Additive Manufacturing (3D printing)
Additive Manufacturing (3D printing) การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ : เทคโนโลยีด้านการพิมพ์ 3 มิติ กระบวนการขึ้นรูปวัตถุตาม 3D Data (CAD) หรือ 3D Model เป็นการสร้างชิ้นงานขึ้นจากวัสดุที่ละชั้น จนได้ชิ้นงาน 3 มิติ ตามที่ได้ออกแบบไว้ใน CAD
Additive Manufacturing (3D printing) – เทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อ หรือที่เรารู้จักกันในนามของเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) ซึ่งในอดีตเราใช้เทคโนโลยนี้เฉพาะการทำชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) แต่ในปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนาวัสดุที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกในการใช้งาน สามารถใช้งานเฉพาะทางได้
อีกทั้งยังใช้ในการทำชิ้นงานต่างๆ ทดแทนการผลิตแบบเดิมๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม เทคโนโลยีนี้จึงทำให้เกิดนวัตกรรมต่างๆมากมาย จึงเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกได้ เพราะชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนมากๆ ละเอียดมากๆ ที่การผลิตแบบเดิมตลอดจน CNC ไม่สามารถกัดได้ แต่เทคโนโลยี AM สามารถทำได้
Additive Manufacturing (3D printing)
การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ จาก Stratasys
หลักการทำงาน Additive Manufacturing (3D printing)
กระบวนการขึ้นรูปวัตถุตาม 3D Data (CAD) หรือ 3D Model โดยมักเป็นการสร้างชิ้นงานขึ้นจากวัสดุที่ละชั้น จนได้ชิ้นงาน 3 มิติ ตามที่ได้ออกแบบไว้ใน CAD หรือตามไฟล์ 3D Model ที่ได้รับมา โดยมีกระบวนการดังนี้
- ออกแบบชิ้นงาน หรือ สแกนชิ้นงานที่ต้องการ
- นำข้อมูล CAD ที่ได้จากการออกแบบ ไปใช้เป็นแนวทางในการพิมพ์แต่ละชั้นแต่ละชั้น
- วางแผนการพิมพ์ กำหนดรูปแบบการวางชิ้นงาน การวางซัพพอต(โปรแกรมคำนวนให้อัตโนมัติ)
- สั่งพิมพ์ชิ้นงาน
- เมื่อพิมพ์เสร็จ นำชิ้นงานไปทำการกำจัดซัพพอต ด้วยการละลายหรือแกะด้วยมือ
- ได้ชิ้นงานที่ต้องการ นำไปใช้ประโยชน์ที่ต้องการ
คุณสมบัติของ Additive Manufacturing
เนื่องจาก เทคโนโลยี Additive Manufacturing (3D printing) เป็นเทคโนโลยีการผลิตแบบเติมเนื้อ จึงมีคุณสมบัติที่ทุกคนสนใจ ดังนี้
- ผลิต และขึ้นรูปได้โดยไม่ต้องใช้แม่พิมพ์
- สามารถผลิตจำนวนน้อยๆได้
- วัสดุมีความหลากหลาย
- ผลิตชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนได้
- ของเสียที่เกิดจากการผลิตน้อยกว่าเทคโนโลยีแบบกัดเนื้อ
ประโยชน์ของ Additive Manufacturing
- กระโดดข้ามขีดจำกัดด้านการออกแบบ เพิ่มศักยภาพในการออกแบบรูปร่างซับซ้อน
- เป็นตัวขับเคลื่อน ช่วยผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
- ลดต้นทุนในการผลิต การทำชิ้นงานต้นแบบ ลดต้นทุนการออกแบบ
- ประหยัดพื้นที่การจัดเก็บอะไหล่ หรือ สต็อค เนื่องจากวัสดุบางชนิดมีความแข็งแรง ยืนหยุ่น ใช้ทดแทนอะไหล่ได้
- ลดข้อผิดพลาดด้านการออกแบบ การผลิต และการสื่อสาร แม้จะอยู่ห่างไกลกันขนาดไหน ก็ยังใช้ไฟล์เดียวกัน
- ลดเวลาการทำงาน ทำให้สามารถผลิตชิ้นงานได้เร็ว ทันกระแสตลาด
ตัวอย่างเทคโนโลยี AM ของ Stratasys
- FDM (Fused Deposition Material) : วัสดุเป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีความแข็งแรงสูง มีให้เลือกใช้ได้หลายชนิด เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน มีความเสถียรในการขึ้นรูปสูง มีความแข็งแรง ทนทาน จึงสามารถนำไปปรัับใช้กันงานได้หลากหลาย ทั้งต้นแบบ เครื่องมือช่วยในการผลิตหรือ Jig & Fixture ต่าง ทั้งยังสามารถพิมพ์ใช้งานทดแทนชิ้นงานจริงได้
- Polyjet : วัสดุเป็นเรซิ่น มีจุดเด่นที่สามารถพิมพ์ขึ้นรูปได้หลายวัสดุ หรือ Muti-Material ในครั้งเดียว และยังสามารถพิมพ์วัสดุสีแบบ Full Color ได้อีกด้วย ตลอดจนเป็นเครื่องเดียวในตลาดที่สามารถปริ้นสีตามมาตรฐาน Pantone เป็นเทคโนโลยีเหมาะกับงาน Prototype ที่ต้องการความเสมือนจริง เป็นตัวอย่างสินค้าที่ออกแบบไว้ และงานด้านการแพทย์ เช่นโมเดลจำลองอวัยวะของมนุษย์
- Binder Jetting : วัสดุเป็นผงโลหะ เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ และมีรูปร่างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งงานแมชชินนิ่งไม่สามารถทำได้ (Coming soon)
FDM – 3D Printer เครื่องพิมพ์ 3 มิติ จาก Stratasys
Machine : F123 Series (Click)
Application : Concept Modeling
- สามารถสร้างโมเดลได้อย่างง่ายดาย และสามารถดูลักษณะชิ้นงาน texture และการทำงานก่อนนำไปผลิตได้
- เหมาะกับการใช้งานด้าน ออกแบบชิ้นงานด้านอุตสาหกรรมการผลิต งานด้านการตลาด งานวิจัย แม้กระทั่งงานด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
Machine : F123 Series (Click) , Fortus 380mc (Click) , Fortus 450mc (Click) , F900 (click)
Application : Jigs and Fixtures
- สามารถพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติ ที่มีได้อย่างรวดเร็ว มีน้ำหนักเบา แข็งแรงและเที่ยงตรงสูง จึงนิยมนำชาใช้กับงานด้าน Jigs & Fixture ที่ต้องใช้งานซ้ำๆ บ่อยๆ และต้องกำหนดตำแหน่งชิ้นงานที่ต้องการติดได้อย่างคงที่
Polyjet – 3D Printer เครื่องพิมพ์ 3 มิติ จาก Stratasys
Machine : Connex (Click)
Application : Jigs and Fixtures
Machine : J8 Series (Click)
Application : Functional Design
Machine : Object 260 Dental , Object 500 Dental
Application : Dental
Machine : J750 Digital Anatomy (Click)
Application : Surgical Modeling
วัสดุที่ใช้กับงานด้าน Additive Manufacturing
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี AM ไปใช้กับงานด้านต่างๆ มากมาย อาทิ งานด้านการแพทย์และทันตกรรม งานด้านอากาศยาน งานยานยนต์ งานสถาปัตยกรรมต่างๆ งานศิลปะและการออกแบบ งานด้านอาหาร และยังใช้ในวงการแฟชั่นด้วย ส่วนวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ มีทั้งโลหะ เรซิ่น พลาสติก เซรามิค คอมโพซิต คอนกรีต อาหาร และวัสดุชีวภาพ
Material
กลุ่ม Thermoplastic | กลุ่ม Resin |
---|---|
|
|