Article - ArchiCAD, Articles

BIM: Value Added for Construction Industry

BIMConstructionTechnology

ณ วันนี้มั่นใจได้ว่าอย่างน้อย 50-60 เปอร์เซนต์ของบุคคลในวงการก่อสร้างเคยยินคำว่า “BIM”  แต่บางท่านอาจจะยังไม่รู้จักอย่างถ่องแท้ว่ามันคืออะไร มีประโยชน์กับงานและคนทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างไร ส่วนคำนิยามของ BIM ที่ย่อมาจาก Building Information Modeling ท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านได้จากอินเตอร์เน็ต อย่างเว็บ Wikipedia และเว็บอื่นๆ อีกมากมาย BIM กระบวนการทำงาน ซึ่งมีซอฟต์แวร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งซอฟต์แวร์ BIM ที่นิยมใช้กัน เนื่องจากความสามารถดีๆ ก็มีอยู่ไม่กี่ตัว การทำงานแบบ BIM  ไม่ใช่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์เท่านั้น  แต่ยังต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานและการส่งผ่านข้อมูล จากผู้ปฏิบัติหน้าที่นึง ไปสู่ผู้ปฏิบัติงานอีกหน้าที่นึง เช่น จากสถาปนิกไปยังวิศวกร งานระบบ งานโครงสร้าง ปัจจุบันมีบริษัทที่ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนมาใช้ BIM กันมากแล้ว หลายๆ ที่เริ่มต้นใช้งานแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงลุ่มๆ ดอนๆ คือใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายสาเหตุ ได้แก่  ขาดการวางระบบ การเตรียมตัว พลังความมุ่งมั่นที่ดีและเพียงพอ ในการปรับมาใช้ BIM แบบเต็มที่ ส่วนหนึ่งคือการขาดบุคลากรที่มีทักษะ ในระดับผู้จัดการ BIM (BIM Manager) ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้ง ทั้งในด้านงานแบบ, คุณสมบัติของซอฟต์แวร์และระบบ IT

เบื้องต้นเราลองมาดูข้อมูลจากรายงานการใช้ BIM ของ SmartMarket Report ปี 2015 โดย DODGE DATA & ANALYTICS ว่า BIM สร้างผลกระทบในด้านดีๆ อะไรบ้าง ให้กับใครบ้าง อย่างไร ในวงการก่อสร้าง โดย รายงานนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในทวีปอเมริกาเหนือ 391 ราย ที่เป็นเจ้าของโครงการ 40 ราย, สถาปนิก 183 ราย, วิศวกร 68 ราย และผู้รับเหมาทั่วไป 100 ราย โดยทั้งหมดใช้ BIM ในการทำงาน

bim_6

ในประเด็นแรกที่ BIM สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คือ

  • ส่วนของการทำแบบให้ดีขึ้นในด้าน ความรวดเร็ว,ลดงานแก้ และความถูกต้อง
  • การปรับปรุง ความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง ของแบบ Final

จากแผนภูมิเห็นได้ว่าผู้ที่ใช้งาน BIM  รับประโยชน์กันถ้วนหน้า มากน้อยต่างกันไป แต่ในแง่ของการทำแบบ ผู้รับ ประโยชน์ โดยตรงส่วนใหญ่เป็นเจ้าของโครงการ (40%) คือการได้เห็นแบบที่มีความถูกต้อง และทำมาได้เร็วกว่าการทำงานแบบเดิม แต่ในส่วนของความเป็นไปได้ในการก่อสร้างของแบบ Final ซึ่งใกล้เคียงความจริงสูงทั้งเรื่องแบบ และการประมาณราคา ผู้รับเหมาจะได้ประประโยชน์สูงกว่าทุกคน (98%)

BIM_01 BIM_02จากแผนภูมิที่ 2 ซึ่งแสดงถึงผลกระทบด้านดีแก่ผู้รับเหมา ในแง่ของการเข้าใจในเรื่องแบบที่ได้รับมาจะเห็นได้ว่า BIM ช่วยให้ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ (22%+40%) สามารถเข้าใจรายละเอียดในแบบที่ได้มาจากผู้ออกแบบดีกว่าเดิม ซึ่งช่วยลดจำนวนการร้องขอข้อมูล (Requests for Information) ไปได้มาก

เพื่อให้เห็นคุณค่าของ BIM ที่ชัดเจน คงต้องยกสถิติเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ผลกำไรมาให้เป็นข้อมูล

จากแผนภูมิที่ 3 แสดงถึงผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้ BIM ในด้านการควบคุมและลดค่าใช้จ่าย จะเห็นได้ว่าผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด คือ ผู้รับเหมา (77%,69%) ซึ่งสะท้อนว่าถ้าในด้านผลกำไรที่เพิ่มขึ้นผู้รับเหมาจะได้มากที่สุด

BIM_03

จากทั้ง 3 แผนภูมิท่านผู้อื่นน่าจะพอจะประมาณการได้แล้วว่า BIM มีประโยชน์จริงกับคนที่ทำงาน ทำเงิน กับ โครงการก่อสร้าง ซึ่งท่านที่อาจจะยังไม่เคยสัมผัสซอฟต์แวร์ระบบ BIM ที่เป็นเครื่องมือในการทำงานอาจจะต้องการทราบว่าจะเริ่มต้นตรงไหน อย่างไร ผู้เขียนขอให้ข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

  1. ค้นหาข้อมูล คุณสมบัติของซอฟต์แวร์ BIM จากเว็บต่างประเทศจากผู้จำหน่ายในประเทศ
  2. หากเป็นไปได้ให้ทดลอง เรียนรู้ และใช้งานเบื้องต้น หรือทดลองทำโครงการตัวอย่าง (อาจขอคำปรึกษาจากผู้ให้บริการในประเทศ) เพื่อประเมิน
  3. สอบถามถึงบริการหลังการขายจากผู้จำหน่ายเกี่ยวกับการอบรม, จำนวนครั้ง, จำนวนวัน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการขายเพียงอย่างเดียว และให้ผู้ใช้งานเรียนรู้ และพยายามใช้งานด้วยตัวเอง เนื่องจาก BIM ไม่ใช่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์ แต่ต้องการบุคลากรที่ทรงคุณวุฒิเพื่อแนะนำ และช่วยวางระบบการทำงานต่างๆ เช่น เทมเพลท, Workflow, ระบบการทำงานร่วมกัน, ระบบสำรองข้อมูล, Best Practice สำหรับหน่วยงานนั้นๆ
  4. เลือก BIM ที่นำมาใช้งานแล้วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
  5. มีความสุขกับการมีรายได้มากขึ้น จากผลกำไรที่มากขึ้น มีเวลาว่างมากขึ้น แล้วแต่จะเลือกอย่างใด

บทความ : สมศักดิ์ วรรักษา


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ