง ในงานอาชีวะสัมพันธ์และในต่างประเทศก็มีการแข่งขันรถพลังงานลมนี้เช่นกัน

รายการแข่งรถแบบนี้ เป็นการใช้ทักษะของผู้ออกแบบตัวรถของแต่ละทีมให้มีหลักอากาศพลศาสตร์ที่ดี จากการเริ่มต้นออกแบบตัวรถทั้งขนาดและรูปร่างความแข็งแรงต่อแรงกระแทรก เมื่อตัวรถวิ่งผ่านเส้นชัย โดยใช้พลังงานลม co2 เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งจะบรรจุในถังลมขนาดเล็กๆ ติดตั้งไว้ด้านหลังของตัวรถ การแข่งขันในรายการนี้จะพิเศษตรงที่ จะใช้เทคโนโลยี CAD CAM เข้ามาช่วยออกแบบ พร้อมกับการจำลองหลักอากาศพลศาสตร์ และสร้างตัวรถด้วยเทคโนโลยี CNC

 

ในสถานศึกษาหลายๆ ที่ในประเทศไทยก็ได้ใช้โปรแกรม SolidWorks เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในด้านการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่าย สามารถดูชิ้นงานในลักษณะ 3 มิติได้เลย ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถทำการออกแบบตัวรถได้เร็วขึ้น

การจำลองการประกอบอุปกรณ์หรือชิ้นส่วน ต่างๆ ก็สามารถทำได้ง่ายสามารถตรวจสอบหาข้องบกพร่องในการออกแบบก็ได้ เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้มีการพัฒนาทักษะในการออกแบบได้อย่างดี
Flow simulation
เมื่อประกอบชิ้นส่วนเสร็จแล้วก็นำมาจำลองหลักอากาศพลศาสตร์การไหลเวียนของ อากาศผ่านตัวรถเพื่อดูแรงต้านทานการเสียดทานของอากาศขณะรถวิ่งซึ่งมีผลต่อ การทำให้ตัวรถวิ่งได่เร็วยิ่งขึ้น ผ่านการวิเคราะห์หลักอากาศพลศาสตร์ก็มาต่อด้วยขั้นตอนต่อไปคือ Make

ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาก้าวไกลไปมากในด้านการผลิตชิ้น งาน Computer-aided manufacturing (CAM) ตัวอย่าง เช่น SolidCAM เป็นโปรแกรมจำลองกระบวนการผลิตชิ้นงานก่อนนำไปผลิตจริงอีกครั้ง ในงานทางด้าน Computer Numerical Control (CNC) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมสภาพการทำงานของเครื่องจักรกลพื้นฐานดังกล่าว จากเดิมซึ่งใช้แรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ให้เครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ระบบ CNC ยังช่วยเพิ่มความสามารถให้เครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้สามารถทำงานลักษณะซับ ซ้อนได้ ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำในระดับที่พ้นความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์โดย ทั่วไปหลายสิบเท่าตัว สำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ CNC ในเครื่องจักรพื้นฐานดังกล่าว ระบบ CNC จะประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งซึ่งถูกนำไปใช้ในการหมุนเกลียวขับแทน มือคน และระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ในการควบคุมมุมและความเร็วที่มอเตอร์ไฟฟ้าเหล่านั้น หมุนเกลียวขับโดยระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว สามารถควบคุมมุมของมอเตอร์ได้ด้วยความละเอียดถึง 0.1 องศาหรือดีกว่า หรือสามารถให้ความละเอียดในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าสู่ชิ้นงานสูงถึง 0.02 มิลลิเมตรหรือดีกว่า

Mini CNC ใช้ในการสร้างรถแข่ง

 

รูปแบบตัวรถที่ทำจากไม้และก่อนและหลังทำเสร็จ

 

บางทีมในต่างประเทศก็ยังใช้วิธีการจำลองการทดสอบจากตัวรถจริงในอุโมงค์ลมจำลอง

 

 

ถังบรรจุ CO2 พลังงานในการขับเคลื่อน

ข้อมูลอ้างอิง:

http://www.3dclassworks.com/dzc.html

https://www.facebook.com/3dclassworks

http://www.fablabsd.org/dzc/

http://www.f1inschools.ie/public/tour.html

http://www.f1inschools.ie/public/resources.html

https://www.facebook.com/F1inSchoolsIRL

http://www.scribd.com/doc/105858432/2/T1-1-F1-in-Schools-car


Photo of author
WRITTEN BY

admin