Article - ArchiCAD

How to Adopt BIM

How to Adopt BIM:  2 วิธีการเลือกโครงการนำร่อง (Pilot Project) เพื่อก้าวสู่การใช้ BIM อย่างจริงจัง

nec-webinar

อย่างที่เคยกล่าวไปในหลายๆ บทความว่า BIM ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หลายๆ คนในวงการที่เกี่ยวข้อง เช่น ก่อสร้าง สถาปนิก และวิศวกร เป็นต้น ต่างก็คงพอทราบถึงประโยชน์และประสิทธิภาพของการใช้ BIM กันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัท หรือองค์กรไม่น้อยที่ยังไม่เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี BIM ซึ่งต่างให้เหตุผลเดียวกันว่า “กลัวกับการที่จะต้องเปลี่ยน” ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนซอฟต์แวร์ เรื่องการอบรมพนักงาน และยังปัญหาอื่นที่จะตามมาเมื่อเปลี่ยนระบบการทำงานแบบเดิมที่เราทำอยู่ หากคุณต้องการจะให้องค์กรของคุณได้เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี BIM นี้ คุณต้องมีผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาแนะนำ สร้าง และกำหนดกระบวนการทำงาน (Workflow) ให้มีมาตราฐาน เพื่อให้นำไปปฏิบัติและใช้ในโปรเจคต่อๆ ไป

คุณก็คงมีคำถามว่า เราจะเลือกโครงการนำร่อง (Pilot Project) อย่างไรดี? ควรจะเลือกโครงงานใหญ่หรือเล็กดีกว่ากัน? เอาแบบง่ายหรือแบบยากดี? สำหรับบทความนี้ขอเสนอแนวทางการเลือกโครงการ ซึ่งทั้ง 2 โครงการก็มีลักษณะที่ต่างกันออกไป

ทางเลือกที่ 1 กลยุทธ์ไปช้าๆ อย่างชัวร์ๆ

ทางเลือกเป็นลักษณะของบริษัทขนาดเล็ก จำนวนทรัพยากรน้อย จึงควรเลือกโครงการที่มีขนาดเล็กที่เรามีความถนัดอยู่แล้ว เพราะเราจะมีความคุ้นเคยกับกระบวนการทุกขั้ินตอนทำให้มีความเสี่ยงน้อย (Low risk Strategy) เพราะหากเกิดปัญหาอะไรกลางคันเราก็สามารถจะกลับมาใช้กระบวนการเดิมได้ (2D Environment) การใช้โครงการที่เราคุ้นเคยในการฝึกฝนเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การใช้ BIM อย่างเต็มรูปแบบนั้นเป็นการยกระดับโครงการและเริ่มต้นสั่งสมประสบการณ์ทางด้าน BIM ที่สำคัญเราสามารถค้นหา BIM Champion ที่จะมาช่วยยกระดับองค์กรและประสิทธิภาพโครงการได้ง่ายกว่าองค์กรใหญ่ เพราะพนักงานทุกคนจะได้รับประสบการณ์และการอบรมไปพร้อมๆ กัน ทำให้เจอคนที่โดดเด่นได้ง่าย

ข้อดี

  • การเลือกโครงการที่เราถนัดจะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น
  • เราสามารถกลับเข้าสู่โหมดทำงานแบบเดิมได้หากมีปัญหากลางคัน และจบโครงการได้โดยไม่เสียหายมาก

ข้อเสีย

  • การที่เลือกโครงการง่ายทำให้เราเจอปัญหาที่น้อย ซึ่งส่งผลให้เราใช้ประสิทธิภาพของ BIM ไม่เต็มที่

bim_technology-1024x512

ทางเลือกที่ 2 ผู้นำเราทำเต็มที่

ทางเลือกนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่มีความพร้อมระดับหนึ่ง คือ ได้มีการศึกษาหาข้อมูล ประโยชน์ และปัญหาต่างๆ จนมั่นใจแล้ว และที่สำคัญผู้นำหรือผู้บริหารให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ หากองค์กรเรามีขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งทีมชัดเจนก็สามารถเลือกโครงการที่ยากและมีความซับซ้อนได้ในการใช้เป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) ในการเริ่มต้นใช้ BIM ควรเริ่มตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ คือ เริ่มจากงานออกแบบซึ่ง BIM สามารถลดเวลาในกระบวนการได้ดี และช่วยทำงานได้เร็วขึ้น นักออกแบบคงเข้าใจดีว่าการแก้แบบนั้นใช้เวลาของเราไปมากขนาดไหน แต่ด้วยเทคโนโลยี BIM หากมีการแก้ไขจุดใดจุดหนึ่ง ด้านอื่นๆ นี้สามารถปรับแก้ไปโดยอัตโนมัติ หากเราเริ่มต้นได้ถูกในมุมมองของผู้บริหารสิ่งที่จะได้กลับไป คือ ต้นทุนที่ลดลง และในส่วนของวิศวกรกับนักออกแบบก็สามารถคุยกันและทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น

ข้อดี

  • การเลือกใช้โครงการที่มีความซับซ้อนทำให้เรารู้ประสิทธิภาพของทีมงานในองค์กรว่าสามารถทำได้ขนาดไหน และรู้ประโยชน์ของ BIM ว่าตอบสนองเราได้มากแค่ไหนเช่นกัน

ข้อเสีย

  • เนื่องจากโครงการมีความซับซ้อนทำให้ต้องเรียนรู้มากขึ้นด้วย และโอกาสที่จะผิดพลาดก็มีสูงด้วยเช่นกัน

หากท่านกำลังศึกษา หรือสนใจข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี BIM สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.applicadthai.com/archicad/

Credit:  http://www.archdaily.com/790251/how-to-adopt-bim-3-ways-to-approach-your-firms-pilot-project

Article by: 2PMonkeys

สามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพียงกด Subscribe วารสารออนไลน์ประจำเดือน ที่รวบรวมข่าวสาร นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง ตกแต่งอาคาร ด้วยเทคโนโลยี BIM ที่พร้อมจะปลุกแรงบันดาลใจ และไอเดียแปลกใหม่ให้คุณได้ที่นี่ หรือเข้าไปชมวารสารออนไลน์ย้อนหลังได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ

Header-AI

Ai_HH_02


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ