Article - Education, Articles

ถ้าเราไม่สอนเรื่อง BIM

 

ถ้าถามว่าแนวโน้มเทคโนโลยีการก่อสร้างในยุค Thailand 4.0 มีปัจจัยอะไรที่จะต้องรู้หรือรับมือบ้าง คงมีผู้รู้ตอบคำถามนี้ไปในหลายๆ แนวทาง หรือหลายๆ เทคโนโลยี แต่ที่หลายสำนักเห็นตรงกันน่าจะมีอยู่ 2 ปัจจัยหลัก คือ

  1. การใช้เทคโนโลยีทางด้านการก่อสร้างแบบกึ่งสำเร็จรูป หรือที่เรียกกันติดปากว่า Pre-Fab (Pre Fabrication)

ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้งานทางด้าน Construction เสร็จได้รวดเร็ว เพราะโดยปกติแล้ว ต้นทุนเวลา เป็นต้นทุนที่สำคัญมากสำหรับโครงการก่อสร้าง เพราะเวลามันจะสัมพันธ์ไปกับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตลอดที่ใช้ไปในการทำโครงสร้าง ดังนั้น หากใครยิ่งก่อสร้างได้เสร็จเร็วเท่าไร ต้นทุนก็จะลดลง และสามารถที่จะประมูลโครงการแข่งขันกับคู่แข่งได้ง่ายขึ้น

  1. การออกแบบอาคารด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) หรือระบบสารสนเทศอาคาร

ปัจจุบันแนวโน้มการนำเทคโนโลยี BIM มาใช้ มีอัตราที่สูงมากถ้าเทียบกับเมื่อ 2-3 ปีก่อน โดยเฉพาะหลังจากการที่เราเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามามีบทบาท และสิทธิ์ในการทำงานด้านนี้มากขึ้น ทำให้สถาปนิกหลายๆ ชาติ อย่างสิงคโปร์ หรือออสเตรเลีย ได้เปรียบมากกว่าสถาปนิกบ้านเราเป็นอย่างมาก

 

 

ในส่วนของ Pre-Fab เชื่อว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างในบ้านเราตื่นตัวมานานแล้ว มีหลายๆ ที่พัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างชัดๆ ก็อย่างของทาง SCG ที่มีการก่อสร้างบ้านแบบ Modular ในแบรนด์ SCG HEIM (http://www.scgheim.com) หรือค่ายเล็กๆ อย่าง WALRUSHOME (http://www.walrushome.net) ดังนั้น ในความเห็นของผมเอง ตลาดได้เปิดกว้างไม่ได้จำกัดแต่บริษัทใหญ่ๆ บุคลากรเองที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้ก็หาได้ไม่ยากนัก แต่ในส่วนของ BIM นี่สิครับ เราอาจจะถือได้ว่า เริ่มต้นช้ากว่าหลายๆ ประเทศในละแวกเดียวกัน เรายังไม่ได้มีแผนงานการสร้างบุคลากรทางด้านนี้อย่างจริงจัง ผมเลยลองจินตการเล่นๆ ดูว่า ถ้าท้ายสุดเราไม่ได้มีการสอน BIM ให้เด็กๆ สถาปนิก หรือวิศกรรุ่นใหม่ๆ ในบ้านเรา อนาคตจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง

  1. บริษัทก่อสร้างและรับออกแบบของต่างประเทศ จะมาร่วมทุนกับเด็กไทยมากขึ้น

บริษัทจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย คงจะมาเปิดบริษัทลูกโดยร่วมทุนกับเรา แต่เขาจะไม่ได้ร่วมกับสถาปนิก หรือวิศวกรเก่งๆ นะครับ เขาแค่จะให้หุ้นลมๆ แล้งๆ ให้บริษัทดูเป็นสัญชาติไทย ไว้รับงานประมูลของภาครัฐฯ เพื่อมาเปิดบริษัทแข่งกับบริษัทของคนไทย เขาคิดว่าเขามีศักยภาพที่จะเอาชนะได้ไม่ยาก เพราะ BIM จะช่วยเขาในทุกๆ เรื่อง เช่น การลดข้อผิดพลาดของการออกแบบ การนำเสนอโครงการที่สื่อสารได้ชัดเจน ลดเวลา และประมาณราคาที่ไม่ผิดพลาด ซึ่งเราจะสู้เขาไม่ได้เลย เพราะเราไม่มีใครเป็นผู้รู้ทางด้านนี้

  1. โครงสร้างมูลค่าสูงผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด

ไม่ใช่ว่าจำนวนโครงการมีเพิ่มมากขึ้น แต่โครงการต่างๆ จะมีมูลค่าสูงขึ้น เหตุผลก็ไม่ใช่เพราะว่าการนำเทคโนโลยี BIM มาใช้เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนของแต่ละโครงการมีราคาสูง แต่เพราะ BIM เองนี่ละครับ จะช่วยลดต้นทุนในการออกแบบ และการก่อสร้างให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ด้วยเหตุผลที่ว่า เราเองไม่ได้เรียนรู้เรื่องพวกนี้มา การที่งานโครงการจะมี Requirement หรือ TOR ว่าต้องให้บริษัทที่จะมารับงานต้องใช้ BIM ในการออกแบบนั้นย่อมทำไม่ได้ ดังนั้นเงินจำนวนมหาศาล จะถูกใช้เพื่อสกัดกั้นให้โครงการต่างๆ ยังคงต้องใช้เทคโนโลยีเดิมๆ ที่สำคัญเวลาที่จะตรวจรับก็ทำได้ไม่ง่ายเหมือนแบบที่ถูกสร้างมาด้วย BIM ซะด้วย

  1. จำนวน Start-UP หรือ New Entrepreneur มากขึ้นตามกระแส Thailand 4.0

ไม่ใช่เพราะนโยบายดีแล้วเด็กๆ จบใหม่จะเก่ง หรือมีความรู้ ความสามารถนะครับ แต่เพราะสถาปนิก วิศวกรของเราจะสู้สถาปนิกและวิศวกรจากต่างประเทศไม่ได้ บริษัทอย่างที่ได้บอกไปจะมีบริษัทต่างชาติมากขึ้น เขายอมจ่ายแพง เพื่อจ้างคนเก่งทำงาน คนของเราพอไม่มีงาน ก็อาจจะต้องไปทำอย่างอื่น เป็นเจ้าของร้านกาแฟ ร้านเกมส์ อะไรพวกนี้ อีกอย่างพวกติ่งเกาหลีอาจจะลดลงก็ได้นะ หันมาติดดาราไทยกัน เพราะสถาปนิกหลายคนจบมาก็ไปเป็นดาราดีกว่า

จริงๆ มีอีกหลายๆ จินตนาการที่ผมคิดว่า ถ้าเรายังไม่เริ่มที่จะเรียนรู้ และวางรากฐานเทคโนโลยีทางด้าน BIM (Building Information Modeling) หรือระบบสารสนเทศอาคารในวันนี้ ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า วงการออกแบบ และก่อสร้างบ้านเราสะเทือนแน่ๆ ครับ เราอาจจะสู้กับสถาปนิกลาว พม่า เวียดนาม ไม่ได้ด้วยซ้ำ อย่าให้จินตนาการของผมที่คิดว่า เราจะไปแบกหามตามคำสั่งของวิศวกรพม่าเป็นความจริงเลยนะครับ คิดแล้วก็…..

แต่ไม่ต้องห่วงนะครับ อีกหนึ่งแรงกำลังโดย บริษัท แอพพลิแคด จำกัด เราพร้อมที่จะผลักดันตามนโยบาย Drive innovations with technologies and human touch อย่างเต็มที่ ท่านใดที่สนใจ ติดต่อรับการอบรมเรื่อง BIM ได้ฟรี!! ที่ [email protected] สำหรับสถาบันการศึกษา ผมยินดีส่งคนไปอบรมให้น้องๆ ฟรี!! ถึงที่เลยนะครับ

บทความ : วิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์


Photo of author
WRITTEN BY

Ichikung