AppNews, Article - 3DPrinter Mi, Article Mi, Articles, CSR, News Mi

แอพพลิแคด สนับสนุน “FACO-ฟาโก้” หุ่นยนต์สู้โควิด-19 ช่วยเหลือทีมแพทย์ พัฒนาขึ้นโดย “ฟีโบ้” ชิ้นงานจาก Stratasys

AppliCAD สนับสนุน “FACO-ฟาโก้” หุ่นยนต์สู้โควิด-19 (COVID-19) ช่วยเหลือทีมแพทย์ พัฒนาขึ้นโดย ฟีโบ้ ด้วยชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติ Stratasysพทย์ พัฒนาขึ้นโดย ฟีโบ้
[vc_headings style=”theme6″ title=”“ฟีโบ้“ ส่งมอบ “FACO-ฟาโก้“ หุ่นยนต์สู้โควิด-19 ลงสนามช่วยทีมแพทย์ ด้วยชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติ Stratasys Fortus 380 mc” titlesize=”36″ titleclr=”#d65500″ icon=”fa fa-handshake-o” iconclr=”#dd3333″ caption_url=””][/vc_headings]

จากสถานการณ์การระบาดรุนแรงของ COVID-19 เรามักจะเห็นข่าวยอดผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในทุกๆ วิกฤต ย่อมเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเสมอ

หลายคนอาจพบเห็นข่าวการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่าง หุ่นยนต์สู้โควิด-19 “FACO-ฟาโก้” ช่วยเหลือแพทย์ เพื่อสนับสนุนการทำงานของเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ ที่เป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยพาให้พวกเราก้าวผ่านวิกฤตการระบาด COVID-19 ในครั้งนี้ไปได้

เปิดตัวแล้ว “FACO-ฟาโก้” หุ่นยนต์สู้โควิด-19 “ไม่ได้มาตัวเดียวแต่มากันเป็นแก๊ง”

เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับ “FACO-ฟาโก้” หุ่นยนต์สู้โควิด-19 ที่ไม่ได้มาเพียงตัวเดียว แต่มาถึง 4 ตัว เรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มหุ่นยนต์กันเลยทีเดียว โดยเจ้าระบบหุ่นยนต์สู้โควิด-19 นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟีโบ้” ร่วมกับภาคเอกชนหลายภาคส่วน ภายใต้ชื่อโครงการ “FIBO AGAINST COVID-19 : FACO” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเจ้าระบบหุ่นยนต์กลุ่มนี้นี่เอง

ระบบ “FACO-ฟาโก้” มีการเชื่อมต่อสัญญาณ Wifi ได้ด้วย

ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มบริการทางการแพทย์ให้สะดวกต่อการใช้งาน ลดภาระการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากผู้ติดเชื้อ ความโดดเด่นของระบบ “FACO-ฟาโก้” นี้ก็คือ มีการเชื่อมต่อสัญญาณ Wifi ของโรงพยาบาล สามารถควบคุมผ่านห้องควบคุมกลาง ทำให้ลดการสัมผัสโดยตรงระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์

โครงการแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ “FACO-ฟาโก้” ชิ้นงานจากวัสดุ Nylon Carbon Fiber

AppliCAD ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ “FACO-ฟาโก้” ด้วยการสนับสนุนชิ้นงานจากวัสดุ Nylon Carbon Fiber จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Stratasys Fortus 380 mc ในหุ่นยนต์ 2 ตัวจากแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ “FACO-ฟาโก้” 

เรามาดูกันเลยดีกว่า ว่าชิ้นงานจากวัสดุ Nylon Carbon Fiber ที่โดดเด่นด้วยความแข็งแรง และน้ำหนักเบา อีกหนึ่งบทพิสูจน์ให้เห็นกันชัดๆไปเลยว่าชิ้นงานจาก 3D Printer สามารถเป็นส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ที่ใช้งานได้จริง และเหตุผลที่เลือกใช้วิธีการผลิตด้วย 3D Printer

ทาง AppliCAD เมื่อได้ทราบถึงความต้องการในการพัฒนาแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ “FACO-ฟาโก้” เราจึงติดต่อสอบถามและเสนอความช่วยเหลือ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จและสร้างประโยชน์ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ทางทีมวิจัยของฟีโบ้จึงบอกเล่าถึงปัญหาที่กำลังพบขณะพัฒนาระบบ สำหรับเจ้าหุ่นยนต์บริการขนยาและอาหาร

แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องขนาดและการเคลื่อนที่ จึงทำให้ เจ้าหุ่นยนต์บริการขนยาและอาหาร พบกับปัญหาความสมดุลน้ำหนักจากทั้งของตัวหุ่นยนต์เองและน้ำหนักจากสมภาระที่หุ่นยนต์ต้องขนส่งไป เพราะชิ้นส่วนประกอบในส่วนของถาดรองรับมีมากไป

อีกทั้งเจ้าแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ “FACO-ฟาโก้” มีกำหนดที่จะต้องเปิดตัวในอีกสัปดาห์ถัดมา ซึ่งหากใช้วิธีการผลิตแบบเดิมหรือการสั่งทำ Machining part จะต้องใช้เวลามากและอาจไม่ทันเวลา เราจึงเสนอให้ทีมวิจัยลองใช้ชิ้นงานจากเครื่อง 3D Printer ที่มีน้ำหนักที่เบากว่า แต่ยังคงความแข็งแรง และยังใช้ระยะเวลาในการผลิตเพียงไม่นาน

โดยชิ้นงานชุดแรกที่ AppliCAD ทำให้กับเจ้าหุ่นยนต์บริการขนยาและอาหาร คือ ชิ้นงานสำหรับใส่ขวดน้ำและชิ้นส่วนข้อต่อระหว่างตัวหุ่นยนต์กับถาดใส่สัมภาระ

“FACO-ฟาโก้” หุ่นยนต์สู้โควิด-19 : หุ่นยนต์บริการขนยาและอาหาร

จากเดิมชิ้นงานในส่วนนี้ถูกทำขึ้นมาจากแผ่นอลูมิเนียม ซึ่งปัญหาหลักคือน้ำหนักที่มากจนเกินไป ทำให้ตัวของหุ่นยนต์เสียสมดุล และอาจทำให้หุ่นยนต์ล้มขณะเคลื่อนที่ได้ ด้วยเหตุผลนี้ชิ้นงานที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบาจึงตอบโจทย์ปัญหาที่เจ้าหุ่นยนต์บริการขนยาและอาหารกำลังเผชิญอยู่

โดยชิ้นงานที่จะผลิตขึ้นมาใหม่เป็นชิ้นงานจากวัสดุ Nylon Carbon Fiber ซึ่งในส่วนชิ้นงานที่เป็นข้อต่อระหว่างตัวหุ่นยนต์กับถาดสัมภาระจะต้องสามารถรองรับน้ำหนักให้ได้ถึง 2 กิโลกรัม

“FACO-ฟาโก้” หุ่นยนต์สู้โควิด-19 : Nylon Carbon Fiber -01
“FACO-ฟาโก้” หุ่นยนต์สู้โควิด-19 : Nylon Carbon Fiber -02

ชิ้นงานชุดแรกจากวัสดุ Nylon Carbon Fiber ออกมาเรียบร้อยแล้ว เรามารอดูกันดีกว่าว่าชิ้นงานจากวัสดุ Nylon Carbon Fiber นี้ พอลองประกอบแล้วจะออกมาเป็นอย่างไรบ้างนะ สามารถรองรับน้ำหนักของสัมภาระได้หรือไม่???

“FACO-ฟาโก้” หุ่นยนต์สู้โควิด-19 : Nylon Carbon Fiber -03
[asvc_moving_image image=”54020″ align=”right”]

พอชิ้นงานถูกผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ทำการจัดส่งไปให้ทีมวิจัยที่ฟีโบ้ทดลองใช้งานกันเลยดีกว่า

เมื่อทางทีมวิจัยฟีโบ้ได้ลองใช้ชิ้นงานจากวัสดุ Nylon Carbon Fiber แล้วพึงพอใจ เพราะไม่เพียงแต่ชิ้นงานที่ออกมาจะมีความแข็งแรง สามารถใช้งานได้จริง ตรงตามความต้องการของทีมวิจัยฟีโบ้เท่านั้น แต่ยังสามารถประหยัดเวลาในการผลิตชิ้นงาน ช่วยให้เจ้าหุ่นยนต์บริการขนยาและอาหารสามารถทำงานได้ตามแผนที่วางไว้ ทีมวิจัยฟีโบ้จึงสั่งให้ดำเนินการผลิตเพิ่มอีก 5 ชุดทันที เพื่อให้พร้อมต่อการเปิดตัวสาธิตการใช้งานแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ “FACO-ฟาโก้”

ต่อมาหุ่นยนต์บริการ SOFA หรือ โซ่ฟ้า หุ่นยนต์บริการที่แพทย์สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์บริการ SOFA ในห้องควบคุม โดยสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งเป้าหมายได้อัตโนมัติ บวกกับกล้องถ่ายความร้อน (Thermal Camera) ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิของผู้ป่วย ด้วยกำลังขยายถึง 20 เท่าทำให้แพทย์สามารถตรวจตา หรือลิ้นของผู้ป่วยในระยะไกลได้

อีกทั้งผู้ป่วยยังสามารถสื่อสารโต้ตอบกับแพทย์ผ่านวีดีโอได้ โดยข้อมูลการรักษาผู้ป่วยทั้งหมดจะถูกบันทึกใน Data base เพื่อให้แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยได้อีกครั้ง

แต่!!! ระหว่างการพัฒนาพบว่าส่วนขับเคลื่อนบนหัวของหุ่นยนต์บริการ SOFA นี้เกิดชำรุด จากรูปจะเห็นได้ว่าชิ้นส่วนของเฟืองขับเคลื่อนบนหัวของเจ้าหุ่นยนต์บริการ SOFA ที่ถูกทำขึ้นจากเรซิ่นซี่ฟันของเฟืองสึกจากแรงขับเคลื่อนที่มากจนเกินไป หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า รูด นั่นเอง

หุ่นยนต์บริการ SOFA -01
หุ่นยนต์บริการ SOFA -02

จากปัญหานี้เราจะเห็นได้ว่าชิ้นงานเฟืองส่วนขับเคลื่อนบนหัวของหุ่นยนต์บริการ SOFA ไม่แข็งแรงพอที่จะรับแรงจากการเคลื่อนที่ของหัวได้ทำให้ซี่ฟันเฟืองสึก

ทีมงานของเราจึงสอบถามถึงน้ำหนัก(โหลด)ที่เฟืองจะต้องรับว่าน้ำหนักหรือน้ำหนักของหัวเจ้าหุ่นยนต์บริการโซ่ฟ้า พบว่าหัวของหุ่นยนต์หนักถึง 3 กิโลกรัม คราวนี้วัสดุ Nylon Carbon Fiber จึงกลับมาเป็นพระเอกขี่ม้าขาวที่จะช่วยเจ้าโซ่ฟ้าให้ขยับหัวได้อีกครั้ง!!!

เพียง 1 วันเท่านั้น!!! ชิ้นงานจาก 3D Printer ที่ต้องการก็ทำการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจึงรีบจัดส่งให้ทางทีมวิจัยฟีโบ้ได้ลองทดสอบการใช้งานจริงดูว่าชิ้นงานจากวัสดุ Nylon Carbon Fiber สามารถรองรับน้ำหนักการขับเคลื่อนที่ของหัวเจ้าโซ่ฟ้าได้ เพราะชิ้นส่วนในครั้งนี้เป็นเฟืองที่ทำการขับเคลื่อนหัวของหุ่นยนต์บริการ SOFA ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากและต้องทำการแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน

และก็เป็นอีกครั้งที่ชิ้นงานวัสดุ Nylon Carbon Fiberาก 3D Printer พิสูจน์ให้เห็นแล้ว!!! ว่าสามารถเป็นส่วนสำคัญของหุ่นยนต์ที่ใช้งานได้จริง ทนต่อแรงที่กระทำได้ อีกทั้งยังลดระยะเวลาการผลิตชิ้นส่วนหุ่นยนต์ ทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานตาม Function ครบถ้วนและส่งให้แพลตฟอร์ม “FACO-ฟาโก้” ได้เข้าไปช่วยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ง่ายดายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทันต่อความต้องการ

เมื่อแพลตฟอร์มบริการทางการแพทย์  “FACO-ฟาโก้” ได้ถูกนำไปทดสอบระบบ โดยจำลองการใช้งานจริง นำเสนอแก่คณะแพทย์และบุคลากรจากโรงพยาบาลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ และโรงพยาบาลตำรวจ พบว่าได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากทางคณะแพทย์ฯ จากทั้ง 2 โรงพยาบาล

AppliCAD มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมดี ๆ ที่สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงวิกฤตการระบาดของ COVID-19 และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะสามารถผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน

By Duangporn N.

Thank You  FIBO


Photo of author
WRITTEN BY

duangporn