Tips & Tricks, Tips & Tricks – ArchiCAD

ArchiCAD 18 CineRender : กับการนำเสนอทัศนียภาพ ด้วยระบบเรนเดอร์ระดับไฮเอนด์

    Cinema 4D

       ArchiCAD 18 กับการพัฒนาโซลูชั่นในส่วนของการสร้างภาพเรนเดอร์ที่จัดว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญมากสำหรับสถาปนิก เพราะถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารงานออกแบบให้กับลูกค้าได้เห็นภาพมากที่สุด โดยสิ่งที่เราต้องการนั้น นอกจากจะเป็นงานเรนเดอร์ที่มีคุณภาพแล้ว ยังต้องสามารถใช้งานได้ง่าย เหมาะสมกับผู้ใช้งานมือใหม่อีกด้วย ดังนั้นสำหรับเวอร์ชั่น18 ArchiCAD จึงได้ทำการเปลี่ยนแปลง Engine ที่ใช้ในการเรนเดอร์มาเป็น CineRender Engine ที่มีคุณภาพในการเรนเดอร์ทัศนียภาพระดับไฮเอนด์จาก Cinema 4D โดย Maxon นั่นเอง

CineRender Engine ใน ArchiCAD 18

       สำหรับ CineRender Engine ใน ArchiCAD 18 นี้ จะมีคอนเซปในการใช้งานเช่นเดียวกับลักษณะการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิตอลที่เราสามารถปรับเลือกโหมดในการถ่ายภาพในลักษณะต่างๆ ได้ โดยในกรณีของผู้ใช้งานหรือช่างภาพมือสมัครเล่น วิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มต้นสำหรับการถ่ายภาพก็คงหนีไม่พ้นการใช้งานและถ่ายภาพด้วยโหมด Auto นั่นเอง

        ArchiCAD 18 ก็เช่นกัน ในกรณีที่ผู้ใช้งานมือใหม่ต้องการจะสร้างภาพเรนเดอร์นั้น เราสามารถเลือกใช้งานการตั้งค่าเริ่มต้นของตัว CineRender Engine ได้เลย โดยวัตถุประสงค์ของโซลูชั่นนี้ก็คือการสร้างภาพเรนเดอร์ที่มีคุณภาพ ที่แม้ว่าจะเป็นเพียงลักษณะการตั้งค่าในโหมดเริ่มต้น (Default)

LightWorks Engine ใน ArchiCAD 17

       เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เราลองย้อนกลับไปดูภาพเรนเดอร์จาก LightWorks Engine ใน ArchiCAD 17 กัน ภาพที่เห็นด้านบนจะเป็นลักษณะของการตั้งค่าโหมดเริ่มต้นหรือ Default นั่นเอง ซึ่งจะเห็นว่าคุณภาพของภาพเรนเดอร์ที่ได้จะขาดคุณภาพ และค่อนข้างผิดไปจากความต้องการของเรา ทั้งในส่วนของสภาพแสงเงา ไปจนถึงลักษณะบรรยากาศของงานที่ยังขาดความสมจริงอยู่ ดังนั้นเพื่อความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของโซลูชั่นนี้ เราลองมาดูภาพเรนเดอร์ในมุมมองเดียวกันจาก ArchiCAD18 โดย CineRender Engine กันอีกครั้ง

ArchiCAD 18 New Features

       ภาพที่เห็นด้านบนเป็นภาพที่ได้จากการเรนเดอร์ด้วยโหมดการตั้งค่าเริ่มต้น (Default Settings) ซึ่งไม่ได้ทำการปรับแต่งหรือเปลี่ยนการตั้งค่าใดๆ เลย จะเห็นว่าคุณภาพ Engine ของ CineRender นั้นจะค่อนข้างมีคุณภาพที่เหนือชั้นกว่ามากเมื่อเทียบกับ Engine เดิมจาก lightworks โดยเราสามารถสังเกตได้ถึงรายละเอียดต่างๆ ของภาพเรนเดอร์ที่มาจาก CineRender ทั้งในส่วนของพื้นหลังที่เป็นลักษณะของท้องฟ้าที่มีความสมจริง (Physical Sky) อีกทั้งยังมีรายละเอียดการสะท้อนและการหักเหของแสงบริเวณ Curtain Wall ซึ่งภาพรวมของลักษณะแสงเงาที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างมีความนุ่มนวลสวยงาม ที่แม้จะเป็นเพียงแค่การตั้งค่าเริ่มต้น แต่ CineRender ก็สามารถสร้างสรรค์ทัศนียภาพที่สมจริงได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

CineRender Engine

       อีกหนึ่งจุดเด่นของ CineRender Engine คือลักษณะหน้าต่างการใช้งานที่เราสามารถประเมินผลลักษณะภาพที่เราต้องการเรนเดอร์ได้ก่อนโดยการคลิกดูได้ในหน้าต่าง Preview ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการทำงานของเราได้มาก ในกรณีของการตั้งค่ารายละเอียดของงานเรนเดอร์ในแต่ละส่วน ที่ย่อมจะมีรายละเอียดความซับซ้อนของแสงเงาที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของการเรนเดอร์ลักษณะภาพ Interior ภายในอาคารนั้นแน่นอนว่าค่อนข้างจะท้าทายกว่าลักษณะภาพแบบ Exterior ดังนั้นเราก็จะสามารถประเมินคุณภาพโดยรวมของงานประกอบไปกับการตั้งค่ารายละเอียดในส่วนต่างๆ ได้

CineRender Engine

       จากที่ได้กล่าวไปในข้างต้นในกรณีของการเรนเดอร์ภาพ Interior เราจะสามารถสังเกตได้ในภาพ Preview ของหน้าต่าง PhotoRendering Settings ของ CineRender ได้เลยว่าลักษณะภาพที่ได้นั้นจะค่อนข้างมืดเพราะมีแสงภายในไม่เพียงพอ ซึ่งในส่วนนี้หมายความว่า การตั้งค่าเริ่มต้น (Default) นั้นไม่ได้ดีและเหมาะสมกับทุกสภาวะของงานเรนเดอร์ เมื่อเทียบกับกล้องดิจิตอลแล้วก็เช่นกันกับในโหมด Auto ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะใช้ไม่ได้กับทุกสภาวะแสง ดังนั้นทางผู้ผลิตกล้องดิจิตอลจึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหานี้ที่เรียกว่า ‘Scene’ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานมือใหม่ได้ค่อนข้างมากทีเดียว เนื่องจากเราสามารถเลือกใช้ Scene ต่างๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายภายที่เราต้องการได้ เช่น ลักษณะฉากของภูมิทัศน์ (Landscape) ภาพบุคคล (Portrait) หรือโหมดถ่ายกลางคืน (Night Shot) ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราได้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพดีกว่าการใช้งานโหมดอัตโนมัติ (Auto) แม้ว่าจะเป็นในกรณีที่สภาพแสงนั้นซับซ้อน โดย ArchiCAD18 ได้นำแนวคิดนี้มาใช้กับ CineRender Engine ด้วยการเตรียมเซ็ตของ Scene ต่างๆ เอาไว้ให้เราเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานเรนเดอร์ให้สวยงามสมจริงยิ่งขึ้น

CineRender Engine

       สำหรับ Scene ต่างๆ ภายใน CineRender Engine นั้น เราสามารถเข้าไปเลือกใช้งานได้ง่ายจากหน้าต่าง PhotoRendering Settings ได้เลย ซึ่งในกรณีของลักษณะภาพ Interior ก็จะมีรูปแบบการตั้งค่า Indoor ในสภาพแสงต่างๆ ให้เลือกอีกไม่ว่าจะเป็น Daylight, Lamps และ White Model

Global Illumination

       หลังจากที่เราเลือกลักษณะ Scene ที่ต้องการและเริ่มเรนเดอร์ภาพแล้ว เราลองมาดูในส่วนของปัจจัยอื่นที่สำคัญในการสร้างภาพเรนเดอร์ ซึ่งสิ่งที่ใครหลายคนต่างให้ความสนใจนอกจากจะเป็นคุณภาพของงานแล้ว แน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นในเรื่องของความเร็วในการเรนเดอร์ภาพ ซึ่งจะสังเกตได้จากประสิทธิภาพการทำงานของ CPU ที่เป็นอันชัดเจนว่า CineRender Engine นั้น มีความสามารถในการทำงานและดึงประสิทธิภาพของ CPU มาคำนวณเพื่อเรนเดอร์ได้อย่างยอดเยี่ยม และเมื่อภาพนั้นเสร็จสมบูรณ์ เราจะสังเกตได้เลยว่าภาพที่ได้นั้นจะมีคุณภาพแสงที่ดูสว่างขึ้นจากเดิม ทั้งๆที่ไม่ได้ใส่แหล่งกำเนิดแสงใดๆ เพิ่มเติมเลย เป็นผลมาจากเทคโนโลยี Global Illumination ที่ทันสมัยจากการตั้งค่า Scene ที่เราเลือกใช้ ซึ่งมีความรวดเร็วในการคำนวณเพราะไม่ได้รบกวนพื้นที่ทรัพยากรเครื่องมาก อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ใช้มือใหม่อีกด้วย

(ตัวอย่างภาพเรนเดอร์จากลักษณะ Scene แบบต่างๆ)

ภาพเรนเดอร์จากลักษณะ Scene แบบต่างๆ Artlantis

ภาพเรนเดอร์จากลักษณะ Scene แบบต่างๆ Artlantis

ภาพเรนเดอร์จากลักษณะ Scene แบบต่างๆ Artlantis

       นอกเหนือจากลักษณะของ Scene ที่ทาง CineRender Engine ได้จัดเตรียมไว้ให้นี้ เรายังสามารถเข้าไปตั้งค่ารายละเอียดของสภาพแสงเพิ่มเติมได้อีก ไปจนถึงในส่วนของการตั้งค่าสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศที่แตกต่างกัน โดยสำหรับผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญทางด้านภาพเรนเดอร์อยู่แล้วอาจคิดว่า Engine นี้เหมาะสำหรับผู้ใช้มือใหม่เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วโซลูชั่นการเรนเดอร์ภาพใหม่จาก ArchiCAD18 นี้ ไม่ได้เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเพิ่มเติ่ม และลักษณะของเอฟเฟคท์เฉพาะต่างๆ ได้อีกโดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ซอฟท์แวร์ตัวอื่นช่วยให้ภาพเรนเดอร์ดูโปรอีกเลย เพราะเป้าหมายของ ArchiCAD18 ในโซลูชั่นนี้คือการมอบความสามารถในการผลิตทัศนียภาพที่มีคุณภาพสำหรับผู้ใช้งานทุกคน โดยแนวคิดนี้สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้อีกจากแนวคิดของกล้องดิจิตอลเช่นกัน

CineRender

       สำหรับช่างภาพมืออาชีพส่วนใหญ่ เวลาถ่ายภาพก็มักจะมีโหมดในการปรับเซ็ทการตั้งค่าเฉพาะทางต่างๆของตัวเอง ซึ่งสำหรับ ArchiCAD18 นั้นก็มีความสามารถในการปรับตั้งค่าต่างๆใน CineRender เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพงานเรนเดอร์ของเรานั้นสมจริงในระดับไฮเอนด์เลยทีเดียว ยกตัวอย่างอย่างในกรณีของภาพเรนเดอร์ Interior ที่เราอาจจะต้องการแสดงลักษณะรายละเอียดของวัสดุที่ใช้ ดังนั้นการตั้งค่าการแสดงผลของวัสดุแบบต่างๆ นั้น จำเป็นจะต้องใช้รูปแบบของการตั้งค่ารายละเอียดที่จะช่วยทำให้วัสดุดังกล่าวนั้นดูสมจริงมากยิ่งขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นนั้นตัวโปรแกรมเองก็มีรูปแบบวัสดุที่มีคุณภาพให้เราเลือกใช้มากกว่า 800 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งสำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญในงานเรนเดอร์นั้น ในส่วนนี้เรายังสามารถปรับแต่งรายละเอียดของวัสดุเพิ่มได้อีกด้วย

ภาพเรนเดอร์ Interior Artlantis

Bump / Mapping / Displacement

      อย่างในส่วนของวัสดุหนังสีแดงของโซฟาที่ปรากฎอยู่ในภาพเรนเดอร์ Interior นี้ ในกรณีที่เราได้ทำการตั้งค่าและปรับลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะ Bump / Mapping / Displacement เพื่อให้วัสดุดังกล่าวนั้นดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แล้วต้องการจะดูผลของการปรับแต่งรายละเอียดเฉพาะส่วนของภาพ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเวลาเรนเดอร์ภาพทั้งหมดเพียงเพื่อที่จะดูลักษณะการแสดงผลของวัสดุหนังทั้งหมดว่าจะเป็นอย่างไรในตอนท้าย เราสามารถใช้คำสั่ง Marquee ช่วยในการเรนเดอร์และเลือกเฉพาะส่วนที่ต้องการได้ ซึ่งจะช่วยให้เราประหยัดเวลาในการพรีวิวดูรายละเอียดต่างๆได้สั้นลงมาก

       นอกจากความสามารถในการ Bump และ Mapping เพื่อปรับแต่งลักษณะวัสดุแล้วนั้น ในส่วนของการตั้งค่าในระดับแอดวานซ์ของ CineRender Engine ยังสามารถปรับแต่งตั้งค่าลักษณะสภาพแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างอาคาร The Cairns Family Health & Bioscience Research Complex ที่เป็นซิกเนเจอร์ของ ArchiCAD18 ในกรณีที่ต้องการจะสร้างภาพเรนเดอร์ที่จะช่วยนำเสนอภาพบรรยากาศของห้องทดลองในการทำวิจัยที่มีลักษณะของของเหลวภายในเครื่องแก้วนั้น เราสามารถใส่ลักษณะของแหล่งกำเนิดแสงอย่าง GDL Lamp ลงไป ซึ่งในจุดนี้เรายังสามารถเพิ่มลักษณะของเอฟเฟคท์พิเศษเพิ่มเติมเพื่อสร้างบรรยากาศของงานเรนเดอร์ให้สมจริงยิ่งขึ้น

ลักษณะแสงแบบ Spot Light

       ซึ่งในส่วนของหน้าต่างการตั้งค่า GDL Lamp นั้นก็มีลักษณะที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่นในส่วนของการตั้งค่าลักษณะแสงแบบ Spot Light ก็จะมีตัวอย่างของรูปภาพเอฟเฟคท์ของแสงในลักษณะต่างๆประกอบเพื่ออธิบายการตั้งค่า ช่วยให้เราเข้าใจและเห็นภาพในการกำหนดค่าในส่วนต่างๆมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการแสดงผลของแสงแบบ Visible Light, Noise, Caustics, Lens Flare ซึ่งประโยชน์ของการตั้งค่าทั้งหมดนี้จะช่วยให้ลักษณะงานเรนเดอร์ของเรามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

แหล่งกำเนิดแสง (GDL Lamp)

       ด้วยคุณภาพของแสงที่มีความนุ่มนวล รวมถึงรายละเอียดของการสะท้อนและหักเหบนพื้นผิวต่างๆ ล้วนเป็นผลมาจากการตั้งค่าเอฟเฟค กับแหล่งกำเนิดแสง (GDL Lamp) อย่างบริเวณปากขวดแก้วทดลองที่มีลักษณะของไอน้ำที่ลอยออกมา ก็ถูกจำลองขึ้นจากการตั้งค่า Special Noise ด้วยเช่นกัน อีกทั้งในส่วนของลักษณะของเหลวที่ได้กำหนดลักษณะความโปร่งแสง (Transparent) ก็จัดเป็นอีกหนึ่งในเทคโนโลยีการเรนเดอร์ขั้นสูงสำหรับสถาปนิที่ต้องการความสามารถของ Engine ที่สามารถสร้างบรรยากาศของทัศนียภาพสระน้ำ และพื้นผิวน้ำรอบๆอาคาร ที่มีลักษณะการสะท้อนของบริบทรอบๆได้อย่างมีชีวิตชีวา

(ตัวอย่างภาพเรนเดอร์ลักษณะการตั้งค่าขั้นสูง)

ภาพเรนเดอร์ลักษณะการตั้งค่าขั้นสูง โดย Artlantis

ภาพเรนเดอร์ลักษณะการตั้งค่าขั้นสูง โดย Artlantis

       ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายในของอาคารที่มีสภาพแสงน้อยอย่างโบสถ์ ก็สามารถสร้างภาพเรนเดอร์ที่มีรายละเอียดของฝุ่นในอากาศที่ปรากฎจากแหล่งกำเนิดแสงในลักษณะของลำแสง (Sun beam) ทะลุกระจกสีที่มีลักษณะรังสีแบบ Volumetric หรือการเรนเดอร์ลักษณะของต้นหญ้าแบบ3มิติ ก็สามารถสร้างขึ้นได้จากเอฟเฟคท์ของการเรนเดอร์ภาพขั้นสูงของ CineRender Engine ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้มากในกรณีของงานทัศนียภาพที่ต้องการนำเสนอมุมมองของสภาพแวดล้อม และสะท้อนความเป็น Green Environment เสมือนจริงรอบๆอาคารของเราได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโมเดลจริงเลย

(ตัวอย่างภาพเรนเดอร์เปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายจริง และภาพเรนเดอร์โดย CineRender)

ภาพเรนเดอร์เปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายจริง และภาพเรนเดอร์โดย CineRender

ภาพถ่ายจริง

ภาพเรนเดอร์เปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายจริง และภาพเรนเดอร์โดย CineRender

ภาพเรนเดอร์โดย CineRender

      และสุดท้ายกับการพัฒนารูปแบบงานเรนเดอร์จาก GRAPHISOFT ที่ไม่สามารถพบเจอได้เลยบนซอฟท์แวร์ BIM ตัวไหนๆก็ตาม หรือแม้กระทั่งกับใน Cinema 4D ที่เป็นลักษณะของการเรนเดอร์แบบ White Model เพียงคลิกแค่1ครั้ง คุณก็จะสามารถสร้างรูปแบบของโมเดลพลาสติกในมุมมอง Conceptual ซึ่งนอกจากจะมีความสามารถในการทำงานของขั้นตอนต่างๆได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีความสามารถในส่วนของงานเรนเดอร์ทัศนียภาพในระดับไฮเอนด์อีกด้วย ArchiCAD18 จึงจัดเป็นซอฟท์แวร์ BIM ที่สามารถช่วยให้ทั้งกลุ่มผู้ใช้งานสถาปนิกและนักออกแบบ มีสะดวกสบายในการถ่ายทอดผลงานความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

งานเรนเดอร์จาก GRAPHISOFT

BY… Piamkhae A/E/C


Photo of author
WRITTEN BY

Wathit