
Jan
22
2016
3D Printing กับชีวิต (3D printing technology to life)
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตอย่างมากมาย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เวลาตื่นนอนจนแม้ในยามหลับ ตั้งแต่เกิดจนตาย และเข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจว่าตนจะได้อะไรจากการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีคนจำนวนไม่น้อยมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวทั้งที่ในความจริงแล้ววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากในการแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่จะกล่าวถึงก็คือ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D printing) ซึ่งจะว่าไป 3D Printing ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่นัก เพราะได้มีการใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมสำหรับกระบวนการ Rapid prototyping หรือการทำต้นแบบรวดเร็ว มาตั้งแต่ยุค 1980 แล้ว แต่ที่กลับมาเป็นที่จับตามองอีกครั้งก็เพราะมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นไปสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม โดยเน้นให้มีขนาดที่เล็กลงแต่ดำเนินงานที่ซับซ้อนมากขึ้นนอกจากนั้นยังมีการพัฒนา 3D Printer ให้เข้าสู่ผู้ใช้ในระดับครัวเรือนมากขึ้นในราคาที่ต่ำลงเรื่อยๆ อีกด้วย
ปัจจุบันเทคโนโลยี 3D Printing สามารถตอบโจทย์ให้กับแวดวงต่างๆ และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นทางการศึกษา (Education) อุตสาหกรรมการออกแบบ (Industrial Design) อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) งานด้านวิศวกรรม (Engineering) งานด้านสถาปัตยกรรม (Architecture) การแพทย์และทันตกรรม (Medical & Dental) การออกแบบแฟชั่นและเครื่องประดับ (Fashion & Jewellery) การบินและอวกาศ (Aerospace) อาหาร (Food) และอื่นๆ อีกมากมาย
เทคโนโลยี 3D Printing เข้ามามีบทบาทในการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เก่า ซึ่งสามารถทำงานต้นแบบที่มีคุณภาพได้ใกล้เคียงกับของจริงด้วยวัสดุที่หลากหลาย และกำลังก้าวไปสู่การผลิตจำนวนมาก ทั้งนี้เทคโนโลยี 3D Printing จะช่วยให้เห็นชิ้นงานออกแบบก่อนการผลิตจริง เพื่อตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขแบบให้สมบูรณ์ก่อนส่งต่อไปยังกระบวนการผลิตในลำดับถัดไป ในด้านการผลิตยังช่วยให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และทำให้สามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพื่อตอบสนองให้ทันต่อความต้องการ ทั้งยังมีคุณภาพภายใต้ต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก จึงทำให้การใช้เทคโนโลยี 3D Printing เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมการออกแบบ (Industrial Design)
ออกแบบจักรยาน “TREK” พร้อมอุปกรณ์เสริม
อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive)
Urbee Car รถยนต์คันแรกที่สร้างจากเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ
ด้านวิศวกรรม (Engineering)
ด้านสถาปัตยกรรม (Architecture)
Model of Stockholm จาก Mitekgruppen
เสาที่สร้างขึ้นโดยสถาปนิกและนักออกแบบจากลอนดอน Sam Welham และ Richard Beckett
การแพทย์และทันตกรรม (Medical & Dental)
แขนวิเศษ “Magic Arms” ของหนูน้อยเอ็มม่า ลาแวล ผู้ซึ่งป่วยเป็นโรค AMC (Arthrogryposis Multiplex Congenital) แต่กำเนิด
ขาเทียมสุนัขจาก 3D Printing เป็นการออกแบบขาเทียมให้กับเจ้าเดอร์บี้ ที่เกิดมาไม่สมบูรณ์เพราะขาหน้าเล็กผิดปกติ
การออกแบบแฟชั่นและเครื่องประดับ (Fashion & Jewellery)