Article - ArchiCAD, Article Ci, Articles

เครื่องมือดิจิตอลสำหรับสถาปนิก 2022 “แค่รู้ว่าลูกค้าคิดอะไร คุณก็แซงหน้าคู่แข่งไปแล้ว”

เครื่องมือดิจิตอลสำหรับสถาปนิก 2022

เครื่องมือดิจิตอลสำหรับสถาปนิก 2022

เครื่องมือดิจิตอลสำหรับสถาปนิก 2022 เสริมเกราะในการทำงานให้แกร่งมากขึ้น “แค่รู้ว่าลูกค้าคิดอะไร คุณก็แซงหน้าคู่แข่งไปแล้ว”

ในปัจจุบันดิจิตอลเทคโนโลยีไม่เพียงเข้ามามีอิทธิพลต่อกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่มีบทบาทครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเริ่มการออกแบบและก่อสร้าง ไปจนถึงขั้นตอนการนำเสนองานกับลูกค้า สร้างความประทับใจ และความเป็นมืออาชีพในการทำงาน นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้งานด้านอาคาร และการบำรุงรักษาอาคาร เครื่องมือดิจิตอลสำหรับสถาปนิก 2022

ทุกวันนี้สำนักงานสถาปนิกชั้นนำส่วนใหญ่ในโลก ไม่เพียงต้องการนักออกแบบที่สามารถใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบทั้ง 2D CAD & 3D CAD เท่านั้น แต่ยังคงต้องการสถาปนิกที่มีความรู้ความเข้าใจ ในเครื่องมือดิจิตอลเพื่อผลักดันให้ขีดความสามารถและศักยภาพในการออกแบบออกเพื่องานสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน 

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น จะมีเครื่องมือใดบ้างที่จะเข้ามาช่วยอัพเกรดงานสร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจให้กับคู่ค้า และลูกค้า ให้กับสถาปนิกในยุค 2022

เครื่องมือดิจิตอลสำหรับสถาปนิก 2022

1. เทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling)

เป็นกระบวนการทำงาน ก่อสร้าง โดยอ้างอิงจากแบบจำลอง หรือโมเดลอาคาร โครงการก่อสร้างดิจิตอล 3 มิติ โมเดลเดียวกัน ทั้งงานสถาปัตยกรรม และการก่อสร้าง ตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการก่อสร้าง ตลอดไปจนถึงการบริหาร การใช้อาคาร หลังการก่อสร้างเสร็จ กระบวนการใช้ BIM จะใช้ซอฟต์แวร์ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การออกแบบมีความถูกต้องมากกว่าวิธีเดิม เนื่องจากการมีโมเดล 3 มิติ ของงานทุกระบบมารวมกัน เพื่อตรวจสอบตำแหน่งต่างๆ ของงานสถาปัตย์ โครงสร้าง งานระบบ นอกจากนั้นซอฟต์แวร์ BIM จะช่วยเขียนแบบจากโมเดลให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการเขียนแบบ และแก้ไขแบบ อีกทั้งยังสามารถคำนวณโครงสร้าง และเขียนแบบโครงสร้างให้อัตโนมัติ ตลอดจนการถอดปริมาณเพื่อการประมาณราคาได้อย่างอัตโนมัติ และแม่นยำ   รวมไปถึงการวางแผนงานต่างๆ ของอาคาร เพื่อช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นเรื่องง่าย ถูกต้อง ช่วยในการสื่อสาร และการทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี 

การนำ BIM มาใช้งานเป็นแนวโน้มที่ผู้ทำงานในวงการก่อสร้างจำเป็นต้องหันมาปรับใช้งาน เนื่องจากประโยชน์ที่ผู้ใช้งานสามารถทำงานงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง ราบรื่นในกระบวนการก่อสร้าง อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารทั้งกับลูกค้าและคู่ค้า เพราะเมื่อใช้ BIM จะช่วยให้เห็นภาพการทำงานแบบ 3 มิติ และ 2 มิติ ช่วยในการสื่อสาร และเห็นข้อผิดพลาดของแบบได้ก่อนการก่อสร้างจริง ทำให้บริษัทมีความล้ำหน้าเหนือคู่แข่ง และสามารถรับงานได้มากขึ้น  (ทดลองใช้ BIM ฟรี กับซอฟต์แวร์ Archicad BIM)

เครื่องมือดิจิตอลสำหรับสถาปนิก 2022

Cr. www.graphisoft.com

 

2. 3D Scanner

ด้วยเทคโนโลยีการพัฒนานำแสงเลเซอร์มาใช้เพื่อหาระยะและพิกัดตำแหน่ง ทำให้เกิดเครื่องมือใหม่ๆ ที่สามารถนำมาช่วยในงานก่อสร้างได้หลาย ๆ ตัว หนึ่งในนั้น คือ 3D Laser Scanner ซึ่งใช้หลักการยิงแสงเลเซอร์จำนวนมากไปรอบตัวในระยะร้อยเมตรเพื่อไปกระทบสิ่งขวางกั้น ซึ่งจะได้ข้อมูลจุดในระยะต่างๆ มากมายรอบการสแกน แล้วส่งออกไฟล์ที่รวมจุดทั้งหมด (Point Cloud) ซึ่งจะเห็นเป็นจุดจำนวนมากประกอบกันเป็นรูปร่าง คล้ายอาคารที่ทำการสแกน ซึ่งปัจจุบันได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานสำรวจโครงสร้างอาคารที่ก่อสร้างแล้ว หรือนำมาใช้กับงานที่กำลังจะก่อสร้างใหม่ ในการสำรวจเพื่อปรับปรุงอาคาร เก็บข้อมูลสภาพปัจจุบัน หรือสามารถเก็บข้อมูลไว้เพื่อการอนุรักษ์ ที่สำคัญยังใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของงานก่อสร้างได้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มโอกาสในการรับงานได้หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานที่มีรูปทรงซับซ้อน หรืองาน Renovate  เรียกได้ว่าเพิ่มความเป็นมือโปร และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าไม่น้อยเลยทีเดียว   

นอกจากนี้ยังมีผู้พัฒนาการสแกน 3 มิติ ในรูปแบบทางอากาศ โดยนำสแกนเนอร์ติดกับโดรน ซึ่งจะได้จุดมากมายในตำแหน่งสามมิติจากการสแกนจากด้านบน ซึ่งสามารถนำจุดเหล่านั้นมาประกอบกันกับการสแกนจากภาคพื้นที่กล่าวไปแล้ว

Cr. https://www.dronegenuity.com

3. VR เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality)

เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้แก่หลากหลายวงการ รวมถึงวงการสถาปัตยกรรมและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน และเปิดประสบการณ์การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้ชม หรือ ลูกค้าเหมือนอยู่ในสถานที่จริง สามารถเห็นหรือรับรู้ เพราะการตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่มาจากความต้องการด้านอารมณ์ และความรู้สึก ยิ่งให้ลูกค้าได้สัมผัสความรู้สึกที่สมจริง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่อยากได้ โดยลูกค้าสามารถมองไปรอบๆ ตัว ทั้ง ด้านซ้าย ด้านขวา และมุมก้ม มุมเงย ช่วยให้การสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น การถ่ายทอดผลงานช่วยให้เห็นภาพอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในสภาวะโควิด ซึ่ง จำเป็นต้องดูงาน หรือช้อปปิ้งผ่านออนไลน์ และได้มีการประยุกต์นำไปใช้สร้างโชว์รูมเสมือน หรือ Virtual Showroom ดังตัวอย่าง https://xr-services.com/XR-VirtualShowroom/

 

4. 3D Printer

ผู้รับเหมา วิศวกร ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และสถาปนิกรุ่นใหม่ มีความต้องการชิ้นงานที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ สวยงาม นับว่าเป็นการก้าวไปอีกขั้นของวงการก่อสร้าง ที่สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยเทคโนโลยี 3D Printer หรือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยสามารถนำไปพิมพ์ทั้งส่วนประกอบโครงสร้าง ผนัง วัสดุตกแต่งอาคารบ้านเรือน ชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ โดยขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสั่งปริ้นท์ได้ในระยะเวลาการผลิตเพียง ไม่กี่ชั่วโมงต่อชิ้นเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถต่อยอดสร้างสรรค์เป็นสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ได้มากมาย การนำเทคโนโลยี 3D Printer เข้ามามีบทบาทในการนำเสนองานที่เป็น 3 มิติ ช่วยต่อยอดงานออกแบบให้ล้ำหน้ามากขึ้น กับชิ้นงานต้นแบบที่ถูกปริ้นท์ มาให้เห็นและสามารถสัมผัสได้ก่อนก่อสร้างจริง เพิ่มมิติในการนำเสนองานที่สร้างความประทับใจ และสร้างการจดจำให้กับผู้พบเห็น อีกทั้งยังช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้ออกแบบ ผู้ก่อสร้าง และลูกค้า ได้เป็นอย่างดี 

Cr. https://www.stratasys.com/explore/blog/2015/3d-printed-architecture

 

5. WORK (Collaborate) on Cloud

เทคโนโลยี Cloud เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้นทำให้ผู้ใช้งานสามารถเก็บ และแชร์ข้อมูลต่างๆ ผ่าน Cloud ช่วยให้การทำงานง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องมี Server ของตัวเองและต้องดูแลเอง อีกทั้งยังช่วยให้สามารถทำงานและแชร์งานระหว่างผู้ร่วมงานทั้งภายนอก และภายใน รวมถึงลูกค้า เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ต้องทำงานแบบ WFH ทำให้การทำงานผ่าน Cloud จึงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับงานโครงการก่อสร้างมีเครื่องมืออย่าง BIMCloud ที่ช่วยทำให้การทำงานเป็นทีม ทำได้ อย่าง สะดวกราบรื่น โดยแต่ละคนสามารถอัพเดตงานเข้าส่วนกลางได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้บุคลากรในทีมไม่ว่าจะเป็นสถาปนิกและวิศวกรเห็นความคืบหน้าของงานโครงการที่ออกแบบได้ทันทีจากทุกที่ทีมีอินเตอร์เน็ต

Cr. https://graphisoft.com/try-archicad/work-in-team

 

6. On Cloud Service

ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างได้แก่

  • ความเร็วของอินเตอร์เนตที่เร็วขึ้นระดับ 5G ซึ่งทำให้ 

ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หันไปพัฒนาบริการ แบบ On Cloud กันมากขึ้น
บริษัทหรือองค์กรหันมาใช้การทำงานร่วมกันผ่านระบบอินเตอร์เนตมากขึ้น ทั้งในการทำงาน ทั่วไป, การอบรม สัมมนา, การซื้อของ

  • สถานะการณ์โควิดที่ทำให้ต้อง WORK FROM HOME

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องการทำงานแบบคล่องตัว ทำงานที่ไหนก็ได้ จึงทำให้ เกิด Service on Cloud มากมาย ไม่ว่าจะเป็น SaaS (Software as a Service), PaaS (Platform as a Service), Iaas (Infrastructure as a Service) ซึ่งตอบสนองกลุ่มผู้ใช้งานแตกต่างกันไป

เรียกได้ว่าตอบโจทย์การทำงานในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ที่หลายๆ ท่านยังคงทำงานแบบ WFH การที่มีอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว ก็ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถทำงานได้ ทั้งโหลดงาน ส่งงาน แชร์งาน รวมถึงการติดต่อสื่อสาร ประชุม นำเสนองานกับลูกค้า ก็สามารถทำได้อย่างราบรื่น

Cr. www.stackscale.com

ตัวอย่าง Service on cloud สำหรับสถาปนิก เช่น https://planner5d.com, https://www.coohom.com, www.photopea.com, www.bimobjects.com, https://www.sketchup.com/products/sketchup-for-web, https://en.dwgfastview.com/

ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องมือดิจิตอล ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทในการทำงานของสถาปนิกเพื่อช่วยเสริมเกราะในการทำงานให้แกร่งมากขึ้น พร้อมนำคู่แข่ง ในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การอยู่กับที่เท่ากับคุณกำลังค่อยๆ ถอยหลังโดยไม่รู้ตัว ปัจจัยสำคัญ คือ ทำอย่างไรถึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด รวดเร็ว ถูกต้อง สามารถทำงานได้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด การเลือกใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา และยังสามารถช่วยเพิ่มกำไร ให้กับธุรกิจของคุณได้

Power of BIM ติดอาวุธ ยกระดับธุรกิจอสังหาฯ ด้วย BIM
ทำไมต้องใช้ BIM “ใช้ BIM แล้วดียังไง” ออกแบบเร็ว ผิดพลาดน้อย งานดีมีคุณภาพ จริงหรือ!!!!

Photo of author
WRITTEN BY

Frozen Whale

ยังมีอีกหลายอย่างที่รอเราเข้าไปค้นหา สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี อย่าหยุดที่จะก้าว แต่จงก้าวต่อไปในทุกๆ วินาที เรียนรู้และอัปเดตอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ