Engage Your Visitors!

Click here to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

3D Tech News, Article - 3DPrinter Mi, Article - 3DScanner, Article Ci, Article Mi, Article-GOM, Articles

ยกเว้นภาษี 3 ปี 50% หนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ และระบบอัตโนมัติ

ยกเว้นภาษี

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  ขยายระยะเวลาและปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุน 4 มาตรการสำคัญที่จะสิ้นสุดในปี 2567 ได้แก่

  1. มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม (Retention and Expansion Program)
  2. มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร (Relocation Program)
  3. มาตรการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
  4. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์

โดยให้ขยายเวลาทั้ง 4 มาตรการถึงสิ้นปี 2568 และได้ปรับปรุงเงื่อนไขของมาตรการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนจริงขั้นต่ำจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 2,000 ล้านบาท เพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องในประเทศไทย

ด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้ปรับปรุงนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต รวมทั้งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายการพัฒนาภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศ เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน และมีการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวตลอดจนเพื่อดึงดูดการลงทุนทั้งบริษัทใหญ่ระดับโลกและผู้ประกอบการที่กำลังมองหาโอกาสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

เป้าหมายโครงการส่งเสริมการลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่

  1. Innovative : เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์
  2. Competitive : เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสามารถปรับตัวได้เร็ว และสร้างการเติบโตสูง
  3. Inclusive :เป็นเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมรวมทั้งการสร้างโอกาส และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ยกเว้นภาษี

ในบทความนี้จะเน้นเรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์นำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ (Automation and Robotics) มาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสำหรับการผลิตรถยนต์ ทั้งแบบสันดาปภายใน ไฮบริด และปลั๊กอินไฮบริด ครอบคลุมทั้งกิจการเดิมและการลงทุนใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นฐานผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ นำไปสู่การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมย
านยนต์ของประเทศโดยรวม โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงินร้อยละ 50 ของเงินลงทุนในระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ และในกรณีที่โครงการใช้เครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศ ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ให้ได้รับ ยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคลในวงเงินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนในระบบดังกล่าว ทั้งนี้ได้มีการขยายระยะเวลายื่นขอรับการส่งเสริมไปถึงสิ้นปี 2568 

ทั้งนี้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนและเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการส่งออก การจ้างงาน และจำนวนผู้ผลิตในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์  เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และอันดับ 10 ของโลก โดยรถยนต์และชิ้นส่วนถือเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ที่สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี มีผู้ผลิตที่อยู่ในซัพพลายเชนกว่า 2,300 ราย และมีการจ้างงาน 8 – 9 แสนคน การยกระดับผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถแข่งขันได้ หรือสามารถขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องมือแพทย์ เครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในอนาคต ซึ่งขณะนี้อุตสาหกรรมไทยกำลังก้าวสู่ช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อก้าวสู่เทคโนโลยีใหม่

การใช้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ (Automation and Robotics) ช่วยให้ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนสามารถเร่งการผลิต ลดต้นทุน ลดเวลาในการผลิตปรับปรุงคุณภาพ และป้องกันการบาดเจ็บอันตรายของพนักงานในสถานที่ทำงาน หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน หรือโคบอทส์ (Cobots) ได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับผู้ผลิตยานยนต์ เนื่องจาก COBOT ถูกออกแบบขึ้นให้ทำหน้าที่ปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างใกล้ชิดและปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรม ถึงแม้อุตสาหกรรมรถยนต์จะมีความเป็นอัตโนมัติสูงแต่ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก และโคบอทส์ (Cobots) กำลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพรูปแบบใหม่ภายในอุตสาหกรรมด้วยการใช้งานต่างๆ เช่น การป้อนงานให้เครื่องจักร การตรวจสอบ และการประกอบชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อน อิเล็กทรอนิกส์ การลงสี และการตกแต่งภายใน ด้วยความเป็นหุ่นยนต์ที่ผนวกคุณสมบัติด้านความแม่นยำ ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถทำงานซ้ำๆ เข้ากับทักษะในการแก้ปัญหาที่ไม่ชัดเจนของมนุษย์ และบรรเทาแรงงานจากงานที่ต้องใช้กำลังมาก โคบอทส์ (Cobots) สามารถทำงานเคียงข้างใกล้ชิดกับมนุษย์ ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยให้พนักงานทำงานในกระบวนการต่างๆ ในสายการผลิตได้มากขึ้นในพื้นที่การทำงานเดียวกัน ผู้ผลิตสามารถปลดปล่อยพนักงานจากงานที่น่าเบื่อ สกปรก และอันตรายได้ นอกจากนี้ ยังพร้อมทำงานทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน โดยไม่มีวันหยุด

ขอบข่ายประเภทกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุน

  • ประเภทกิจการ 3.6 กิจการผลิตยานยนต์ทั่วไป
  • ประเภทกิจการ 3.8 กิจการผลิตรถไฟฟ้า Batter Electric Vehicle(BEV), Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV), Hybrid Electric Vehicle (HEV) และแพลตฟอร์มสำหรับรถไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Platform) (เฉพาะกิจการผลิต Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV), Hybrid Electric Vehicel (HEV))
เงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน
✓ กิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือไม่ก็ตาม
✓ โครงการลงทุนใหม่
กรณีเป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่เดิมบริษัทสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการนี้ได้ เมื่อสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ขนาดการลงทุนเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
แผนการลงทุนบริษัทต้องเสนอแผนการลงทุนเครื่องจักรระบบอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์ที่จะนำมาใช้ในการสนับสนุนการผลิตในโครงการตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด
แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริษัทต้องเสนอแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีที่มุ่งสู่ความสะอาด ประหยัดพลังงาน ปลอดภัย การขับเคลื่อนอัจฉริยะ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เหมาะสม
การนับมูลค่าเงินลงทุนที่ใช้ในโครงการนับเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์เต็มจำนวน
นับเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์ โปรแกรมหรือระบบสารสนเทศ และการเช่า/ใช้บริการ Cloud หรือ Data Center แบ่งเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1: นับเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน สำหรับรายการ ดังนี้การใช้ซอฟต์แวร์ โปรแกรมหรือระบบสารสนเทศที่ต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ เพื่อการสั่งงานและควบคุม การทำงานตลอดจนการสนับสนุนระบบการผลิตการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) Machine Learning การนำ Big Data มาใช้หรือการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)การใช้ซอฟต์แวร์ โปรแกรม หรือระบบสารสนเทศ ในการบริหารจัดการองค์กร เฉพาะส่วนที่พัฒนาหรือปรับปรุงโดยผู้ประกอบการในประเทศไทยซึ่งได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการเช่า/ใช้บริการ Cloud หรือ Data Center ในประเทศไทยกรณีที่ 2: นับเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับรายการ ดังนี้การใช้ซอฟต์แวร์ โปรแกรม หรือระบบสารสนเทศ ในการบริหารจัดการองค์กร เฉพาะส่วนที่พัฒนาหรือปรับปรุงโดยผู้ประกอบการในประเทศไทยที่ไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือโดยผู้ประกอบการในต่างประเทศการเช่า/ใช้บริการ Cloud หรือ Data Center ในต่างประเทศ
เงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน
1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี สัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนในระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)กรณีกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิมกรณีเป็นโครงการลงทุนใหม่
ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม โดยระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริมหากมีการใช้เครื่องจักรที่มีการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรที่มีการปรับเปลี่ยนหรือมูลค่าเครื่องจักรทั้งหมด ให้ได้รับ ยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วน ร้อยละ 100 ของเงินลงทุนระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
2. ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร

ต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน ภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2568 และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม

 

นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสนับสนุนให้ฟื้นฟูธุรกิจได้โดยเร็ว โดยจะยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทนเครื่องจักรที่เสียหาย รวมถึงอนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายจากน้ำท่วม โดยไม่มีภาระภาษีอากร โดยต้องยื่นเอกสารเข้ามาที่บีโอไอภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ออกประกาศ หรือหากเป็นกรณีประสบอุทกภัยหลังวันที่ออกประกาศ ให้ยื่นเอกสารภายใน 6 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดสถานการณ์อุทกภัย

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ปี 2567 ถือเป็นปีทองของการลงทุนอย่างแท้จริง และเป็นโอกาสครั้งสำคัญของประเทศไทยในการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ที่จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยในปี 2567 คำขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน โดยมีจำนวน 3,137 โครงการ เพิ่มขึ้น  40% เมื่อเทียบกับปีก่อน “นับว่าเป็นยอดจำนวนโครงการที่สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้ง BOI และมีมูลค่าเงินลงทุน 1,138,508 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% สูงสุดในรอบ 10 ปี” โดยเป็นมูลค่าอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 102,366 ล้านบาท 309 โครงการ ประกอบด้วยโครงการลงทุนผลิตรถยนต์ EV และ ICE โดยค่ายญี่ปุ่น จีน และยุโรป การผลิตยางล้อรถยนต์ ยางล้ออากาศยาน ระบบอัจฉริยะในรถยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ สำหรับสถิติการออกบัตรส่งเสริม หลังจากที่บีโอไอ อนุมัติโครงการแล้ว บริษัทต้องมายื่นเอกสารด้านการเงินและการจัดตั้งบริษัทเพื่อออกบัตรส่งเสริม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงการลงทุนจริงมากที่สุด โดยในปี 2567 มีการออกบัตรส่งเสริมจำนวน 2,678 โครงการ เพิ่มขึ้น 47% เงินลงทุน 846,461 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 72% เป็นสัญญาณที่ดีว่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าจะมีเม็ดเงินลงทุนจริงจำนวนมากเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ 

สำหรับทิศทางนโยบายส่งเสริมการลงทุนในปี 2568 บีโอไอจะเดินหน้าดึงการลงทุนเพื่อสร้างฐานอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และชิ้นส่วนสำคัญ แบตเตอรี่ เซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อัจฉริยะ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ดาต้าเซ็นเตอร์และบริการคลาวด์ เทคโนโลยี AI และดิจิทัลขั้นสูง และเทคโนโลยีชีวภาพ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการที่ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง อย่างเกษตรและอาหาร พลังงานสะอาด การแพทย์และสุขภาพ การท่องเที่ยว รวมถึงกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้งสำนักงานภูมิภาค (Regional Headquarters) ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้า และศูนย์กลางจัดซื้อจัดหาชิ้นส่วนระหว่างประเทศ 

นอกจากบทบาทหลักของสำนักงานแล้ว บีโอไอยังมีภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ของรัฐบาล ผ่านบอร์ดระดับชาติ 2 คณะ คือ คณะกรรมการนโยบายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงแห่งชาติ (บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์) และคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ซึ่งจะผนึกกำลังภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างฐานที่มั่นคงของทั้งสองอุตสาหกรรมนี้ ทั้งด้านการจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรม การกำหนดมาตรการสนับสนุน การพัฒนาบุคลากร การปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมระดับโลก โดยบีโอไอให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การรับช่วงการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ ผ่านการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดงาน SUBCON Thailand กิจกรรม 

  1. ศึกษาข้อมูล – นักลงทุนที่สนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุนรายละเอียดเบื้องต้นและขอรับคำขอได้ 2 ช่องทาง
    1. บีโอไอ ส่วนกลาง ภูมิภาค หรือสำนักงานต่างประเทศ
    2. www.boi.go.th
  2. ยื่นขอรับการรส่งเสริมการลงทุน – ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่ประกอบกิจการตามประเภทที่ BOI ให้การส่งเสริมการลงทุน โดยยื่นเอกสารผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น
    1. ผ่านระบบ e-Investment Promotion ทาง www.boi.go.th ยกเว้น
      1. ส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพทางการผลิต
      2. ส่งเสริมการลงทุนเพื่อโอนกิจการ
      3. ส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
  3. ชี้แจงโครงการ – นัดหมายเจ้าหน้าที่ BOI ผู้รับผิดชอบโครงกร เพื่อชี้แจงโครงการภายใน 10 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ยื่นขอ
  4. วิเคราะห์โครงการ – เจ้าหน้าที่ BOI ดำเนินการวิเคราะห์โครงการโดยใช้ระยะเวลาพิจารณาตามขนาดการลงทุน
    1. ลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท พิจารณาภายใน 40 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
    2. ลงทุนไม่เกิน 2,000 ล้านบาท พิจารณาภายใน 60 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
    3. ลงทุนมากกว่า 2,000 ล้านบาท พิจารณาภายใน 90 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
  5. แจ้งผลการพิจารณา – BOI แจ้งผลพิจารณาภายใน 7 วัน นับจากวันที่รับรองรายงานการประชุม
  6. ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน – ผู้รอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องตอบรับภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งมติ ได้ 2 ช่องทาง
    1. กรอกแบบฟอร์มผ่านระบบ Promotion Certificate System ทาง www.boi.go.th
    2. ยื่นแบบตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน ตามแบบฟอร์ม F GA CT 07
  7. ขอรับบัตรส่งเสริม – ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริม พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณา ภายใน 6 เดือน ได้ 2 ช่องทาง
    1. กรอกแบบฟอร์มผ่านระบบ Promotion Certificate System ทาง www.boi.go.th
    2. กรอกแบบประกอบการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน ตามแบบฟอร์ม F GA CT 08 พร้อมยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการออกบัตร
  8. ออกบัตรส่งเสริม – BOI ออกบัตรส่งเสริมภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่สำนักงานได้รับแบบฟอร์มขอรับบัตรส่งเสริมและหลักฐานครบถ้วน
ขั้นตอนขอยกเว้นภาษี BOI

ขอบคุณข้อมูลจาก : ∙สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  

สรุป

การนำบริษัทหรือกิจการสมัครเข้ารับขอการส่งเสริมจากบีโอไอนั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ที่สำคัญคือต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ ทั้งในด้านการตรวจสอบเงื่อนไขว่ากิจการของท่านตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่การจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนตามคู่มือยื่นคำขอ และหากกิจการของท่านตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดการขอรับการสนับสนุนจากบีโอไอจะช่วยให้กิจการของท่านได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจ ช่วยลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย ช่วยสร้างโอกาสและขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สามารถขอรับการส่งเสริมตามมาตรการดังกล่าว โดยเสนอแผนลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมหรือเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร หรือนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การขอรับรองมาตรฐานในอุตสาหกรรมใหม่ การอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น วงเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และ ยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุน โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับตั้งแต่ได้รับบัตรส่งเสริม ซึ่งต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2568

หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือลงทุนในเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ ซอฟต์แวร์ โปรแกรม ระบบสารสนเทศที่ต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักร หรือบริการจาก บมจ.แอพพลิแคด ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านงานออกแบบอุตสาหกรรมครบวงจร ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ 3D Printer พร้อมบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ (Automation and Robotics) มาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต คุณสามารถติดต่อเราได้ที่ 095-365-6871 หรือ คลิกอ่านข้อมูลผลิตภัณฑ์จาก Link ด้านล่าง

เรามีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่ 

3DEXPERIENCE SOLIDWORKS

แพลตฟอร์มที่สามารถทำงานร่วมกันแบบ Realtime พลิกโฉมงานออกแบบ ให้คุณสร้างสรรค์ชิ้นงานจากทุกที่ทั่วโลก แก้ไขและปรับเปลี่ยนแบบได้ในพริบตา พร้อมตรวจสอบกลไกการทำงานของชิ้นส่วนและเครื่องจักรอย่างแม่นยำ ทันสมัย คล่องตัว ครบในที่เดียว

JAKA COBOT

JAKA Cobot อัจฉริยะ ปลอดภัย ใช้งานง่าย ยืดหยุ่นทุกงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในทุกอุตสาหกรรม

ONE CLICK METAL
3DPRINTER

One Click Metal เครื่องพิมพ์ 3 มิติสำหรับโลหะ ใช้งานง่าย คุ้มค่า ผลิตชิ้นงานโลหะแข็งแรง แม่นยำ รองรับวัสดุหลากหลาย เหมาะกับทุกสายการผลิต

AppliCAD ERP

ระบบ ERP ที่รวมทุกข้อมูลและกระบวนการในที่เดียว ช่วยธุรกิจทำงานง่ายกว่าเดิม!