Article Ci, Article-ProtaStructure, Articles

เจาะเครื่องทุ่นแรง ช่วยวิเคราะห์แผ่นดินไหว รับกฎกระทรวง ปี 2564

ปี 2564 กฎกระทรวงบังคับใช้กับ การวิเคราะห์แผ่นดินไหว ที่เข้มมากขึ้น วิศวกรมีแนวทางรับมืออย่างไร

เมื่อมีเครื่องมือที่สามารถช่วยทุ่นแรง และเวลาในการทำงาน อีกทั้งยังมีความแม่นยำ และเชื่อถือได้ ในโอกาสนี้ทีมงานได้รับเกียรติจาก คุณอรรถสิทธิ์ คำหล้า (กรรมการผู้จัดการ / สามัญวิศวกรโยธา) บริษัท ซี.เอ็ม.บิวดิ้ง อินสเปคเตอร์ จำกัด มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการทำงานด้านการออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้าง รวมถึง การวิเคราะห์แผ่นดินไหว ที่เริ่มมาตรการในการบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ 

ช่วงเดือนมีนาคม ปี 2564 กฎกระทรวงบังคับใช้กับการวิเคราะห์แผ่นดินไหวที่เข้มมากขึ้น และบังคับใช้กับจังหวัดเพิ่มมากขึ้น 43 จังหวัด ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้เท่าทันด้วยเช่นกัน 

กระทรวงมหาดไทยออก “กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2564” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนักฯ ฉบับเดิม พ.ศ. 2550 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป = มีการปรับปรุงข้อกำหนด + มีผลบังคับใช้วันที่ 31 สิงหาคม 2564

  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย 2564 เรื่อง การออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว = ข้อกำหนดการออกแบบ 
  • มยผ. 1301/1302-61 มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว = มาตรฐานการออกแบบอาคาร 
  • คู่มือการปฏิบัติประกอบมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านของแผ่นดินไหว = คู่มือ + ตัวอย่าง ใช้ร่วมกับ มยผ. 1301/1302-61 
  • มยผ.1304-61 มาตรฐานการออกแบบอาคารเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เพื่อต้านทานการสั่นสะเทือน ของแผ่นดินไหว = อาคารโครงสร้างเหล็ก

ผมเรียนรู้และอบรมเรื่องแผ่นดินไหว 6 คอร์ส และมีโอกาสได้มาใช้งานซอฟต์แวร์ Prota และได้ลองนำตัวอย่างที่ 4 ในคู่มือนี้ มาเทียบกับการใช้งานจริงกับซอฟต์แวร์ ProtaStructure

Modal Response Spectrum Analysis

ตัวอยางที่ 4 ตัวอย่างการคำนวณนี้ใช้อาคารสูง 39 ชั้น ในการอธิบายกระบวนการวิเคราะห์เพื่อออกแบบ โครงสร้างด้วยวิธีเชิงพลศาสตร์ (Response Spectrum Analysis, RSA) และปรับปรุงวิธีการคำนวณแรงเฉือนในองค์อาคารแนวดิ่งรายชิ้นส่วน เรียกว่าวิธี Modified RSA

ผมเริ่มต้นจากการดราฟไฟล์ขึ้นมาจาก 2D CAD และ Import DXF แล้วนำเข้า Prota เพื่อเป็นไกด์ในการขึ้นโมเดล จากนั้นกำหนดใส่ค่าต่างๆ เหมือนในตัวอย่างที่ 4

Thailand Seismic Load by ProtaStructure 2021

การประยุกต์ใช้โปรแกรมสําเร็จรูป ProtaStructure ในการวิเคราะห์เพื่อออกแบบโครงสร้าง ด้วยวิธีเชิงพลศาสตร์ (Response Spectrum Analysis, RSA)

1. กำหนดลักษณะของ Model

2. แยกประเภท Model แต่ละส่วน

3. กำหนด Code การออกแบบ 

จะแยกออกมาเป็น Concrete Design Code, Steel Design Code, Loading Code, Wind Load Code, Earthquake Code  

4. กำหนดเงื่อนไขของแผ่นดินไหว 

ค่าต่างๆ ในซอฟต์แวร์ Prota สามารถเลือกจังหวัด พื้นที่ และสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้เลยรองรับ Code แผ่นดินไหว (ในกรณีที่เราเลือกเงื่อนไขที่ผิดพลาดซอฟต์แวร์จะมีการแจ้งเตือนให้กับเราด้วย)

 

สรุปผลการเปรียบเทียบค่าที่ได้จากซอฟต์แวร์ช่วยวิเคราะห์

กับ คู่มือออกแบบตาม มยผ.

สรุปคือ ผลลัพธ์ที่ได้ ค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัม ระหว่างในคู่มือออกแบบตาม มยผ. กับค่าที่คำนวณจากซอฟต์แวร์ ProtaStructure มีค่าที่ตรงกัน 

เปรียบเทียบโหมดการสั่นไหว 

นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ ProtaStructure เป็นเทคโนโลยี BIM ที่สามารถส่งต่อไฟล์ และใช้งานร่วมกับ BIM อื่นๆ ได้ อาทิ เช่น ETABS

นี่เป็นเพียงส่วนนึงของความสามารถในด้านการวิเคราะห์แผ่นดินไหว ของซอฟต์แวร์ ProtaStructure ที่รองรับมาตรฐาน มยผ. และกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2564 

หากคุณต้องการเรียนรู้และติดตามข่าวสารอัปเดตเกี่ยวกับเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบ และวิเคราะห์โครงสร้าง สามารถเข้าชมได้ที่ : https://www.facebook.com/ProtaUserGroupThailand  

หรือต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : ProtaStructure 
ขอสาธิตการใช้งานแบบออนไลน์ : ProtaStructure
เรียนซอฟต์แวร์ Prota ฟรี 1 วัน พร้อมทดลองใช้งาน : https://bit.ly/3Mxbt6D

 

ช่องทางการติดตามผลงาน

K. Attasit Khamlar

https://www.facebook.com/cmbuildinginspector 

YouTube Channel : SETBIM

Facebook Group : BIM for Structural Engineer 


Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ