Uncategorized @th

CAD ในยุค Robot Automation ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม

งานภาคอุตสหกรรมต่างๆ ในปัจุบันนี้กำลังที่จะก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 (Industries 4.0) ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งก้าวใน การพัฒนาระบบการขับเคลื่อนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มีความทันสมัย และตอบรับในเรื่องของการผลิตให้ทันต่อผู้บริโภครวมไปถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศ ฉะนั้นเพื่อให้มีการตอบสนองกับยุคปัจจุบันนี้ ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมองหาเครื่องมือเครื่องจักรที่สามารถตอบโจทย์ และเพิ่มศักยภาพในการทำงาน รวมไปถึงเรื่องของการติดต่อและการสื่อสารที่ดี จึงได้มีการนำระบบการผลิตในลักษณะแบบ Automation เข้ามาใช้งาน

เครื่องจักรแบบ Automation เป็นเครื่องจักรที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องจักรนั้นๆ ทำงานได้เอง โดยอาจเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการผลิต หรือเป็นการผลิตแบบอัตโนมัติทั้งระบบ โดยจะมีคนควบคุมและดูแลเครื่องจักรเท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดในเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานในจุดที่เสียงต่อการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

ยกตัวอย่างในภาคอุตสาหกรรม ที่นำระบบการทำงานแบบ Automation เข้ามาใช้งานที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ใช้ Robot ไปอยู่ในกระบวนการผลิต เช่น ในส่วนงานเชื่อม ส่วนงานขนย้าย เป็นต้น หรือแม้แต่ในงานอุตสาหกรรมอาหารก็มีการนำระบบแบบ Automation เข้ามาใช้งาน และยังมีอีกหลากหลายอุตสาหกรรมที่นำเอาระบบนี้ ไปอยู่ในขั้นตอนการช่วยผลิต

robot-automation_01

งานที่เป็นระบบ Automation ต่างๆ เหล่านี้ต้องมีการออกแบบ วางตำแหน่ง รวมไปถึงการวางแผนในการผลิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องใช้ Software ในการออกแบบหรือวางตำแหน่งที่สำคัญ อีกทั้งต้องรวดเร็วในการทำงานและใช้งานง่าย ซึ่งในส่วนนี้จะขอแนะนำ Function ที่จะช่วยให้ผู้ที่ออกแบบ หรือในส่วนของผู้พัฒนาการผลิตให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น

Mate Controller

คำสั่งนี้จะอยู่ใน Mode ของงาน Assembly ข้อดีของคำสั่งก็คือ ผู้ใช้งานสามารถที่จะ Control มุมองศาของการหมุนชิ้นงานได้ง่ายเพราะจะมีเครื่องมือให้ผู้ใช้งานปรับองศา หรือแม้กระทั้งใส่ค่าตัวเลขได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถจำลองดูการทำงานของชิ้นงาน ว่าสามารถทำงานได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการได้หรือใม่  หากตำแหน่งการทำงานของชิ้นงานยังไม่ครบตามต้องการก็สามารถที่จะเพิ่มเติมโดยสร้างจากในคำสั่ง Mate Controller นี้ได้ทันที

 

robot-automation_02

เมื่อนำ Assembly ที่มีการทำ Mate Controller ไปทำงานต่อใน Animation ผู้ใช้งานสามารถดึงเอาค่าองศาต่างๆ ที่ทางผู้ออกแบบกำหนดเอาไว้ใน Mate Controller มาใช้งานใน Mode Animation ได้ทันที โดยไม่ต้องไปกำหนดค่าใหม่ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่ง Function ที่ลดเวลาในการทำงานได้อย่างดี

robot-automation_03

Magnetic Mates

คำสั่งนี้จะช่วยให้การประกอบงานใน  Assembly ได้รวดเร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น งานออกแบบวางแผนระบบในกระบวนการขนส่งลำเลียง โดยการประกอบงานปกตินั้นต้องมีการอ้างอิงผิวของชิ้นงาน ซึ่งในบางครั้งการทำงานที่มีขนาดใหญ่แต่พื้นที่ ที่ต้องการเลือกมีขนาดเล็กก็ต้อง Zoom in ชิ้นงานเข้ามาเพื่อทำการเลือกผิวชิ้นงานที่ต้องการ แต่ในคำสั่งของ Magnetic Mates ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเลือกผิวชิ้นงาน เพียงแค่ดึงชิ้นงานเข้ามาประกอบแล้วเอาไปวางยังตำแหน่งที่ต้องการ ชิ้นงานก็จะถูกลากเข้าไปติดกับจุดอ้างอิงนั้นๆ โดยอัตโนมัติ

robot-automation_04

อีกหนึ่ง Option ในคำสั่ง Magnetic Mates ผู้ใช้งานสามารถ Set Speedpak ได้จากในคำสั่ง Magnetic Mates ได้ทันที โดยผู้ออกแบบสามารถเลือกจะให้แสดงชิ้นงานได้ตามต้องการใน Mode Assembly และช่วยทำให้เปิดไฟล์งานขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ผู้ออกแบบงานสามารถปรับ-เปลี่ยน ในการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

robot-automation_05

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าระบบ Automation นั้นมีส่วนช่วยในเรื่องของการทำงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างมากมาย แต่ก็ต้องแลกกับการลงทุนเพื่อให้ตอบโจทย์และให้ทันในยุคของการพัฒนาของประเทศที่จะก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ซึ่งในการใช้งานของระบบเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องอาศัยการวางแผนที่ดี การออกแบบของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ การควบคุม การบำรุงรักษา และความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานของระบบนั้นๆ จึงจะช่วยให้การใช้งานระบบ Automation นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบ 3 มิติ SolidWorks : https://www.applicadthai.com/solidworks/

ว่าที่ ร้อยตรี จิรพงษ์   หงษ์สามารถ

สามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพียงกด Subscribe วารสารออนไลน์ประจำเดือน ที่รวบรวมข่าวสาร ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี 3D ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และออกแบบอุตสาหกรรมได้ที่นี่ หรือเข้าไปชมวารสารออนไลน์ย้อนหลังได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ

header-mi

 

mi_hh_16_12


Photo of author
WRITTEN BY

Wathit