Art & Inspire, Article - ArchiCAD

ยุคนี้…ทำไมต้อง BIM

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

ยุคนี้…ทำไมต้อง BIM (Building Information Modeling)

ทำไมต้อง BIM ปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานด้านสถาปัตยกรรมมักเกิดขึ้นด้วยกันหลายปัญหา เนื่องด้วยงานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่ต้องมองภาพรวม ต้องเข้าใจองค์ประกอบสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น ต้องเน้นจุดสำคัญที่จะส่งผลต่อภาพรวมของทั้งระบบ ทั้งในเชิงฟังก์ชั่นและคุณภาพ โดยต้องสอดคล้องกับความต้องการ และความเกี่ยวพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกันทั้งหมด

แต่ปัญหาหลักๆ ที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกแบบ และการปรับแก้ไขแบบ การทำแบบก่อสร้าง การประสานงานและการทำงานร่วมกันของทีมงานหลายๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็น สถาปนิก วิศวกร หรือผู้รับเหมา โดยในทีมงานแต่ละฝ่ายจำเป็นต้องมีข้อมูลที่สอดคล้อง และถูกต้องในการสร้างชิ้นงานเดียวกัน เพื่อลดการขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ปัญหาแบบก่อสร้างไม่เป็นปัจจุบันทำให้เกิดความผิดพลาดในงานก่อสร้างได้ และเพื่อตรวจสอบความไม่ถูกต้องของแบบและขั้นตอนการก่อสร้าง จึงมีเจ้าหน้าที่ไว้สำหรับเคลียร์แบบ เขียนแบบ ประจำหน่วยงานก่อสร้างเพื่อลด และแก้ไขปัญหาข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน แต่ด้วยวิธีการเหล่านี้มักเป็นสาเหตุของการใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

       อย่างไรก็ดีในการทำงานก่อสร้างก็มักจะมีการปรับเปลี่ยนตามสภาวะของเนื้องานนั้นๆ และหากทีมงานแต่ละทีมไม่สามารถนำข้อมูลที่ตรงกันไปทำงานแล้ว ข้อผิดพลาดในการดำเนินงานดังกล่าวย่อมเกิดขึ้น และถึงแม้ว่าเมื่อเริ่มงานก่อสร้างผู้รับเหมาต้องมีแบบก่อสร้าง (Shop Drawing) เป็นแนวทางเพื่องานก่อสร้างนั้นๆ แต่คำถามมักเกิดขึ้นเสมอว่าแบบยังไม่ชัดเจน แบบขัดแย้ง หรือการตีความหมายของแบบผิดเพี้ยน ทำให้เกิดการตีความหมายไปคนละทาง และอาจรวมถึงการลำเลียง หรือส่งถ่ายข้อมูลที่ผิดพลาดและไม่ทั่วถึง, การนำแบบหลายๆ ชุดมาทำงาน เนื่องจากขณะทำการก่อสร้างตามแบบแล้วประสบกับปัญหา ความไม่ถูกต้อง ระยะผิดพลาดไป ทำตามแบบแล้วมีปัญหากับงานระบบ หรือโครงสร้างอื่นๆ จึงต้องมีการแก้ไขที่หน้างานเลย โดยไม่ได้มีการปรับแก้แบบตามข้อมูลล่าสุด ซึ่งอาจก่อให้เกิดการผิดพลาด และเสียหายกับชิ้นงาน ปัญหาเหล่านี้ย่อมจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการทำงานก่อสร้างหากยังไม่มีเทคโนโลยี หรือเครื่องมือใดที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อลดข้อผิดพลาดของแบบก่อสร้าง

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

       สำหรับแนวทางที่ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างได้นำมาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้นนั่นก็คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพของการทำงาน และความรวดร็วของการทำแบบก่อสร้างที่เรียกว่า BIM” (Building Information Modeling) หรือแบบจำลองข้อมูลอาคาร โดย BIM เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาสำหรับการออกแบบอาคารด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมกระบวนการต่างๆ ให้สอดคล้องและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ในลักษณะของการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องลงไปในวัตถุสามมิติ และสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ถูกบันทึกลงไป เพื่อให้สามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นมาใช้สำหรับการวิเคราะห์ผลงานออกแบบ และสร้างแบบจำลองอาคารได้ ในรูปแบบของการกระจายและเชื่อมโยงข้อมูล ทั้งในเรื่องของแนวคิดของการออกแบบ, ข้อมูลด้านพฤติกรรม, เวลาในการทำงาน, การควบคุมคุณภาพของงาน รวมถึงการประสานงานกับส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการลดข้อผิดพลาดของการทำแบบก่อสร้าง และเพื่อนำไปใช้ประกอบการบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้สามารถกำหนดและใส่ข้อมูลต่างๆ ตลอดจนรายละเอียดลงไปในทุกๆ ส่วนขององค์ประกอบอาคาร เช่น ขนาดความกว้างยาว, วัสดุต่างๆ, รูปแบบในการเขียนแบบ, การประมาณราคา และอื่นๆ ทำให้ทุกส่วนของการออกแบบมีความครบถ้วนทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

       หลายๆ ท่านอาจมีหลักในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป และการใช้งาน BIM บริษัทชั้นนำในต่างประเทศนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หากแต่ในประเทศไทยยังมีการใช้ไม่มากนัก แต่ทว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการประยุกต์ใช้ BIM ล้วนเกิดขึ้นจากความต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการทำงาน ต้องการความถูกต้อง ขจัดข้อผิดพลาด และลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงเอกสารงานก่อสร้างให้มีความถูกต้องมากขึ้น และทำให้ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนั้นยังส่งผลให้ปัญหาซึ่งเกิดจากการประสานงานภาคสนามมีจำนวนลดลง

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

ประโยชน์ และจุดเด่นของเทคโนโลยี BIM

       ปัจจุบันเทคโนโลยี BIM เข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการออกแบบก่อสร้างมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก แทนที่การทำงานแบบเดิมที่เป็น 2 มิติ เข้าสู่การทำงานที่มากกว่า 3 มิติ ซึ่งมีจุดเด่น และข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อ สถาปนิก, บริษัทออกแบบ, เจ้าของโครงการ, วิศวกร หรือผู้รับเหมา มากมาย ได้แก่

       1. เป็นเทคโนโลยีเพื่อใช้สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับสถาปนิก และนักออกแบบ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมมากกว่าการใช้ซอฟต์แวร์ในลักษณะเดิมที่เน้นการเขียนแบบ และนำเสนอเพียงอย่างเดียว ทำให้ทั้งผู้ออกแบบ ผู้ร่วมงาน ตลอดจนลูกค้า สามารถสื่อสารได้เข้าใจกันง่ายขึ้น เพราะเห็นเป็น 3 มิติ แบบชัดเจน

       2. เน้นลักษณะการสร้างชิ้นงานในแบบ 3 มิติ เป็นหลัก และมีกลไกลในการควบคุมขนาดและสัดส่วนต่างๆ ของวัตถุด้วยระบบพารามิเตอร์ โดยควบคุมการทำงานผ่านมุมมองต่างๆ ทั้งมุมมองที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของวัตถุใดๆ ในมุมมอง ก็จะส่งผลถึงมุมมองอื่นๆ ทั้งหมด

       3. สามารถนำส่งข้อมูลที่ตรงกัน เพื่อลดการขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ลดข้อขัดแย้งของปัญหาแบบก่อสร้างไม่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดพลาดในงานก่อสร้างได้ จึงช่วยให้สามารถลดระยะเวลาในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการก่อสร้างผิดแบบได้

        4. สามารถใช้เทคโนโลยี BIM เข้าร่วมกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบ โดยจะเห็นได้ชัดเจนจากการประมวลผลข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น การถอดแบบวัตถุ 3มิติ ที่สร้างขึ้นเพื่อการประมาณราคา (Cost Estimate) ลำดับขั้นตอนต่างๆ ในงานก่อสร้าง (Phasing) เพื่อช่วยลดขั้นตอน และระยะเวลาในการทำงานให้สั้นลง

        5. การลดการใช้ทรัพยากรบุคคล และค่าใช้จ่ายในการทำงานให้น้อยลง โดยนำความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมของการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

       6. BIM ใช้งานง่ายไม่สลับซับซ้อน สามารถแก้ไขชิ้นงานได้ และสามารถ Export ไปยังโปรแกรมอื่นได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถ Export ชิ้นงานย้อนกลับไปยังขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้ ซึ่งทำให้การนำไปใช้งานเกิดความหลากหลายและมีทางเลือกมากขึ้น

       7. BIM มีความสามารถในการวิเคราะห์งานออกแบบในด้านต่างๆ ตลอดจนการวิเคราะห์งานระบบประกอบอาคารต่างๆ ทำให้ลดความผิดพลาดที่เกิดจากคน ในงานแก้แบบ

       8. ความสามารถในด้านการทำแบบก่อสร้าง รวมถึงแบบขยาย และรายละเอียดของส่วนต่างๆ ของอาคาร ความสามารถในการทำแบบก่อสร้างตามขั้นตอนของงานก่อสร้าง และความสามารถในการทำแบบก่อสร้างในรูปแบบของงานปรับปรุงอาคาร ลดเวลาในส่วนของการเขียนแบบไปได้อย่างน้อย 30% ทำให้โครงการก่อสร้างเสร็จเร็วกว่าเดิม

       9. ส่งเสริมการทำงานในรูปแบบของทีมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นไปในลักษณะการทำงานในแบบร่วมมือกัน และประสานความร่วมมือกันในการควบคุมิ้นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารโครงการสามารถทำการกำหนดสมาชิกในทีม เพื่อเลือกกำหนดสิทธิและสัดส่วนความรับผิดชอบในส่วนต่างๆ ของอาคาร และชิ้นงานให้แก่ลูกทีมแต่ละคนได้ รวมถึงความสามารถในการรองรับโครงการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ ที่มักมีหลายๆ อาคารก็สามารถทำการเชื่อมโยงไฟล์งานของชิ้นงานต่างๆ เข้าด้วยกันได้

       10. การนำระบบ BIM มาใช้ในการจัดทำแบบรูปการก่อสร้าง (As-built Drawing) เป็นแบบที่แสดงรายละเอียดของงานที่ได้ทำการก่อสร้างจริง ภายหลังการส่งมอบงานให้กับเจ้าของโครงการจะได้รับโมเดล 3มิติที่เต็มไปด้วยข้อมูลและการจัดการ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังผู้จัดการผู้ดูแลสิ่งก่อสร้างนั้นเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบ Facility Management (FM) ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือในการบำรุงรักษาอาคาร หรือต่อเติมอาคารในอนาคต ตลอดจนใช้ในการบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างตลอดชั่วอายุขัยของสิ่งก่อสร้างนั้นๆ

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

BIM, ArchiCAD, Building Information Modeling, ประโยชน์ BIM, จุดเด่น BIM, เทคโนโลยี BIM

       ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ BIM มากที่สุดคือ การตรวจสอบข้อขัดแย้งของแบบก่อสร้าง, การเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบ เช่น ประมาณราคา วิเคราะห์อาคาร และลดการสูญเสียทรัพยากร และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ในลำดับต่อๆ มาก็คือ As-Built Drawing มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และลดปัญหาจากการเริ่มต้นทำงานใหม่เมื่อเกิดการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ตอบสนองความต้องการของลูกค้า พัฒนาการทำงานให้เป็นระบบสากล ใช้บุคลากรน้อยกว่าแต่ทำงานได้มากขึ้น เร็วขึ้นด้วย สามารถนำข้อมูลมาบริหารจัดการอาคาร ความสามารถในการนำเสนอผลงานในรูปแบบ 3 มิติ ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะนำมาซึ่งการเพิ่มผลประกอบการให้กับองค์กร ดังนั้นในเมื่อมีเทคโนโลยีดีๆ ที่จะเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานอย่างนี้แล้ว ทำไมคุณถึงจะไม่ใช้ BIM หละ

บทความ: Wilaiphan S.

ทดลองใช้ฟรี : Archicad BIM 
ข้อมูลเพิ่มเติม : Archicad BIM 

Photo of author
WRITTEN BY

supawadee