Article - SolidPlant, Article Mi, Articles

จากพืชไร่กลายเป็นพลังงานเชื้อเพลิงตอนที่ 2 (ตอนสุดท้าย)

จากบทความที่แล้วที่ได้เคยพูดถึงเรื่องของการนำพืชไร่มาแปลงเป็นพลังงานเชื้อเพลิงตอนที่ 1 (น้ำมันแก๊สโซฮอล์) ซึ่งในบทความนี้ผมจะพูดถึงเรื่องของการนำพืชไร่มาใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่งนั้น คือ ไบโอดีเซล (Bio Diesel) เนื่องจากว่าประเทศไทยเองเป็นประเทศที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ และรวมถึงพืชไร่ที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการแปลงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซล

น้ำมันไบโอดีเซล

น้ำมันไบโอดีเซล คือ เชื้อเพลิงเหลวที่ใช้งานได้เหมือนน้ำมันดีเซลธรรมดา แต่ผลิตจากวัสดุทางชีวภาพที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า“ Bio” หรือ“ ไบโอ” จึงได้ชื่อว่า“ ไบโอดีเซล” ซึ่งทำได้โดยน้ำมันพืชและน้ำมันประกอบอาหารที่ใช้แล้วดังกล่าวมาผ่านกระบวนการทางเคมีกลายเป็นไบโอดีเซล

เราสามารถนำไบโอดีเซลมาผสมในน้ำมันดีเซลได้ตามสัดส่วนที่ต้องการ กรณีที่ใช้ไบโอดีเซลล้วนๆ เรียกว่า ไบโอดีเซล 100% หรือ B100 ซึ่งเหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำ หรือพวกเครื่องจักรกลทางเกษตร แต่หากต้องการหมุนเร็วหรือใช้ในรถยนต์จะผสมในสัดส่วนไบโอดีเซล 5 ส่วนต่อน้ำมันดีเซล 95 เพียง 1 ส่วนได้เป็นไบโอดีเซลสูตร B5 ซึ่งเป็นสูตรที่ได้ทดลองใช้ในรถยนต์แล้วว่าสามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้เป็นอย่างดีไม่มีปัญหา คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลสามารถย่อยสลายได้เองตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในหลวงราชกาลที่ 9 กับต้นแบบการผลิตไบโอดีเซล

น้ำมันไบโอดีเซลเกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงราชกาลที่ 9 เมื่อกว่า 20 ปีมาแล้ว ที่ได้ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมันในอนาคต จึงได้ทรงดำริให้โครงการส่วนพระองค์จิตรลดาร่วมดำเนินการวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษาหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยทรงมีพระราชดำริให้นำพืชผลการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยได้พึ่งตัวเองได้ในด้านพลังงาน รวมทั้งรองรับปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำที่อาจเกิดขึ้นด้วย

โครงการไบโอดีเซลเริ่มขึ้นในปี พ. ศ. 2528 โดยทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กขึ้นที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ. กระบี่ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็กกำลังผลิตวันละ 110 ลิตร ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ จ. นราธิวาส ต่อมาในปี พ. ศ. 2543 ทรงมีกระแสรับสั่งให้ทดลองน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่ผลิตได้มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล โดยใช้กับรถยนต์ของกองงานส่วนพระองค์ที่วังไกลกังวล อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ พบว่าไม่มีผลเสียกับเครื่องยนต์และสามารถใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์ดีเซลได้ โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ หรือหากต้องการก็อาจจะใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วนน้อยที่สุด คือ 0. 01% ชั้น ไปจนถึงมาก คือ 99. 99% ก็ได้

ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงจดสิทธิบัตรการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ผสมกับน้ำมันดีเซลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว

ภาพตัวอย่างแสดงการสังเคราะห์น้ำมันไบโอดีเซล (จากโครงการพระราชดำริในหลวงราชกาลที่ 9)

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

ทั้งนี้จะเอาเฉพาะที่นิยมใช้ในการผลิตในประเทศไทยเป็นหลัก

  1. ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชน้ำมันที่นิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทยขณะนี้ เนื่องจากเป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่น คือ มีต้นทุนการผลิตต่ำให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง โดยปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตน้ำมันต่อไร่สูงกว่าเมล็ดเรฟ ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไบโอดีเซลในประเทศแถบยุโรปถึง 5 เท่า และสูงกว่าถั่วเหลืองที่ใช้กันมากในสหรัฐอเมริกาถึง 10 เท่า
  2. น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว สำหรับประเทศไทยมีการบริโภคน้ำมันพืชกว่า 800,000 ตันต่อปี ประเมินกันว่าน่าจะมีน้ำมันพืชใช้แล้วเหลือมากกว่า 100 ล้านลิตรต่อปี ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งนำไปใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบในการผลิตสบู่ หรือใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์ ขณะที่บางส่วนถูกทิ้งออกสู่คูคลองสาธารณะซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
  3. สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันอย่างหนึ่งที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกเป็นวัตถุดิบในการผลิต ไบโอดีเซลชุมชน เนื่องจากเป็นพืชที่เพาะปลูกง่ายไม่ต้องดูแลมาก น้ำมันสบู่ดำที่สกัดได้จะสามารถนำไปใช้กับเครื่องจักร กลทางการเกษตรที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำได้ เช่น เครื่องปั่นไฟ รถอีแต๋น รถแทรกเตอร์ สามารถใช้เครื่องสูบน้ำได้โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ แต่มีปัญหาด้านคุณภาพบางประการ อาทิ ค่าความหนืดที่สูงกว่าน้ำมันดีเซลถึง10 เท่า ทำให้ไม่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลรอบสูงทั่วไปได้ จำเป็นต้องนำไปผ่านกระบวนการ Transesterification แปลงเป็นไบโอดีเซล ( B 100 ) ก่อนนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลปกติเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง

ทั้งนี้ยังมีวัตถุดิบอื่นๆ ที่สามารถนำมาผลิตไบโอดีเซลได้อีก แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้ในการผลิตในประเทศไทย เช่น น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันถั่วลิสง,น้ำมันละหุ่ง, น้ำมันงาและน้ำมันแรพซีด เป็นต้น

ข้อดีของน้ำมันไบโอดีเซล

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีพลังงานของปตท. ที่ อ. วังน้อย จ. อยุธยา เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ทดสอบการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในระดับห้องปฏิบัติการซึ่งพบว่าสารพิษในไอเสียจากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซลมีน้อยกว่ากรณีใช้น้ำมันดีเซล เช่น ปริมาณควันดำต่ำกว่ารวมทั้งปริมาณคาร์บอนมอนนอกไซด์ ฝุ่นขนาดเล็กน้อยกว่า และน้ำมันไบโอดีเซลไม่มีสารกำมะถันที่ทำให้เกิดฝนกรดจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก

ตารางเปรียบเทียบข้อดีของการใช้ไบโอดีเซลเทียบกับน้ำมันดีเซล

 

ตัวอย่างผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันในประเทศไทย

ขอยกตัวอย่างผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลในประเทศไทยและรูปภาพประกอบมาให้ดู ทั้งนี้จะเอาเฉพาะชื่อที่เราคุ้นเคยพอรู้จักและโรงที่กำลังการผลิตสูง

  1. บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จากัด (มหาชน) จากข้อมูลเมื่อธันวาคม 2561 มีโรงงานทั้งหมด 2 โรงกำลังการผลิตรวม 1,722,242 ลิตร/วัน

  1. บริษัท นามันพืชปทุม จำกัด จากข้อมูลเมื่อธันวาคม 2561 มีกำลังการผลิตรวม 1,400,000 ลิตร/วัน

  1. บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด จากข้อมูลเมื่อธันวาคม 2561 มีกำลังการผลิตรวม 1,000,000 ลิตร/วัน

  1. บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จากัด เป็นบริษัทย่อยของบริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) จากข้อมูลเมื่อธันวาคม 2561 มีกำลังการผลิตรวม 930,000 ลิตร/วัน

และยังมีผู้ผลิตเจ้าอื่นๆ เช่น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน), บริษัท จีไอ กรีน พาวเวอร์ จำกัด, บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (มหาชน)บริษัท วีระสุวรรณ จำกัด, บริษัท ตรังนามันปาล์ม จำกัด, บริษัท แอ็บโซลูท พาวเวอร์ พี จำกัด, บริษัท พีพีพี กรีน คอมเพล็กซ์ จำกัดและบริษัท ไบโอซินเนอร์จี จำกัด เป็นต้น

จากตัวอย่างโรงงานที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าโรงงานจะประกอบไปด้วยอาคารโครงสร้างเหล็ก, ถัง, ปั้ม, เครื่องจักร, ท่อและอื่นๆ ในการออกแบบโรงงานดังกล่าวจะต้องใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทางเข้ามาใช้ในการออกแบบหนึ่งในนั้นก็จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบระบบงานท่อ ซึ่ง SolidPlant เองก็เป็นซอฟต์แวร์สำหรับออกแบบระบบงานท่อสำหรับอุตสาหกรรมจำพวกนี้ด้วย

SolidPlant ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบ Plant อาทิ โรงงานกระบวนการผลิตตั้งแต่ Oil & Gas, โรงกลั่นน้ำมัน, ปิโตรเคมี, โรงงานอาหาร, โรงนม, โรงเบียร์, โรงกระดาษ, โรงไฟฟ้า หรือที่อื่นๆ ที่มีระบบท่อที่ซับซ้อน ซอฟต์แวร์ SolidPlant ก็เข้ามาตอบโจทย์ด้านนี้ได้เป็นอย่างดี ซอฟต์แวร์ SolidPlant แบ่งเป็น 2 โมดูลใหญ่ๆ คือ

  1. P&ID เป็นการออกแบบ Process หรือ Flow Diagram ต่างๆ ตัวคำสั่งรูปแบบจะคล้ายๆ เดิมถ้าคุณใช้ AutoCAD อยู่ก็สามารถใช้ P&ID อิมเพรสได้เลย การทำงานเหมือนกันเพียงแต่ว่า SolidPlant จะเก็บทุกอย่างลง Data Base ทั้งหมด เรามี Symbol และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันกับ P&ID เตรียมไว้ให้เรียบร้อยท่านสามารถเลือกมาใช้ได้เลย นอกจากนี้เราสามารถถอดปริมาณแบบ ส่งออกเป็น Excel เพื่อไปดูจำนวนอุปกรณ์และประมาณราคาต่อได้ ยิ่งไปกว่านั้นสามารถส่งไฟล์ไปทำงานต่อใน Piping 3D กับ SolidPlant 3D ได้อีกด้วย
  2. SolidPlant 3D ออกแบบท่อแบบ 3 มิติ ได้เลย แต่ต้องรันบนซอฟต์แวร์ SolidWorks (ซอฟต์แวร์ SolidWorks มีความสามารถในการทำงานด้าน Mechanic อยู่แล้ว อาทิ ออกแบบถัง ออกแบบ Equipment เครื่องจักรต่างๆ) ในหลายๆ ครั้งผู้ใช้ที่ออกแบบถังเสร็จแล้วมักจะส่งต่อไฟล์ไปยังซอฟต์แวร์อื่นๆ เพื่อไปทำ Routing และซอฟต์แวร์ SolidPlant ก็เข้ามาตอบโจทย์ให้กับทีม Piping, Plant Design และ Mechanical Design ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ มีการจัดการเรื่องของ Piping Spec

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมซอฟต์แวร์ SolidPlant : https://www.applicadthai.com/solidplant/

ทดลองใช้ซอฟต์แวร์ฟรี : https://www.applicadthai.com/solidplant/download/ 

เครดิตข้อมูล

  • สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

ทบความ

SolidPlant Team

เผยเคล็ดไม่ลับงานออกแบบด้าน Piping บริหารต้นทุน ใช้คนน้อย ลดเวลาการทำงาน
ออกแบบงานท่อ ทำไมถึงต้องเลือกใช้ SolidPlant
จากพืชไร่กลายเป็นพลังงานเชื้อเพลิง (ตอนที่1)
จากพืชไร่กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า

Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ