Article - ArchiCAD, Articles

9 คำถามที่ถาม ก่อนเปลี่ยนใจมาใช้ ArchiCAD [BIM]

มาทำความรู้จักเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling)

การเขียนแบบทางด้านสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ได้ค่อยๆ ถูกปรับตามเทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด แม้ว่าในตอนนี้ยังมีวิศวกรอีกจำนวนนึงที่ยังคงใช้วิธีการออกแบบเดิมๆ อยู่ การเขียนมือ ใช้การเขียนแบบด้วย CAD แน่นอนว่าไม่ว่าคุณจะเลือกใช้วิธีการแบบไหนในการเริ่มต้นออกแบบ ด้วยความชำนาญและประสบการณ์คุณสามารถที่จะทำให้งานในส่วนนั้นเสร็จสิ้นได้เช่นกัน แต่ระหว่างนั้นขั้นตอนการออกแบบจะพบกับปัญหาระหว่างทาง ความยุ่งยาก ซับซ้อน และระยะเวลาในการออกแบบที่นานเกินความจำเป็น เพราะปัญหาต่างๆ มากมายเหล่านี้ จึงเป็นจุดกำเนิดของเทคโนโยลีที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์การทำงานให้ง่าย รวดเร็วและจบปัญหาต่างๆ ด้วยซอฟต์แวร์เขียนแบบ 3 มิติ หรือ BIM เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักหรือเคยได้ยินเทคโนโลยีนี้แน่ๆ แต่ก็อาจจะมีหลายท่านที่ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว BIM มีอะไรให้คุณเซอร์ไพรส์อย่างแน่นอน โอกาสนี้เราได้รวบรวมคำถามยอดฮิต  9 ข้อ ที่ถูกถามบ่อยๆ มาแชร์ให้อ่านกันนะครับ บางคำถามผู้อ่านอาจคิดอยากจะถามอยู่ก็เป็นได้!!

1 ระบบ CAD คืออะไร BIM คืออะไร ต่างกันยังไง?

CAD ย่อมาจาก Computer Aided Design ซึ่งแปลตามศัพท์ได้ว่า “การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบ” โดยไม่ว่าจะเป็นงานแบบที่เกี่ยวกับงานอาคาร รวมไปถึงชิ้นส่วนทางวิศวกรรม โปรแกรม CAD ก็สามารถเขียนได้ เนื่องจากโดยหลักการแล้ว คือการจำลองการเขียนมือลงบนคอมพิวเตอร์นั่นเอง ข้อดีที่หลายๆ บริษัทเปลี่ยนจากการเขียนมือ มาเป็นเขียน CAD คือ มันสามารถ Copy เส้นที่เราต้องการในปริมาณเยอะๆ และ Delete เส้นที่เราไม่ต้องการออกไปได้อย่างง่ายดาย ที่สำคัญคือมันทำให้งานมีมาตรฐานมากขึ้น ในปัจจุบันมีทั้ง CAD ที่เป็นแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

BIM ย่อมาจาก Building Information Modeling แปลงตามสมาคมสถาปนิกว่า “แบบจำลองสารสนเทศอาคาร” ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่พัฒนามาเพื่องานก่อสร้าง หรือเป็นการจำลองการก่อสร้างอาคารลงบนคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยระบบ BIM สามารถเขียนได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ คำสั่งที่ใช้งานในระบบ 3 มิติ จะเป็นตัวกำหนด ว่าวัตถุที่สร้างคืออะไร เช่น ผนัง เสา คาน พื้น โดยเมื่อออกแบบเสร็จ เราสามารถดึงปริมาณและพื้นที่ มาทำ BOQ ต่อได้ ทั้งนี้ยังสามารถส่งต่อข้อมูลเพื่อไปใช้ยังโปรแกรมที่รองรับระบบ BIM อื่นได้

Article_ArchiCAD_16_05_01

 

2 ใช้ ArchiCAD แล้วจะทำงานเขียนแบบได้เร็วขึ้นจริงไหม?

จริง โดยจากสถิติหากใช้ปริมาณงาน และจำนวนคนเขียนงานเท่ากัน ระบบ BIM จะสามารถเขียนงานได้เร็วกว่า ประมาณ 30% แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์การใช้งานโปรแกรมด้วย ไม่ใช่ว่าเพิ่งเริ่มต้นใช้งาน ArchiCAD ไม่กี่วัน จะมาเทียบกับคนที่เขียน CAD มาเป็น 10 ปี ก็คงไม่ได้

Article_ArchiCAD_16_05_02

 

3 ใช้ BIM ล้วไม่ต้องใช้ CAD 2 มิติ แล้วใช่หรือไม่?

ใช่และไม่ใช่ เนื่องจาก Software ที่เป็นระบบ BIM สามารถเขียนได้ทั้งระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ แต่จะมีราคาที่สูงกว่าระบบ CAD ที่เน้นการเขียน 2 มิติ อยู่แล้ว แถมปัจจุบัน Software CAD ยังมีทางเลือกที่หลากหลาย ตั้งแต่ราคาไม่กี่พันไปจนถึงหลายหมื่น ดังนั้นหากต้องการเปลี่ยนเป็น BIM ทั้งหมด จะใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่า หลายๆ บริษัทจึงดึงความสามารถแต่ละ Software มารวมกัน เช่น ตรงที่เขียนเป็น 2 มิติ ได้ง่ายและเร็วกว่าก็จะใช้ CAD เขียนและค่อยดึงเข้ามาเชื่อมต่อใน Software ระบบ BIM แทน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายนั่นเอง แต่หากบริษัทคุณมีงบประมาณที่พอเพียง การปรับเปลี่ยนทั้งหมดก็ไม่ใช่ปัญหา

 

4 ใช้งาน CAD 2 มิติ และ SketchUP ในการทำงานอาคารอยู่แล้ว สามารถใช้งาน ArchiCAD ได้ง่ายขึ้นหรือไม่?

ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้ที่ใช้งาน CAD และ SketchUP จะมีพื้นฐานในการใช้งาน Computer เพื่อการเขียนแบบ ทั้งในระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม คำสั่งในการใช้งาน ArchiCAD ก็ยังมีความแตกต่างกับระบบ CAD หรือ SketchUP ดังนั้นจึงจำเป็นก็ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ดี แต่หากจะเทียบโดยนำผู้ที่ไม่เคยใช้งาน CAD และโปรแกรม 3 มิติ ใดๆ 2 คน มาเริ่มต้นเรียนรู้ ArchiCAD และโปรแกรม CAD ควบคู่กันไปในเวลาเท่ากัน ผู้ที่เรียน ArchiCAD จะสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่า เนื่องจากผู้เรียนจะมองเห็นภาพอาคารที่ออกแบบได้ชัดเจนกว่าระบบ CAD 2 มิติ ที่ทำ Plan และต้องมาทำรูปด้านหรือรูปตัดอีกครั้ง

Article_ArchiCAD_16_05_03

 

5 ไฟล์ CAD มีนามสกุล .DWG/.DXF เป็นนามสกุลกลางในการส่งต่อ และระบบ BIM มีนามสกุลกลางแบบนี้หรือไม่?

.IFC หรือ Industry Foundation Classes เป็นไฟล์มาตรฐานของ BIM ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มพันธมิตรที่เรียกว่า buildingSMART ซึ่งนามสกุล .IFC จะไม่ใช่การส่งเฉพาะ 2 มิติ และ 3 มิติ ออกไปเฉยๆ แต่จะมีการส่งเรื่อง Data ที่อยู่ในตัววัตถุออกไปยังโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ระบบ BIM อีกด้วย

*** สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Industry_Foundation_Classes

Article_ArchiCAD_16_05_04.1

Article_ArchiCAD_16_05_04.2

Article_ArchiCAD_16_05_05.1

Article_ArchiCAD_16_05_05.2

 

6 ArchiCAD ทำได้แต่งานเหลี่ยมๆ ใช่หรือไม่?

ไม่ใช่ เพราะ ArchiCAD มีคำสั่งที่ใช้ในการปั้นส่วน โค้ง เว้า เอียง รูปฟอร์ม แปลกๆ ได้ดังรูปตัวอย่างที่แสดง นอกจากนี้ในเวอร์ชั่น 19 ยังสามารเชื่อมต่อไปยัง Rhino Grasshopper เพื่อสร้างฟอร์มแบบ Parametric Design ได้อีกด้วย

Article_ArchiCAD_16_05_06

 

7 เมื่อใช้ ArchiCAD แล้วเราจะต้องเขียนงานละเอียดขนาดไหน?

จากที่เราเข้าใจว่า BIM คือการจำลองการก่อสร้างอาคารลงบนคอมพิวเตอร์ก่อนการก่อสร้างจริง ดังนั้นเราจำเป็นต้องใส่ทุกชิ้นส่วนลงไปจริงๆ หรือไม่? เช่น น๊อต ลูกบิด มือจับต่างๆ นี่ต้องใส่ไหม ? คำตอบคือ แล้วแต่ตกลงครับ แต่โดยหลักของ BIM จะมีการแบ่งความละเอียดของระดับการให้ข้อมูลที่เรียกว่า LOD หรือ Level Of Detail หรือ Level Of Development (ASA) ซึ่งกระบวนการแบ่งนี้จำเป็นต้องตกลงกันก่อนว่าต้องการระดับความละเอียดของงานระดับ LOD ใด โดยในต่างประเทศจะแบ่งเป็น LOD100 , LOD200, LOD300  เป็นต้น แต่สำหรับเมืองไทยจะแบ่ง LOD ตามขั้นตอนการทำงาน เช่น LOD Conceptual Design, LOD Design Development เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วการใส่ข้อมูลในรูปแบบ LOD อาจไม่จำเป็นต้องมี 3D ตัวนั้นก็ได้ (แล้วแต่ตกลง) เช่น ประตู การใส่ข้อมูลลูกบิด บานพับ จำนวนน๊อตสกรู อาจถูกกำหนดในรูปแบบของข้อมูล Text ที่ลิงค์กับประตูบานนั้นก็ได้

Article_ArchiCAD_16_05_07

 

8 สเปคเครื่องที่เหมาะสมกับ ArchiCAD ?

สเปคเครื่องเป็นคำถามที่ถามกันบ่อยมากๆ เพราะ BIM เป็นทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ เราจะใช้สเปคเครื่องแบบไหนดี? และเครื่องต้องแรงขนาดไหน? การ์ดจอแบบไหน? สรุปง่ายๆ คือ

  • Processor ต้องเป็น 64-bit เพราะจะใช้ RAM ได้เต็มที่มากกว่า
  • RAM: 4 GB เป็นขั้นต่ำ หากบริษัทคุณทำโปรเจกต์ที่มีขนาดใหญ่ ควรเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งเดี๋ยวนี้ราคา RAM ก็ไม่ได้แพงมาก แต่มีผลต่อความเร็วในการทำงานอย่างมาก (แนะนำ 16 GB)
  • Hard Disk : 5 GB เป็นขั้นต่ำสำหรับการติดตั้งโปรแกรม แต่หากจะทำงาน Save งานด้วยก็เยอะๆ ไว้เป็นดีครับ
  • Graphics Card: OpenGL 2.0 และมี Memory มากกว่า 512 MB (แนะนำ1024 MB) ส่วนจะเป็น AMD หรือ NVidia นี่แล้วแต่ชอบครับ *** สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://helpcenter.graphisoft.com/technotes/video-cards/recommended-video-cards-for-archicad-19/
  • หน้าจอแสดงผล Resolution ขั้นต่ำที่ทำงานได้สะดวกคือ 1366 x 768 หรือมากกว่านี้

Article_ArchiCAD_16_05_08

 

9 ลือก BIM อย่างไรให้เหมาะสมกับบริษัท?

Software BIM ที่ปัจจุบันมีใช้งานก็มีหลายตัว ซึ่งแต่ละตัวมีการใช้งานและจุดประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบ เขียนแบบสถาปัตยกรรม การเขียนแบบออกแบบงานโครงสร้าง การวิเคราะห์แรง หรือพลังงาน ต่างๆ แต่สิ่งที่เป็นทางเลือกว่าเราจะใช้ Software ตัวใดนั้นขึ้นอยู่กับแนวทางดังนี้

Article_ArchiCAD_16_05_09

  • มีประสิทธิภาพ (Performance) สามารถจัดการกับข้อมูลได้ดี การแสดงผล การประมวลผลรวดเร็ว ถูกต้องและตอบสนองการใช้งานของบริษัทเราอย่างพอเพียง ไม่เยอะเกินไปจนเราสับสน
  • ง่ายต่อการใช้งาน (Easy to use) สามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้ง่าย ในระยะเวลาอันสั้น เพราะการเรียนรู้อะไรนานๆ ก็จะทำให้เรารู้สึกท้อที่จะปรับเปลี่ยน
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility) สามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน สามารถรับส่งข้อมูลกับโปรแกรมอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย
  • เพิ่มศักยภาพ (Potential) ในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ โดยสามารถคิดง่ายๆ จากปริมาณคนที่เท่าเดิม แต่ต้องได้ปริมาณงานที่เยอะขึ้นหรือดี รวมถึงความถูกต้องที่มากขึ้นด้วย
  • การสนับสนุน (Support) เนื่องจากการปรับมาใช้ Software ตัวใหม่ ควรมีผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาได้ ในกรณีที่ติดปัญหาต่างๆ

ข้อคิดสุดท้ายที่จะฝากไว้คือ BIM ไม่ใช่ CAD เพราะฉะนั้น อย่าใช้งาน BIM ให้เหมือน CAD นะครับ

(BIM คืออะไร ใช้ BIM แล้วดียังไง)

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง BIM สามารถเข้ามาดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.applicadthai.com/archicad/

A-leX

bim-services_02


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ