Article - ArchiCAD, Articles

“2 years for AEC : are you ready ?”

โซนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นับเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งกำลังถูกจับตามองจากประเทศมหาอำนาจ การลงทุนที่เศรษฐกิจเริ่มอิ่มตัวในภูมิภาคอาเซียนนี้มี เป็นที่ตั้งของประเทศ 10 ประเทศ ได้แก่ Brunei, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, Philippines, Singapore, Thailand และ Vietnam

ซึ่งได้รวมเป็นกลุ่มสมาชิก Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) ตั้งแต่ปี 1967 โดยประชากรรวมใน ภูมิภาคนี้มี 567 ล้านคน ซึ่งมีพลังในการอุปโภค บริโภค อย่างมหาศาล ทั้งในด้านพลังงาน ด้านอาหาร ด้านสินค้าใช้ในชีวิตประจำวัน จึงทำให้มีบริษัทและโรงงานมากมายจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้นๆ อย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะเมื่อได้รับสัญญาณการเปิดประเทศ จากประเทศที่เคยปิดกั้นตัวเอง อย่าง พม่า กัมพูชา และลาว ซึ่งประเทศเหล่านี้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถเป็นวัตถุในการผลิตสินค้า สร้างผลกำไรได้อย่างมากมาย และ ภูมิภาคนี้กำลังจะผนึกกำลังเป็นประชาคมอาเซียน AEC Asean Economic Community ในปี 2015 เพื่อรวมตลาดให้เป็นหนึ่งเดียว และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก, เพื่อเป็นโซนเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกที่สำคัญ มีอำนาจเจรจาต่อรองมากขึ้น เหล่านี้ทำให้เกิดโครงการลงทุนพัฒนาด้านต่างๆ มากมาย ได้แก่ ในด้านพลังงาน ประเทศในกลุ่ม ASEAN นี้มีโครงการ ASEAN Power Grid และ Trans – ASEAN Gas Pipeline เพื่อส่งเชื้อเพลิงทั่วภูมิภาค เพื่อตอบสนองด้านพลังงาน เช่น ประเทศอินโดนีเซีย มีโครงการ 3,800 กิโลเมตรทั่วประเทศ ประเทศไทย – มาเลเซีย มีโครงการ Trans Thailand – Malaysia (TTM) Gas Pipeline system 614 กิโลเมตร ประเทศพม่า มีระบบท่อลำเลียง 3,854 กิโลเมตรตามแนวชายฝั่ง และ ยังมีโครงการ China – Myanmar Gas Pipeline ไปยังประเทศจีนกว่า 771 กิโลเมตร

ในด้านสาธารณูปโภค มีโครงการ ASEAN Highway Network สร้างระบบถนนกว่า 38,400 กิโลเมตรทั่วภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ถนนตัดผ่านคาบสมุทรอินโดจีน ตั้งแต่เมืองท่าต้าเว่ยของพม่า ผ่านประเทศไทย เข้าสู่ กัมพูชา และสิ้นสุดที่เวียตนาม เพื่อร่นระยะทางการขนส่งสินค้าให้สั้นลง ไม่ต้องอ้อมปลายคาบสมุทรที่ สิงคโปร์ โดยเฉพาะหากสินค้ามีต้นทาง หรือปลายทางอยู่ที่ประเทศจีน และยังมีโครงการระบบราง Singapore – Kunming Rail Link (SKRL) ความยาวรวม 7,000 กิโลเมตร และรวมถึงระบบโทรคมนาคมทั่วภูมิภาค

สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ การถ่ายเทของประชากรไปยังที่ๆ มีงานทำ มีรายได้ดี มีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งประชากรเหล่านี้ ต้องการสิ่งอุปโภคบริโภคอย่างมากมาย ประเทศไทยถือว่าเป็นยุทธภูมิที่ดี ด้วยตำแหน่งและความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคที่มีอยู่แล้ว และมีกำลังคนที่มีความสามารถ รวมถึงเทคโนโลยีในการผลิตทรัพยากรสำหรับเป็นอาหาร และเป็นวัตถุดิบได้มาก ทำให้เชื่อได้ว่าประเทศไทยจะเป็นที่แรกที่ผู้คนจะเข้ามาเพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ

ดังนั้น ผู้ผลิตที่อยู่ในประเทศไทยจะได้รับอานิสงส์ ในเรื่องของความต้องการจากตลาดในประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งความต้องการจากประเทศใกล้เคียง ที่ไม่มีกำแพงในการขนถ่ายสินค้าอีกต่อไป หากแต่ผู้ผลิตในประเทศไทยจะสามารถรับมือกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นขนาดนั้นได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อม ในหลายๆ ด้าน ได้แก่

  • ความสามารถในระดับนานาชาติของบุคคลากร
  • การใช้เทคโนโลยีช่วยออกแบบ
  • เครื่องจักรที่ทำงานระบบอัตโนมัติที่ทำงานได้รวดเร็วขึ้น
  • ระบบลอจิสติกที่ดี
  • การบริหารสต๊อกวัตถุดิบ
  • ระบบไอที เชื่อมโยงข้อมูล สาขาออนไลน์
  • ฯลฯ

“ผู้ประกอบการไทย คุณพร้อมหรือยัง?”


Photo of author
WRITTEN BY

Wathit