Customers Success, Customers Success-Ci, Success - ArchiCAD

สพฐ. เพิ่มศักยภาพด้านการออกแบบ – Technology for Better Design

      เมื่อพูดถึงหน่วยงานราชการ หลายๆ คนจะนึกไปถึงระบบการทำงานที่เต็มไปด้วยเอกสารและขั้นตอนแบบเดิมๆ ซึ่งก็ไม่ผิดที่เราจะมีภาพจำแบบนั้น แต่มันก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงเสียทีเดียว ยังมีหน่วยงานราชการและเจ้าหน้าที่ที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะเล็งเห็นประโยชน์ในการใช้งานเพื่อขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น คุณสาวิกา วงศ์ฝั้น หรือคุณหน่อย สถาปนิกชำนาญการพิเศษแห่งกลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่นำเอาเทคโนโลยีในการออกแบบอย่าง ArchiCAD ไปใช้งานจนประสบความสำเร็จมาแล้ว

คุณสาวิกา วงศ์ฝั้น – สถาปนิกชำนาญการพิเศษ กลุ่มออกแบบและก่อสร้าง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

       คุณหน่อยเล่าถึงหน้าที่คร่าวๆ ของกลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สพฐ. ซึ่งภารกิจภายในกลุ่มจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือกลุ่มงานสถาปัตย์ กลุ่มงานวิศวะและกลุ่มงานช่างโยธา

       “ภารกิจของกลุ่มออกแบบคือ ออกแบบและวางผังโรงเรียนทั่วประเทศ มีทั้งประถมและมัธยม ทั้งอาคารเรียนและอาคารประกอบอื่นๆ ส่วนงานวางผัง ยกตัวอย่างกรณีโรงเรียนที่ตั้งใหม่ ก็จะมีการเซอร์เวย์ กำหนดอาคาร วางโซนนิ่ง ว่าอะไรควรอยู่ตรงไหน ซึ่งงานหนึ่งชิ้นจะต้องผ่านทั้งสามฝ่าย และในช่วงปี 46 รัฐบาลได้มีการปฏิรูประบบราชการขึ้น ขนาดของหน่วยงานราชการจึงถูกลดขนาดลง ปัญหาของกลุ่มออกแบบคือ เราถูกลดขนาดจากระดับสำนัก ซึ่งมีสมาชิกกว่า 80 คน ลงเป็นระดับกลุ่ม ซึ่งตอนนี้เหลืออยู่ประมาณเกือบ 30 คน โดยต้องรับผิดชอบในงานทั้งประถมและมัธยม เฉพาะประถมก็ประมาณ 3-4 หมื่นโรงเรียน”

“โดยทั้งสามฝ่ายจะประสบปัญหาเรื่องระยะเวลาและจำนวนคน เนื่องจากเวลางานเข้ามาหนึ่งชิ้น ก็จะมีลำดับขั้นตอน การประมาณราคา คำนวณราคา ซึ่งเราก็ต้องรอ แต่ว่าในภารกิจของระบบราชการ นอกจากทำแบบแล้ว งานนโยบาย หรือประชุม และอื่นๆ เราก็ต้องทำด้วย หลากหลายหน้าที่มาก ก็เลยเป็นเรื่องยากในการบริหารเวลา”

“ส่วนตัวรู้จักซอฟต์แวร์ ArchiCAD ครั้งแรกในงานสถาปนิก คือมีความสนใจมาก รู้สึกทึ่งว่าเป็นโปรแกรมที่ทำได้ทุกอย่างจริงๆ มีเป้าหมายว่าเราจะต้องใช้ให้ได้ ก็ลองฝึกจากโปรเจ็คท์เล็กๆ ดูก่อนให้คุ้นเคยกับเครื่องมือและระบบ จนเริ่มมาใช้ในงานออกแบบอาคารจริงๆ”

“ข้อดีของโปรแกรมก็คือ พอเราทำไปได้สักระยะ ก็จะสามารถทำ Perspective ดูได้แล้วว่าหน้าตาของอาคารที่ออกแบบมาจะเป็นอย่างไร ช่วยเพิ่มช่องทางในการสื่อสารให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ตัวโปรแกรมสามารถทำการตรวจสอบย้อนหลังหรือ Re check ได้ทุกอย่าง เมื่อมีการแก้ไขในแปลน รูปหน้ารูปตัดก็จะถูกแก้ไขไปด้วย ความถูกต้องก็มากขึ้น ซึ่งระยะเวลาในการทำแบบของระบบราชการมันถูกจำกัดด้วยปีงบประมาณไงค่ะ บางทีเราทำแบบได้แค่สองเดือนต้องรีบนำส่งสำนักงบประมาณแล้ว จึงเกิดความขัดแย้งในแบบค่อนข้างมาก พอถึงเวลาก่อสร้างก็ต้องมานั่งแก้ปัญหากันอีก ซึ่ง ArchiCad สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาในจุดนี้ ได้”

ห้องสมุด หอพักนักเรียน

       “การใช้งานโปรแกรมไม่ได้มีความยากมาก เพราะสถาปนิกคิดเป็นสามมิติอยู่แล้ว เพียงแต่เครื่องมือในการทำงานมันเป็นคอนเซ็ปต์ที่ต่างไปจากเดิมเท่านั้นเอง มองว่าอุปสรรคในการใช้งานเป็นเรื่องรองค่ะ ถ้าเราต้องการใช้งานมันจริงๆ ส่วนตัวปกติก็ไม่ใช่คนที่เทคโนโลยีจ๋า แต่ว่าเราเห็นประโยชน์ของโปรแกรมและอยากนำไปใช้งานจริงๆ”

คุณหน่อยยังได้เน้นถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการทำงาน เพื่อเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการทำงานของราชการที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น

อาคารเรียนระดับประถมศึกษา

       “ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ มีแนวโน้มที่จะมีขนาดลดลง คนน้อยลง เราก็ต้องไปพึ่งเทคโลยีเหล่านี้แหละที่จะมาช่วยแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้ คิดว่าองค์กรในส่วนราชการต่างๆ น่าจะมีปัญหาคล้ายๆ กัน สำหรับใครที่ยังคุ้นเคยกับวิธีการทำงานเดิมๆ ก็อยากจะให้เปิดใจในการเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้เองที่จะช่วยเราได้เยอะมาก ทั้งในเรื่องของระยะเวลา ความถูกต้อง และการจัดเก็บข้อมูล”


Photo of author
WRITTEN BY

supawadee